การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน

โครงการวิจัยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในคุณค่า ความสำคัญ และการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว/ชุมชนระหว่างคนทุกช่วงวัย และมีการพัฒนาระบบกลไกในการคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีครอบคลุมในทุกมิติผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของกลไกทุกระดับโดยเฉพาะครอบครัวและชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมากที่สุด เพื่อให้การช่วยเหลือดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โครงการวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีทั้งวิธีการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกช่วงวัยอื่นในครอบครัวที่มีอายุตั้งแต่ 10 – 59 ปี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จำนวน 1,000 ชุด ส่วนการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว จำนวน 15 คน กับกลุ่มตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ เช่น ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพสต.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และตัวแทนจากสมาชิกชมรม/โรงเรียนผู้สูงอายุ/องค์กรชุมชน จำนวน 15 คน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่ จำนวน 3 ท่าน การศึกษาวิจัยใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี ช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งจากการประเมินโดยตัวของผู้สูงอายุและการประเมินโดยสมาชิกช่วงวัยอื่นในครอบครัวเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ในกลุ่มผู้สูงอายุ และคะแนนเฉลี่ย 3.28 ในกลุ่มของสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งมีคะแนนเฉลี่ยรายองค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบทางด้านร่างกายมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.28 และ 3.17 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ องค์ประกอบด้านจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.43 และ 3.33 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 และ 3.35 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ และองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 และ 3.30 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า นอกจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะให้คะแนนการประเมินอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 3.36 และ 3.28 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ แต่มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ องค์ประกอบด้านจิตใจมีร้อยละของการประเมินคุณภาพชีวิตในระดับที่ดีสูงกว่าองค์ประกอบด้านอื่นๆ โดยเท่ากับร้อยละ 28.20 และ 16.30 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมมีร้อยละของการประเมินคุณภาพชีวิตในระดับต่ำมากกว่าองค์ประกอบด้านอื่นๆ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 18.50 และ 21.30 ในกลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่า ในภาพรวมผู้สูงอายุมีความพึงพอใจกับคุณภาพชีวิตของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่สมาชิกช่วงวัยอื่นในครอบครัวมีความคิดเห็นในทิศทางที่สอดคล้องกัน นั่นหมายความว่า ผู้สูงอายุยังต้องการให้มีการช่วยเหลือดูแล และพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่และสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในปัจจุบัน โดยในส่วนของความเป็นอยู่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว หรือมีบ้านพักอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และยังคงได้รับการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว ญาติ ตลอดจนเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ส่วนสภาพปัญหาสำคัญคือปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว การประสบปัญหาป่วยติดเตียง และการเป็นโรคอัลไซเมอร์ซึ่งพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งปัญหาด้านรายได้ที่ไม่เพียงพอในกลุ่มผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือผู้สูงอายุที่มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงินให้กับบุตร การดำเนินงานของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน มีทั้งมิติของการช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพโดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเกี่ยวกับสุขลักษณะของผู้สูงอายุป่วยติดเตียง มิติด้านสิ่งแวดล้อมในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีสภาพเหมาะสมโดยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และการช่วยเหลือปรับสภาพบ้านให้ถูกสุขลักษณะในกลุ่มของผู้สูงอายุที่ไม่มีกำลังความสามารถโดยบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มิติด้านการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและทักษะการทำงานโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มิติด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมโดยบทบาทของชมรม/โรงเรียนผู้สูงอายุผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ คือ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามคุณลักษณะและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาป่วยติดเตียงควรให้การดูแลด้านสุขลักษณะอย่างเหมาะสมทั้งในด้านของการกิน อยู่ หลับ นอน โดยเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขที่มีทักษะความเชี่ยวชาญ และการจัดสภาพบ้านให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว ผู้สูงอายุติดบ้านควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคซึมเศร้าหรือกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุติดสังคมที่ควรส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาทักษะความรู้เพื่อการปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และผู้สูงอายุที่มีทักษะความรู้/ภูมิปัญญาที่ควรส่งเสริมบทบาทการเป็นวิทยากรหรือเป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การจัดการความรู้ที่สามารถเผยแพร่หรือพัฒนาต่อยอดได้ การส่งเสริมบทบาทของเยาวชนให้ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือดูแลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ตลอดจนถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่างๆ วัยแรงงานซึ่งมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควรส่งเสริมให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุในทุกมิติโดยเฉพาะด้านสุขภาพและรายได้ ภาคีเครือข่ายและภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน ควรมีการพัฒนาทักษะความรู้ ส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ และประสานความร่วมมือกับภาคส่วน/หน่วยงานภายนอก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ควรมีการกำหนดนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความชัดเจน ผลักดันให้มีการขับเคลื่อนโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ จัดบริการสาธารณะและกิจกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายที่เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน โดยมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งด้านองค์ความรู้ บุคลากร งบประมาณ การจัดสวัสดิการและบริการรองรับอย่างเหมาะสม การเตรียมความพร้อมของวัยผู้ใหญ่ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ การพัฒนาทักษะและส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งการกำหนดมาตรการรองรับผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแลทั้งในด้านงบประมาณ สถานที่ และบุคลากร การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อให้มีการสนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยี รวมทั้งการมาตรการในการจ้างงานอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลของผู้สูงอายุเพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนงานในการช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนา การจัดสรรบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง การกำหนดมาตรการด้านการส่งเสริมสวัสดิการ/ระบบการคุ้มครองทางสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุ การพัฒนาช่องทางและระบบการให้บริการที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในลักษณะของ CSR หรือ MOU เพื่อให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ รวมทั้งนำรูปแบบ/แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชนไปทดลองปฏิบัติจริงในพื้นที่เพื่อขยายผลการศึกษาวิจัย

องค์กร :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
29 มีนาคม 2566
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัยในครอบครัวและชุมชน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Promoting the quality of life of the elderly through participation of people of all ages in the family and community
หมวดหมู่ ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
คำสำคัญ การมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัย ครอบครัว คุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชน ผู้สูงอายุ
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 110501
องค์ประกอบ 110501V05
ปัจจัย 110501F0504
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG1002
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการดูแล พัฒนาทักษะ และส่งเสริมการเรียนรู้ จากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสมาชิกในครอบครัว ชุมชนท้องถ่ิน หน่วยงานภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครััฐและเอกชน รวมทั้งได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย มีแนวทาง/รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1) การส่งเสริมตัวของผู้สูงอายุให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 2) การส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในด้านของการดำเนินกิจวัตรประจำวัน และการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร 3) การมีส่วนร่วมของวัยแรงงานเกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุ และเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ 4) การคัดเลือกบุคคลสำคัญ (Key Person) เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนให้เป็นแกนนำในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 5) การพัฒนาศักยภาพกลุ่ม/ชมรม/องค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 6) ผู้นำชุมชนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญ มีการกำหนดนโยบาย และถ่ายทอดสู่การดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 7) หน่วยงานภาครัฐควรมีมาตรการรองรับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างครอบคลุมทุกมิติ 8) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนในลักษณะของ CSR เพื่อให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ องค์ความรู้ และเทคโนโลยี
พื้นที่เป้าหมาย หมู่บ้านเทศบาลเมืองสะเดา อ.สะเดา เ, เทศบาลตำบลควนลัง อ.หาดใหญ่, อบต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง, อบต.คลองหรัง อ.นาหม่อม ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย ศีลิยา สุขอนันต์
อีเมลนักวิจัย seeliyasukanan@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 6 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 4 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการวิจัยกลยุทธ์การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ภาคใต้ 3 recent views
-
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 4 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.