ขนาดตัวอักษร ภาษา
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง

การร่วมขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และแผนด้าน ววน. ในพื้นที่นำร่อง โดยบูรณาการเครือข่ายร่วมพัฒนาและถอดบทเรียนเพื่อเชื่อมโยงสู่การปรับปรุงนโยบายและยุทธศาสตร์ ให้เห็นถึงความสำคัญและแนวทางการใช้ ววน.ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก ววน. ในการพัฒนาประเทศ โดยการเปิดโอกาสให้ภาคีวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน จังหวัดลำปางได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่นำร่อง โดยมีเป้าหมายให้เป็นพื้นที่ในการทดลองค้นหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมในการทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ด้วย ววน. ซึ่งประเด็นการพัฒนาภายใต้แผนฯ 13 ที่เหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนได้ในพื้นที่ลำปาง 3 ประเด็น คือ การปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง เล็งเห็นว่าแนวทางการพัฒนาประเทศโดยใช้งานด้านวิชาการ (ววน.) เป็นฐานในการขับเคลื่อนนั้น สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างสำคัญยิ่ง และยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนการดำเนินงานในพื้นที่ที่จะต้องมีบทบาทสร้างความเข้าใจ ความมือร่วม การยอมรับและให้ความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนานี้ ตลอดถึงการสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ การกำหนดประเด็นหลักในการขับเคลื่อนที่เหมาะสมกับพื้นที่ การออกแบบการสนับสนุนทุนการวิจัยในพื้นที่ที่สอดคล้องกับแนวทางของแผนฯ 13 จากความสำคัญหลายด้านเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินงานในพื้นที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อทดลองดำเนินงานทั้งในส่วนของประเด็นการพัฒนาทั้ง 3 ประเด็นและในส่วนของกลไกการดำเนินงาน การจัดสรรทุนการวิจัย การสนับสนุนองค์ความรู้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และทำการศึกษาเพื่อค้นหารูปแบบการขับเคลื่อนที่ดีและมีประสิทธิภาพเพื่อนำสู่การเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ 1 ยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดลำปางใน 3 ประเด็นหลัก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในจังหวัดลำปาง 2 แผนพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่ 3 Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนาในพื้นที่นำร่องจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนระยะยาว และสามารถนำไปขยายผลสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีลักษณะหรือบริบทคล้ายคลึงกัน 4. การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของ Stakeholder และ Key Actor เป็นต้น

องค์กร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
13 ธันวาคม 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลโครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) A pilot model for driving the 13th Plan using science, research, and innovation: Lampang.
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก P1311 - ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายระดับหมุดหมาย
  • P131101 - ความเสียหายและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลง
  • P131102 - ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลง
  • P131103 - สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หมุดหมายสนับสนุน P1307 - ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้
ประเด็นแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง 060202 - ความยั่งยืนทางภูมินิเวศ ภูมิสังคม และภูมิวัฒนธรรม
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG1103 - ยกระดับการพัฒนาเป็นเมืองให้ครอบคลุมและยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มพูนขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างมีส่วนร่วม บูรณาการ และยั่งยืนในทุกประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573
หมวดหมู่ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
คำสำคัญ การปรับตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1. วิเคราะห์และศึกษาเชิงระบบ (System Research) ของสถานการณ์ ปัญหา ศักยภาพและโอกาสในการรองรับความท้าทาย ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตของประเด็นการพัฒนาของจังหวัดลำปางใน 3 ประเด็นประกอบด้วย การปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม เซรามิกสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าและการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย 2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งศึกษา Stakeholder เพื่อกำาหนดเป้าหมาย และออกแบบการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาในจังหวัดลำปาง ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 3. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและ Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนาใน 3 ประเด็นการพัฒนาของจังหวัดลำปางและขยายผลในพื้นที่ ใกล้เคียงและเกี่ยวข้อง 4. ขับเคลื่อน 3 ประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดลำปาง 5. ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่ลำปาง ด้วย ววน. เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงนโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2571-2575
รายละเอียดการดำเนินงาน ขอบเขตการดำเนินงาน 1. ขอบเขตด้านพื้นที่การวิจัย: การศึกษาครอบคลุมจังหวัดลำปางในฐานะพื้นที่ศึกษาหลัก โดยเน้น 3 ประเด็นสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า และการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย และพื้นที่ขยายผลที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกันในบริบททางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาครอบคลุมในระดับภูมิภาค 2. ขอบเขตด้านเนื้อหาและประเด็นการวิจัย : การวิจัยนี้มีขอบเขตด้านเนื้อหาที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ โดยเน้นการวิเคราะห์เชิงระบบใน 3 ประเด็นการพัฒนาหลักที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ดังนี้: 2.1 การปรับตัวสู่อุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์ ขอบเขตเนื้อหา: ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมเซรามิกในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการศึกษาโอกาสและความท้าทายในการปรับตัวของอุตสาหกรรมเซรามิกจากการผลิตแบบดั้งเดิมสู่ การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดในยุคปัจจุบันและอนาคต อาทิ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยใช้การออกแบบและเทคโนโลยี การพัฒนาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเซรามิก โดยการลดการใช้พลังงานและทรัพยากร โอกาสในการเข้าสู่ตลาดระดับสากลและการสร้างแบรนด์ระดับภูมิภาค การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ 2.2 การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ขอบเขตเนื้อหา: วิเคราะห์ปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดลำปาง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี การวิจัยจะมุ่งเน้นไปที่การระบุสาเหตุของปัญหาและการพัฒนาแนวทางแก้ไขโดยใช้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน อาทิ การวิเคราะห์สาเหตุของหมอกควันและไฟป่า รวมถึงพฤติกรรมการใช้พื้นที่และการเกษตรที่ส่งผลกระทบ การพัฒนาเทคโนโลยีในการป้องกันและลดการเกิดไฟป่า การออกแบบและพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของชุมชนจากปัญหาหมอกควัน 2.3 การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัย ขอบเขตเนื้อหา: สำรวจและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ในจังหวัดลำปางที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งต้องการการเตรียมความพร้อมในด้านเศรษฐกิจ การดูแลสุขภาพ และสวัสดิการสังคม การวิจัยจะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของประชากรสูงวัยและการเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ อาทิ การวิเคราะห์ความต้องการของประชากรสูงวัยในด้านสุขภาพ บริการทางสังคม และเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบดูแลสุขภาพและสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงวัยในกิจกรรมชุมชนและการพัฒนาเศรษฐกิจ 2.4 การวิเคราะห์ Stakeholder ขอบเขตเนื้อหา: การศึกษาและวิเคราะห์ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นการพัฒนา เพื่อทำความเข้าใจบทบาท ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็น รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์เพื่อดึงดูดการมีส่วนร่วมของ Stakeholder ในการขับเคลื่อนการพัฒนา อาทิ การระบุ Stakeholder หลักและรองในแต่ละประเด็นการพัฒนา การวิเคราะห์บทบาท ความสัมพันธ์ และผลกระทบที่ Stakeholder มีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาในแต่ละประเด็น การออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของ Stakeholder ในการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนา 2.5 การใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในการขับเคลื่อนการพัฒนา ขอบเขตเนื้อหา: ศึกษาบทบาทของวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนาในประเด็นทั้งสาม โดยใช้ ววน. เป็นเครื่องมือในการสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาและการพัฒนาเชิงบูรณาการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน อาทิ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาในแต่ละประเด็น การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ ววน. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ การสร้างโมเดลการพัฒนาที่สามารถขยายผลสู่พื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายกัน 3. การวิจัยจะดำเนินการครอบคลุมระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2567-2569) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ: ปีที่ 1 (พ.ศ. 2567): วิเคราะห์สถานการณ์ ศักยภาพ และโอกาสของพื้นที่ และกำหนดเป้าหมายการพัฒนา รวมถึงแต่งตั้ง Project Manager สำหรับการขับเคลื่อน ปีที่ 2 (พ.ศ. 2568): ขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดลำปาง และสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ของ Key Actor และ Stakeholder พร้อมรายงานความก้าวหน้า ปีที่ 3 (พ.ศ. 2569): จัดทำ Roadmap สำหรับการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดลำปาง และถอดบทเรียนจากการใช้ ววน. เพื่อยกระดับการพัฒนาและนำไปใช้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผน ววน. ของประเทศ 4. ขอบเขตด้านผลลัพธ์การวิจัย : ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยจะถูกนำเสนอในรูปแบบของข้อเสนอ เชิงนโยบายและ Roadmap เพื่อยกระดับการพัฒนาใน 3 ประเด็นหลัก พร้อมทั้งขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมุ่งเน้นการนำเสนอโมเดลที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงนโยบายระดับประเทศ เช่น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผน ววน. แห่งชาติ พ.ศ. 2571-2575
ผลการดำเนินงาน ได้เริ่มออกสัญญาสนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง และตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ [u'\u0e1c\u0e39\u0e49\u0e21\u0e35\u0e2a\u0e48\u0e27\u0e19\u0e44\u0e14\u0e49\u0e40\u0e2a\u0e35\u0e22\u0e21\u0e35\u0e2a\u0e48\u0e27\u0e19\u0e23\u0e48\u0e27\u0e21\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e21\u0e35\u0e40\u0e17\u0e04\u0e42\u0e19\u0e42\u0e25\u0e22\u0e35 \u0e19\u0e27\u0e31\u0e15\u0e01\u0e23\u0e23\u0e21 \u0e2b\u0e23\u0e37\u0e2d\u0e10\u0e32\u0e19\u0e02\u0e49\u0e2d\u0e21\u0e39\u0e25\u0e17\u0e35\u0e48\u0e2a\u0e32\u0e21\u0e32\u0e23\u0e16\u0e2a\u0e19\u0e31\u0e1a\u0e2a\u0e19\u0e38\u0e19\u0e01\u0e32\u0e23\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e07\u0e32\u0e19', u'\u0e21\u0e35\u0e1a\u0e17\u0e40\u0e23\u0e35\u0e22\u0e19\u0e08\u0e32\u0e01\u0e01\u0e32\u0e23\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2d\u0e37\u0e48\u0e19 \u0e17\u0e35\u0e48\u0e2a\u0e32\u0e21\u0e32\u0e23\u0e16\u0e19\u0e33\u0e21\u0e32\u0e1b\u0e23\u0e30\u0e22\u0e38\u0e01\u0e15\u0e4c\u0e43\u0e0a\u0e49\u0e44\u0e14\u0e49']
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
ผู้จัดทำข้อมูล อานนท์ จริยนรเศรษฐ์
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล anon@tsri.or.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 22 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษาจังหวัดบึงกาฬ 5 recent views
การประชุมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กับ Key Stakeholder ระดับจังหวัด ในที่ประชุมมีหมุดหมายเพื่อการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13...
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 11 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 5 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.