ขนาดตัวอักษร ภาษา
รายงานการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน
รายงานการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน

การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากร พื้นถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาเอกสาร สัมภาษณเชิงลึก (In-depth Interview) ลงพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึงประเด็นการศึกษา โดยคัดเลือกศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมที่มีลักษณะโด่ดเด่น จำนวน 4 แห่งจาก 4 ภูมิภาค เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ (๑) ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของ ครูสุทิน ทองเอ็ม จังหวัดสุโขทัย (๒) ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของ ครูพิมพา มุ่งงาม จังหวัดยโสธร (๓) ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของ ครูดอเล๊าะ สะตือบา จังหวัดยะลา (๔) ศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยของ ครูบุญลือ เต้าแก้ว จังหวัดสระบุรี ผลการศึกษาพบว่า ครูในศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยทั้ง 4 แห่ง มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ ๑) เป็นผู้มีความใฝ่เรียนรู้ ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาต่อยอดอาชีพเกษตรกรรมของตนเองอยู่เสมอ ๒) มีจิตสาธารณะ ยอมเสียสละเวลาส่วนตัว เผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร ๓) เป็นผู้นำทางความคิด เป็นผู้นำทาง วิชาการด้านการเกษตร ๔) มีความคิดก้าวหน้าในการมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ยึดหลักคิดแบบกระบวนการวิทยาศาสตร์ ค้นหาความรู้ ทดลองแก้ปัญหาต่างๆ และสรุปเป็นองค์ความรู้ ๕) เป็นที่ยอมรับให้เป็นผู้นำในชุมชน แนวทางสู่ความสำเร็จของศูนย์การเรียนฯ ของครูภูมิปัญญาไทย ทั้ง ๔ แห่ง สรุปได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาต่อยอดอาชีพ ครูมีแนวคิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิด เรียนรู้ด้วยตนเอง (SDL : Self Directed Learning) ซึ่งสามารถพัฒนาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวคิด SLD นั้น ประกอบด้วย ๔ ขั้น คือ ๑) สร้างแรงจูงใจในตนเอง ๒) การจัดการตนเอง คือการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน รวบรวมข้อมูลและวางแผนพัฒนา ๓) การตรวจสอบตนเอง พิจารณาผลการดำเนินการที่ผ่านมา ประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง และ ๔) ปรับเปลี่ยนตนเอง เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ นำมาเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ครูศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และน้อมนำมาปฏิบัติ มีการจัดสรร ที่ดิน จัดทำบัญชีครัวเรือน ดำเนินงานศูนย์แบบครบวงจร คือเป็นทั้งแหล่งผลิต แปรรูป และใช้กระบวนการทางการตลาดจัดจำหน่าย เช่น ใช้ “หลัก ๓ ต” คือ “ต้นทุน แตกต่าง ตลาด” ผลิตภัณฑ์โดดเด่น เช่น ทำชาจากไม้ไผ่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับส่งออกต่างประเทศ ตามมาตรฐานของ Fair Trade Original การทำชาจากข้าว ปลูกสละอินโดด้วยน้ำหมักนมสด ทำให้รสชาติหวานกรอบ มีผลทั้งปี เป็นต้น ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ใช้การสร้างศรัทธาและแรงจูงใจให้ชุมชน/เยาวชน เชื่อในวิถีเกษตรพื้นบ้าน เกษตรเชิงอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปลูกพืชแบบผสมผสาน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการถ่ายทอด สืบสาน เน้นการเรียนรู้จากของจริง และลงมือปฏิบัติจริง ใช้หลักการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ผู้เรียนค้นหาความถนัด ความสนใจของตน น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอด ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง มีการจัดทำฐานการเรียนรู้ เช่น พอใช้ (สอนการบำรุงดิน ผลิตของใช้ในครัวเรือน) พอกิน (ปลูกพืช สวนครัว พืชกินได้) พออยู่ (ทำโรงเรือน) พอร่มเงา (ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย) พอเพียง (หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความรู้เรื่อง การลงทุน รายรับ รายจ่าย การออม) สำหรับแนวทางการเพิ่มศักยภาพสำหรับศูนย์การเรียน บทบาทของศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรในอนาคต ควรพัฒนาให้เป็น “แหล่งเรียนรู้ทรัพยากรทางการเกษตร” ซึ่งเป็นแหล่งรวมของการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และมีระบบสารสนเทศ ควรมีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้มีฐานข้อมูลเกษตรเฉพาะด้านตามความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรเกษตร รวมถึงควรสนับสนุนการฝึกอบรมทั้ง ๒ ทาง คือ สนับสนุนให้ครูภูมิปัญญาถ่ายทอดความรู้สู่เครือข่าย ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ครูได้เรียนรู้จากเครือข่ายที่สามารถเสริมสร้างมุมมองหรือเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้กับครูภูมิปัญญาไทยในด้านที่ครูยังไม่เชี่ยวชาญ

องค์กร :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
30 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลรายงานการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Study Report on Enhancing Thai Wisdom Learning Centers for Sustainable Inheritance Preservation.
หมวดหมู่ การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V05
ปัจจัย 120101F0505
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0401
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี กำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศให้หน่วยงานรัฐ ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศคือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” ซึ่งในยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายเพื่อให้ “สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต” โดยให้ความสำคัญกับการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ มีเป้าหมายเพื่อ “คนไทยทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 รักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” ดังนั้น การถอดบทเรียนศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมใน 4 ภูมิภาค ซึ่งมีครูภูมิปัญญาไทย ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นบุคคลต้นแบบ ซึ่งมีองค์ความรู้ในด้านเกษตรกรรม ดำเนินวิถีชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาแก้ไขปัญหา และได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาและเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับบุคคลในทุกช่วงวัยที่มีความสนใจด้านเกษตรกรรม สามารถเข้าถึงได้และสามารถศึกษาเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเสนอข้อมูล/องค์ความรู้ต่าง ๆ ของภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมไว้บนแพลตฟอร์มทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก ไม่จำกัดเวลา เสมือนได้เรียนรู้โดยตรงจากครูภูมิปัญญาไทยและช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้คนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิตขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อไป
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย แนวคิด วิธีการที่ทำให้ครูภูมิปัญญาไทยทั้ง ๔ ท่านประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาต่อยอดอาชีพ การถ่ายทอดสืบสาน และ การอนุรักษ์ธรรมชาติสามารถนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นต้นแบบตัวอย่าง ให้เกษตรกร ครู อาจารย์ เด็ก เยาวชน ศูนย์การเรียนฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาตน พัฒนาอาชีพ ตามบริบทของตน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการการดำเนินงาน การประกอบอาชีพได้มากยิ่งขึ้น สำหรับข้อเสนอที่ได้จากงานวิจัย สามารถเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำไปพัฒนาการดำเนินงานในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ เพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยเข้าใจง่าย สำนักงานได้จัดทำหนังสือเล่มเล็กที่สรุปผลการวิจัยแบบสั้นๆ และเข้าใจง่ายสำหรับประชาชนที่สนใจ ในหนังสือนอกจากได้ทราบเคล็ดลับความสำเร็จแล้ว มีโปรแกรมที่สามารถเชื่อมต่อกับสื่อวีดิทัศน์ของครูแต่ละท่าน ผู้อ่านสามารถเปิดชมให้เห็นวิธีการ การดำเนินการของศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์ฯ ได้อย่างชัดเจน “หนังสืออ่านง่าย” ดำเนินการจัดพิมพ์ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ นี้
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย 1) รศ.ดร.พนิต เข็มทอง หัวหน้าโครงการ 2) รศ.ดร.วรัทยา ธรรมกิตติภพ นักวิจัย 3) รศ.สุวิสา พัฒนเกียรติ ผู้ช่วยนักวิจัย 4) น.ส.วารุณี ผลประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัย 5) นางวรดา ผลประสาร ผู้ช่วยนักวิจัย 6) นายวรวีร์ รายา ผู้ช่วยนักวิจัย 7) นายวิเชียร คดพิมพ์ ผู้ช่วยนักวิจัย 8) นายวิษณุ สันสน ผู้ช่วยนักวิจัย
อีเมลนักวิจัย etoku@ku.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 8 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563 8 recent views
ในปี 2558 ประเทศไทยและสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมรับรองวาระการพัฒนายั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน...
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 13 recent views
การศึกษาวิจัย การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 ได้ดำเนินการศึกษาและสรุปสภาพที่พึงประสงค์ในอนาคตในมิติด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1)...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ 15 recent views
รายงานแนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เป็นการถอดบทเรียนการดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากสถานศึกษา จำนวน 4 แห่ง...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.