ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040

การศึกษาวิจัย การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 ได้ดำเนินการศึกษาและสรุปสภาพที่พึงประสงค์ในอนาคตในมิติด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านสังคม ที่ส่งผลโดยตรงต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นของการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญ คือ (1.1) สังคมอยู่ดีมีสุข หรือสังคมยั่งยืน (1.2) สังคมคุณธรรม และเสมอภาค และ (1.3) สังคมหลังนวัตกรรม หรือสังคม 5.0 2) ด้านเทคโนโลยี ที่ส่งผลโดยตรงต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นของการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญ คือ (2.1) การพลิกผันทางดิจิทัล (2.2) หุ่นยนต์โลกาภิวัตน์ และปัญญาประดิษฐ์ และ (2.3) เทคโนโลยีสีเขียว และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) ด้านเศรษฐกิจ ที่ส่งผลโดยตรงต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นของการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญ คือ (3.1) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (3.2) เศรษฐกิจสีเขียว หรือเศรษฐกิจยั่งยืน และ (3.3) การเปิดเสรีทางการค้าและบริการ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลโดยตรงต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นของการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญ คือ (4.1) วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (4.2) ข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความเข้มข้น และ (4.3) การเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่มีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้น และ 5) ด้านการเมือง ที่ส่งผลโดยตรงต่อทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นของการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 2 ประเด็นสำคัญ คือ (5.1) การเมืองคุณภาพ (Quality Political) และ (5.2) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (Participatory Democracy) ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัย การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 โดยหลักการของระบบการเรียนรู้ใหม่ มีดังนี้ 1) ใช้แนวคิดและหลักการของการออกแบบย้อนกลับ 2) เปลี่ยนเป้าประสงค์การจัดการศึกษาจากเนื้อหาเป็นฐานไปสู่ผลลัพธ์เป็นฐาน 3) การเรียนรู้จากโลกกว้างด้วยระบบนิเวศการเรียนรู้ที่หลากหลาย 4) ผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ได้ด้วยตนแอง 5) พลิกโฉมศักยภาพการเรียนรู้ของครูจากการเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้
ผลการศึกษาวิจัย การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) รูปแบบการเรียนรู้ 2) ทรัพยากรการเรียนรู้ และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้ มีรายละเอียดดังนี้ รูปแบบการเรียนรู้หลัก จำนวน 6 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้อย่างมีความหมาย และมีคุณค่า (Purposeful and valuable learning) 2. การเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพเฉพาะบุคคล (Personalized Learning) 3. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning, Heutagogy) 4. การเรียนรู้การสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Creation Learning) 5. การเรียนรู้การนำความรู้ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Real life Application Learning) 6. การเรียนรู้ที่สร้างรายได้ระหว่างเรียน (Income generating learning) ทรัพยากรการเรียนรู้ จำนวน 11 ประเภท ประกอบด้วย 1. ระบบสนับสนุนความเป็นเลิศของผู้เรียน (Student Excellence Support System) 2. แหล่งเรียนรู้ชีวิตจริง (Real World Learning Space) 3. แหล่งเรียนรู้เฉพาะบุคคล (Personalize Learning Space) 4. แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Space) 5. แหล่งเรียนรู้ในการทำงาน (Hands on Learning Space) 6. แหล่งเรียนรู้ร่วม (Co-learning Space) 7. แหล่งเรียนรู้สังคมประกิต (Socialization Learning Space) 8. แหล่งเรียนรู้นักประดิษฐ์หรือนวัตกร (Maker Space) 9. แหล่งเรียนรู้จำลอง (Simulation Learning Space) 10. แหล่งเรียนรู้เชิงจินตนาการ (Imagination Learning Space) 11. แหล่งเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น (Flexible Learning Space) การประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 6 รูปแบบ ประกอบด้วย 1. การประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) 2. การประเมินการนำไปใช้ในชีวิตจริง (Real life application Assessment) 3. การประเมินด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ (Creative feedback) 4. การประเมินตนเอง (Self Assessment) 5. การประเมินแบบร่วมมือ (Collaborative Evaluation) 6. การประเมินผลลัพธ์-ผลกระทบ (Outcome-Impact Assessment) ในระบบการเรียนรู้ใหม่นี้ “ครู” จะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ใหม่ในฐานะของผู้อำนวยการการเรียนรู้ที่มุ่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดจนเป็นผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้ระบบนิเวศการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต โดยครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้ตามตำรา สู่การเป็น “โค้ช” หรือ “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” ทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะนำวิธีเรียนรู้และวิธีจัดระเบียบการสร้างความรู้ ออกแบบกิจกรรมและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และมีบทบาทเป็นนักวิจัยพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตในปี 2040

องค์กร :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
30 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Policy Recommendations for Transforming Learning Systems Responsive to Future Global Changes in 2040
หมวดหมู่ การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V03
ปัจจัย 120101F0305
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0407
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 นำเสนอแนวคิดใหม่ในการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นการออกแบบการเรียนรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นแก่ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ ได้เข้าใจรูปแบบการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 สร้างการรับรู้และความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลง สำหรับการเป็นพลเมืองปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอดคล้องตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดให้คนไทยเป็นคนดีคนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และเป้าหมายระดับประเด็น การพัฒนาการเรียนรู้ ให้คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถเข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตดีขึ้น
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ได้ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 ทั้งรูปแบบการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถใช้เป็นแนวทางการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณละษณะที่พึงประสงค์ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา แช่มช้อย
อีเมลนักวิจัย Sukanya.Chae@chula.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาค 27 recent views
แนวคิดเรื่องการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาคเป็นแนวทางที่หลายประเทศให้ความสนใจ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต(Future Skill) เพื่อเตรียม การพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(Disruption) ของ โลกศตวรรษที่ 21 79 recent views
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งในมิติทางสังคมและทางเทคโนโลยี...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษาภายในสถานศึกษา 41 recent views
เป็นการศึกษา รวบรวม และประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย 19 recent views
การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.