ขนาดตัวอักษร ภาษา
โครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2
โครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2

โครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2 โครงการย่อยที่ 1 การพัฒนานวัตกรรมการเฝ้าระวังสถานการณ์ครอบครัว เชิงพื้นที่โดยชุมชน ระยะที่ 2 บทคัดย่อ รายงานวิจัย เรื่อง โครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2 : โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการเฝ้าระวังสถานการณ์ครอบครัวเชิงพื้นที่โดยชุมชน ระยะที่ 2 นี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้และพัฒนาระบบและกลไกการเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง และ 2) พัฒนาระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ครอบครัวเชิงพื้นที่โดยชุมชน ผลการศึกษาได้ข้อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันครอบครัวที่ควรเฝ้าระวัง ซึ่งเป็นข้อมูลนำเข้า (Input) ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยสถานการณ์ครอบครัวในชุมชน คือ 1) ร้อยละของครอบครัวเปราะบาง 2) สถานการณ์ปัญหาครอบครัว สถานการณ์ปัญหาสังคมในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์สามี/ภรรยา ปัญหาในเด็ก/เยาวชน ปัญหาของผู้สูงอายุ ปัญหาภายในครอบครัว/สมาชิกในครอบครัว และปัญหาเพื่อนบ้าน/คนในชุมชน รวมจำนวน 40 ข้อ 3) สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ปัญหามลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และภัยธรรมชาติ จำนวน 5 ข้อ 4) สถานการณ์การมีแหล่งเรียนรู้สร้างสรรค์ในพื้นที่ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ทางศาสนา แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต แหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน จำนวน 25 ข้อ ทั้งนี้ งานวิจัยได้พัฒนาประเด็นคำถาม พร้อมจัดทำเป็นข้อคำถามสั้น ๆ โดยสาระสำคัญยังคงอยู่อย่างครบถ้วน สำหรับผลการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System : GIS) และระบบงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการจัดทำในรูปแบบ 1) เว็บแอปพลิเคชัน 2) ระบบการจัดเก็บแบบสำรวจออนไลน์ และ 3) ระบบฐานข้อมูลรองรับข้อมูลแบบสำรวจออนไลน์ ภายใต้โดเมน www.family-warning.dwf.go.th โดยระบบที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobile Device) เช่น เครื่องโทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) และโปรแกรมเว็บบราวเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยมีการแสดงผลในลักษณะ Responsive Design และสามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติงาน IOS และ Android ทุกขนาดหน้าจอของอุปกรณ์พกพาได้ เมื่อมีการเปิดใช้ระบบจริง ทั้งนี้ กำหนดจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ อปท. จำนวน 1 ชุดต่อปี โดย “ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยสถานการณ์ครอบครัวในชุมชน” ที่พัฒนาขึ้นนี้ คาดว่าจะช่วยให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลสารสนเทศสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจด้านครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป คำสำคัญ : สถานการณ์ครอบครัว, ข้อมูลครอบครัว, สำรวจข้อมูล, ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน, ระบบเฝ้าระวัง, เตือนภัย, ปัจจัย, ผลกระทบ, เว็บแอปพลิเคชัน, นวัตกรรม. โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกลไกเชิงพื้นที่ : การส่งเสริมการวิจัยชุมชนด้านครอบครัวและการพัฒนาครอบครัวเข้มแข็ง บทคัดย่อ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดทำโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกลไกเชิงพื้นที่ : การส่งเสริมการวิจัยชุมชน ด้านครอบครัวและพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งนี้ขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง โดยการศึกษารูปแบบ/แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลไก ศพค. ให้สามารถขับเคลื่อนงาน เพื่อการเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) คณะทำงาน ศพค. และภาคประชาสังคม (NGOs) สำหรับระเบียบวิธีการวิจัยใช้แบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของกลไกเชิงพื้นที่ ใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth Interview) การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) การสังเกต (Observation) และความรู้ที่ฝังในตัวของคณะวิจัยชุมชน เพื่อทำการสังเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อสรุปจากการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงนำข้อสรุปที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting) จำนวน 2 ครั้ง มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมฯ 91 คน จาก 54 จังหวัด หลังจากนั้น จึงใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ด้วยเครื่องมือแบบสำรวจออนไลน์ (Google form) ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 25 สิงหาคม 2566 ว่าผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ที่ได้ข้อสรุปจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้หรือไม่เพียงใด ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องตอบแบบสำรวจจำนวน 488 ราย จาก 43 จังหวัด ทั้งนี้ เพื่อให้การศึกษามีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ตามที่โครงการวิจัยกำหนด และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 ภูมิภาค สรุปมีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 59 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 76.6 ของจังหวัด ทั่วประเทศ โดยจากผลการศึกษาวิจัย พบว่า สถานการณ์การทำงาน ศพค. ในพื้นที่ ยังคงมีความสอดคล้องกับรายงานผลการติดตามและประเมินผลโครงการ/กิจกรรม ศพค. ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ที่ยังคงสะท้อนข้อเท็จจริงเดิม ๆ ว่า กองส่งเสริมสถาบันครอบครัวผู้รับผิดชอบงาน ศพค. ยังคงกำหนดนโยบาย ทิศทาง และจุดยืนการขับเคลื่อนงาน ศพค. ไม่ชัดเจน ที่ผ่านมา ศพค. ยังไม่มีอัตลักษณ์อะไรที่โดดเด่น หรือมีศักยภาพใดที่แตกต่าง ปัจจุบันการทำงาน ศพค. มีความซ้ำซ้อนกับงานอาสาสมัครของหลายหน่วยงาน แต่งานอาสาสมัครอื่น ๆ เป็นที่ยอมรับ แตกต่างจากงาน ศพค. ที่ส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ และนับวันยิ่ง อ่อนแอลง ที่น่าห่วงใย คือ มี อปท. และ พมจ. จำนวนไม่น้อยที่มองว่างาน ศพค. เป็นภาระให้หน่วยงานในพื้นที่ และไม่เกิดประโยชน์กับประชาชน โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงาน ศพค. ไม่เข้มแข็ง เกิดจากการคิด และออกแบบการทำงานแบบสั่งการจากส่วนกลาง ที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการทำงานกับเครือข่าย ขาดทักษะการวิเคราะห์ออกแบบงานอย่างเป็นระบบ ขาดการคำนึงถึงข้อจำกัด ขาดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งการออกแบบโครงการ/กิจกรรมไม่ได้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ กระบวนการ/ขั้นตอน การทำงานยุ่งยาก และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานบ่อยครั้ง ยิ่งกว่านั้น รูปแบบการรายงานผล การดำเนินงานค่อนข้างยุ่งยาก และมีแบบรายงานหลายฉบับ สร้างภาระให้กับหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งการออกแบบการทำงาน ศพค. ที่เป็นอยู่ มิได้ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดความเต็มใจร่วมมืออย่างยั่งยืน ที่สำคัญ กองส่งเสริมสถาบันครอบครัวมีความคาดหวังให้ ศพค. เป็นกลไกการขับเคลื่อนงานด้านครอบครัวในพื้นที่ แต่ที่ผ่านมา กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ ศพค. น้อยมาก ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้ จึงได้มุ่งศึกษาสถานการณ์การทำงานของ ศพค. ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์หาข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการทำงานของ ศพค. ที่ไม่เข้มแข็ง และปัจจัยเกื้อหนุน การทำงานของ ศพค. ที่เข้มแข็ง รวมทั้งทำการศึกษาความต้องการหรือความคาดหวังของหน่วยงานและบุคคล ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบ/แนวทางการพัฒนาศักยภาพ ศพค. ซึ่งจากผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนให้มี ความเข้มแข็ง ประกอบด้วย 1.การปรับแนวคิดและสร้างความเข้าใจว่า การทำงานกับเครือข่ายจำเป็นต้องให้ทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานเกิดความยั่งยืน 2.กำหนดจุดยืนและสร้างคุณค่าให้กับงาน ศพค. โดยเริ่มจากคณะทำงาน ศพค. ต้องประกอบด้วยประชาชนจิตอาสา/จิตสาธารณะ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทำงานต้องมีทั้งการทำงานเชิงรุก (ป้องกัน) และการทำงานเชิงรับ (แก้ไข) ผสมผสานกัน เพื่อรองรับ การทำงานตามบริบทของแต่ละพื้นที่ 3.การออกแบบกระบวนงาน ต้องมีการวิเคราะห์ และออกแบบการทำงาน ให้เป็นระบบ ลดกระบวนการ/ขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (หลักการพาเรโต หรือ กฎ 80/20) ที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ NGOs ต้องให้คำแนะนำ สนับสนุนการทำงาน และพัฒนาศักยภาพให้กับคณะทำงานที่เป็นประชาชนจิตอาสา/จิตสาธารณะอย่างเหมาะสม 4.การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยจำแนกเป็น ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนต้นแบบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเข้มแข็ง และศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ที่ไม่เข้มแข็ง โดยควรจัดทำ “หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ศพค. ต้นแบบ” และ “หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนา ศพค. เข้มแข็ง” รวมทั้งรวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการทำงานของ ศพค.อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ควรสนับสนุนงบประมาณให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นในการทำงานจริงของพื้นที่ และ 5.ควรใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการรายงาน ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง คำสำคัญ : ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน, พัฒนาครอบครัว, ครอบครัวเข้มแข็ง, ครอบครัว, ท้องถิ่น, จิตอาสา, จิตสาธารณะ, อาสาสมัคร, ชุมชน.

องค์กร :
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
8 พ.ค. 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลโครงการพัฒนาระบบและกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง มีจิตสำนึกความเป็นไทย และดำรงชีวิตแบบพอเพียง ระยะที่ 2 โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) the developing of the Community Family Development Center: Family Strengthening, Thai-ness Establishment and Sufficient Life : Sub-project 2
หมวดหมู่ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230201
องค์ประกอบ 230201V03
ปัจจัย 230201F0301
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230001
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG050B SDG050B
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) 1. ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมีการจัดการข้อมูลภายใต้ระบบภูมิสารสนเทศด้านครอบครัว 2. ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว และกลไกในระดับชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ในการสร้างกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการวิจัยด้านครอบครัวในชุมชนและการพัฒนาครอบครัวเข้มแข็ง ไปใช้ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนและหน่วยงานท่ีเป็นกลไกในระดับพื้นท่ีท่ีมีการนำกระบวนการ/องค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับครอบครัว
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย นางสาวพรมณี พุ่มอิ่ม ดร.ธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์ ดร.ณรงค์พันธ์ ฉุนรัมย์ ดร.นัทธปราชญ์ นันทิวัฒน์กุล น.ส.ลักษณาวดี ธนานุภาพ น.ส.มนต์ริสสา โรจน์วดีภิญโญ
อีเมลนักวิจัย dwf.research6792@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 7 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 recent views
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ 2)...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการวิจัยกลยุทธ์การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ภาคใต้ 1 recent views
-
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานผลการดำเนินงานระบบเพื่อนครอบครัว ประจำปี 2565 1 recent views
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.