ขนาดตัวอักษร ภาษา
ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต(Future Skill) เพื่อเตรียม การพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(Disruption) ของ โลกศตวรรษที่ 21
ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต(Future Skill) เพื่อเตรียม การพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(Disruption) ของ โลกศตวรรษที่ 21

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งในมิติทางสังคมและทางเทคโนโลยี นำไปสู่รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนให้สอดรับกับความต้องการทักษะ องค์ความรู้ และคุณลักษณะของโลกศตวรรษที่ 21 การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) และจัดทำแนวทางการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ที่เหมาะสมกับบริบทของคนไทย ในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้จำแนกสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 ออกเป็น 5 สถานการณ์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร (Population Disruption: P) ความหลากหลายของคนต่างช่วงวัยและยุคสมัย (Generation Disruption: G) การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี (Technology Disruption: T) การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอาชีพและลักษณะการทำงาน (Career Disruption: C) และการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ (Learning Disruption: L) จากการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพและประมวลผลจากบทความทางวิชาการ รายงาน ผลงานวิจัยและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เชื่อมโยงให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 11 และ 12 ได้ผลสรุปเป็นชุดทักษะแห่งอนาคตทั้งสิ้น 41 ทักษะ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับแต่ละช่วงวัยในการรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) แตกต่างกัน จากการสำรวจและรวบรวมความคิดเห็นของคณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ที่มีบทบาทในการเตรียมความพร้อมคุณภาพคนไทยแต่ละช่วงวัยในบริบทต่าง ๆ กรอบทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับคนไทยแต่ละช่วงวัยที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ถือได้ว่ามีความถูกต้องและค่อนข้างครบถ้วน นอกจากนั้น เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการพัฒนา คณะผู้วิจัยได้จัดลำดับความสำคัญทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต 5 อันดับแรก ในแต่ละช่วงวัย โดยพิจารณาจากความหลากหลายในการรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) และการประมวลผลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ได้ผลการจัดลำดับ ดังตารางด้านล่างนี้ ตารางสรุปผลการจัดลำดับความสำคัญทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) อันดับ ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับช่วงปฐมวัย 1 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 2 ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) 3 ความสามารถทางกายภาพ (Physical Ability) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การสื่อสาร (Communication Skills) 4 การอ่านออกเขียนได้ (Literacy) 5 ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) การเข้าใจผู้อื่น (Empathy) ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น 1 ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) 2 การอ่านออกเขียนได้ (Literacy) 3 การเป็นผู้เรียนเชิงรุก (Active Learner) 4 การเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) 5 ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับช่วงวัยแรงงาน 1 ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) การแก้ปัญหา (Problem-solving) 2 ความรู้ทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ (Business and Entrepreneurial Literacy) 3 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 4 การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaborative Skills) 5 การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่หลากหลาย (Cross-cultural Competence) ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับช่วงวัยผู้สูงอายุ 1 การปรับตัว (Adaptability) 2 การมองโลกในแง่ดี (Grounded Optimism) 3 ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) 4 ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ (Health Literacy) การเข้าใจผู้อื่น (Empathy) 5 การแก้ปัญหา (Problem-solving)

จากผลสรุปชุดทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับคนไทยแต่ละช่วงวัย เพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของศตวรรษที่ 21 ที่แตกต่างกันนั้น คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประมวลผลเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป ครอบคลุมทั้ง 4 มิติซึ่งเกี่ยวพันกัน ได้แก่ มิติเชิงนโยบาย กระบวนการจัดการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ทั้งนี้ สามารถสรุปจุดเน้นที่สำคัญในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) สำหรับแต่ละช่วงวัยได้ ดังนี้ 1) ช่วงปฐมวัย การส่งเสริมการพัฒนาช่วงวัยนี้ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างปลอดภัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีมุมมองต่อโลกได้อย่างกว้างขวาง มีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทุกด้านพร้อมกัน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ควบคู่กับการพัฒนาผู้ปกครอง ผู้ดูแล และครูให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะ ดังนั้นใน การขับเคลื่อนควรมีนโยบายและการจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กช่วงปฐมวัยโดยเฉพาะและครอบคลุมทั้ง 2 มิติข้างต้น ให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นในการเรียนรู้ มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ลักษณะ การเรียนรู้ และความสนใจของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียน แบบการแบ่งปันความคิดร่วมกันอย่างยั่งยืน การจัดการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการ และการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน มีพื้นที่ตรงความต้องการ สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง และให้ความเป็นอิสระแก่เด็กในการสำรวจ แสดงออก และเข้าสังคมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงมีการจัดสรรสื่อและเทคโนโลยี ทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อดิจิทัลเพื่อเป็นส่วนเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ เด็กปฐมวัยให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2) ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การส่งเสริมการพัฒนาช่วงวัยนี้ ควรให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและ ความหลากหลาย ครอบคลุมการพัฒนาทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนทักษะพื้นฐานและทักษะที่เชื่อมสู่โลกการทำงาน ไม่จำกัดการเรียนรู้อยู่แต่เพียงในตำราหรือในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ส่งเสริม การค้นหาตัวตนและความถนัดของตัวเด็กเอง และจัดให้มีช่องทางการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ทันทีทั้งในและนอกระบบการศึกษา ดังนั้นในการขับเคลื่อนทางนโยบายจึงควรครอบคลุมตั้งแต่การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ทันสมรรถนะและ ความต้องการเรียนรู้ของผู้เรียน สนับสนุนการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพครูควบคู่กัน บริหารและจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ กระบวนการเรียน การสอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการยิ่งขึ้น เรียนรู้ร่วมกับการทำงาน ได้เสริมสร้างสมรรถนะจากประสบการณ์จริง และมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษา ขณะที่สภาพแวดล้อมทางการศึกษาควรสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ จัดหาพื้นที่สาธารณะใน การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะแก่เด็กในช่วงวัยนี้ มีการพัฒนาและออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงและจัดสรรเป็นสัดส่วน รองรับกิจกรรมการเรียนรู้และการทำงานที่แตกต่างกัน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและเกิดปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนระหว่างกัน รวมถึงนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ช่วยส่งเสริมการจัด การเรียนการสอน ซึ่งเทคโนโลยีการศึกษาที่สามารถช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะในช่วงวัยเรียน/วัยรุ่นมีหลากหลาย เช่น สื่อการศึกษาเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ แพลตฟอร์มสำหรับเป็นช่องทางการเข้าถึงการเรียน การสอนและแหล่งข้อมูล และนวัตกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อช่วยในการประมวลผลข้อมูลผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เชื่อมโยงการเรียนรู้แบบผสมผสานจากหลายแพลตฟอร์ม ตลอดจนช่วยในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน เสริมสร้างแรงจูงใจ และสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเอง 3) ช่วงวัยแรงงาน การส่งเสริมการพัฒนาในช่วงวัยนี้ควรเสริมสร้างความต้องการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่เชื่อมโยงตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยโอกาสในการพัฒนาตนเองนี้ควรมีทั้งแบบเป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ และต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อส่งเสริมให้ วัยแรงงานมีความรู้ สามารถปรับตัวเพื่อประกอบชีพได้แม้ในสถานการณ์ที่ ไม่อาจคาดการณ์ได้ ดังนั้นนโยบายทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ มีการสนับสนุนเงินทุนแก่ประชาชนเพื่อใช้พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัด สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ในสถานที่ทำงาน และการเรียนรู้ด้วยวิธีผสมผสาน บูรณาการข้ามสาขาวิชาได้ เพื่อให้ลูกจ้างได้เรียนรู้ในการทำงาน เป็นผู้เรียนเชิงรุก มีสถาบันการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ทำหน้าที่พัฒนาวิธีการสอนสำหรับผู้ใหญ่ พัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะขึ้นเพื่ออบรมนักการศึกษาผู้ใหญ่ และหลักสูตรในการเพิ่มทักษะ ในสายอาชีพที่ต่างกันของวัยแรงงาน กระบวนการเรียนการสอนก็ควรเน้นแนวทางผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำหรับการสอนผู้ใหญ่เช่นกัน โดยผู้สอนจะ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก นำความเชี่ยวชาญของผู้เรียนมาเป็นฐานและปล่อยให้ผู้เรียนรู้สามารถวางแนวทางการเรียนรู้ตามจังหวะของตนเอง เน้นการเรียนรู้และการอบรมที่มีคุณภาพสูง ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติและ จากประสบการณ์จริงในการทำงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็ควรเป็นสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และความคิดการเติบโตร่วมกันภายในองค์กร กำหนดเส้นทางความก้าวหน้าของอาชีพที่ชัดเจน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่ความสำเร็จ สร้างการมีส่วนร่วมซึ่งก่อให้ เกิดการเติบโตและการเรียนรู้ สำหรับเทคโนโลยีทางการศึกษา นอกจากเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อเป็นสื่อประกอบและช่องทางในการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกระบวนการทำความเข้าใจ กลั่นกรอง และตกผลึก องค์ความรู้แล้ว ยังสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อ ติดตามความก้าวหน้าใน การอบรม เชื่อมโยงผลการเรียนรู้มาช่วยสนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติงานและการวางแผนเส้นทางการเติบโตทางอาชีพ และส่งเสริม ให้เกิดการประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้ที่ได้รับการพัฒนาไปสู่การทำงานจริง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานและประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป 4) ช่วงวัยผู้สูงอายุ การส่งเสริมการพัฒนาในช่วงวัยนี้ ควรสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ สนับสนุนการนำความรู้ ประสบการณ์ของผู้สูงวัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ชุมชน และตัวผู้สูงวัยเอง เพื่อเสริมสร้างคุณค่าและต่อยอดบทบาทในสังคมและตลาดแรงงานของผู้สูงอายุ และรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน นโยบายเกี่ยวกับ การพัฒนาทักษะให้กับผู้สูงอายุ รวมไปถึงการส่งเสริมการจ้างงานใน กลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น ให้ผู้สูงอายุยังสามารถเป็นพลังใน การขับเคลื่อนประเทศการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมสำหรับคนช่วงวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมที่เน้นประสบการณ์ การอภิปราย การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน การใช้ทักษะและความรู้ที่เป็นต้นทุนเดิมในการต่อยอด และการบูรณาการการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ก็ควรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะ การเรียนรู้ เนื่องจากผู้สูงอายุต้องการสภาพแวดล้อมที่เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน เป็นสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ไม่เป็นทางการ สามารถสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย และเป็นมิตรต่อการเรียนรู้ สำหรับเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน เป็นหลัก นอกจากนั้นก็คือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของช่วงวัยนี้ การส่งเสริมเทคโนโลยีที่ได้รับการออกแบบสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง รับสาร ใช้ชีวิต และพัฒนาตัวเองของผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงธรรมชาติและลักษณะการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเป็นพื้นฐานในการออกแบบ เพื่อสามารถส่งเสริมเทคโนโลยีการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการ ในการพัฒนาตัวเองและสนับสนุนการเรียนรู้ของช่วงวัยนี้ได้อย่างเหมาะสม

องค์กร :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
31 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต(Future Skill) เพื่อเตรียม การพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(Disruption) ของ โลกศตวรรษที่ 21 โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) The Project to Study Future Skills for Developing Thais of all ages to prepare for 21st Century Disruption
หมวดหมู่ การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V03
ปัจจัย 120101F0305
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0407
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) รายงานทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 : ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม สรุปผลการจัดลำดับทักษะแห่งอนาคตในภาพรวมที่จำเป็นสำหรับทุกช่วงวัย 5 อันดับแรก เรียงลำดับความสำคัญตามความหลากหลายในการรองรับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ได้แก่ (1) ทักษะความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ซึ่งมีความจำเป็นในการรองรับทั้ง 5 สถานการณ์ ในทุกช่วงวัย (2) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem-solving) ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับทุกช่วงวัย รองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ในเกือบทุกสถานการณ์ (3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และทักษะ การสื่อสาร (Communication Skills) ซึ่งครอบคลุมทักษะการสื่อสารทางธุรกิจ (Business Communication) ของช่วงวัยแรงงาน มีความจำเป็น ในการรับมือการสถานการณ์ที่หลากหลายพอกัน เช่นเดียวกัน (4) ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และ ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Building) และ (5) Empathy การเข้าใจผู้อื่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ทั้งด้านประชากร ช่วงวัย และการทำงานหรือ การเรียน คล้ายคลึงกันในทุกช่วงวัย
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย รายงานทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 : ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม 1 เรื่อง
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย 1.นางรุ่งตะวัน งามจิตอนันต์ 2.นางสาวชญานิษฐ์ สุวรรณกาญจน์ 3.นางสาวอภิชชญา โตวิวิชญ์
อีเมลนักวิจัย EdResearchSye@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ 62 recent views
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล 18 recent views
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของทักษะที่จำเป็นของครูไทย 2) เพื่อศึกษาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล 3)...
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 5 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 6 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.