ขนาดตัวอักษร ภาษา
แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน
แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาภัยพิบัติที่ประสบมากที่สุดจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ปัญหาไฟป่าหมอกควัน และ ปัญหาน้ าป่าไหลหลาก โดยมีองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติทั้ง 2 ประเภทภัยพิบัติ ได้แก่ ปัจจัยส่งเสริมการบริหารของภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 35 ปัจจัย โดยสามารถจำแนกออกเป็นปัจจัยส่งเสริมก่อนเกิดภัยพิบัติ 21 ปัจจัย ปัจจัยส่งเสริมขณะเกิดภัยพิบัติ 11 ปัจจัย ปัจจัยส่งเสริมหลังเกิดภัยพิบัติ 3 ปัจจัยและปัจจัยอุปสรรคการบริหารของภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 3 ปัจจัย จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า การยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติจำเป็นต้องนำหลักการบริหาร 4M’s 7S’s กระบวนการ POSDCoRB การจัดการความเสี่ยง (Risk management) และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อาสาสมัคร มูลนิธิ ฯลฯ โดยการมีส่วนร่วมจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติ 3) การมีส่วนร่วมในการน าแผนไปปฏิบัติ และ4) การมีส่วนร่วมในการทบทวนประเมินผล

ข้อเสนอแนะหลักของการศึกษา คือ รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศได้ดำเนินพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นเนื่องสภาวะการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมในการรับมือต่อภัยพิบัติดังกล่าวหากเกิดขึ้นหรือมีการขยายความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละพื้นที่

องค์กร :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
29 กันยายน 2566
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) The guideline for developing a participatory management of the community elderly care network to escalating disaster response in upper north of Thailand.
หมวดหมู่ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
คำสำคัญ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ผูู้สูงอายุ ภัยพิบัติ ภาคีเครือข่าย
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230201
องค์ประกอบ 230201V03
ปัจจัย 230201F0302
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230002
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG050B SDG050B
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีความมุ่งหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้กำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต ได้สนองตอบนโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในเรื่องของการให้ความสำคัญในการช่วยดูแลคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ แกนนำอาสาสมัคร ชุมชน องค์กรเครือข่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ชุมชนมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติในชุมชนภายใต้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้ง มีแนวทางในการยกระดับการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์ทางภัยพิบัติในชุมชนภายใต้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งส่งผลให้ ภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมีความพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นชุมชนต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย ธนู ธิแก้ว
อีเมลนักวิจัย thanuthi185142@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 8 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 11 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 7 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2 16 recent views
โครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2 โครงการย่อยที่ 1...
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.