ขนาดตัวอักษร ภาษา
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง

การร่วมขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และแผนด้าน ววน. ในพื้นที่นำร่อง โดยบูรณาการเครือข่ายร่วมพัฒนาและถอดบทเรียนเพื่อเชื่อมโยงสู่การปรับปรุงนโยบายและยุทธศาสตร์ ให้เห็นถึงความสำคัญและแนวทางการใช้ ววน.ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาและใช้ประโยชน์จาก ววน. ในการพัฒนาประเทศ โดยการเปิดโอกาสให้ภาคีวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน จังหวัดลำปางได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่นำร่อง โดยมีเป้าหมายให้เป็นพื้นที่ในการทดลองค้นหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมในการทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ด้วย ววน. ซึ่งประเด็นการพัฒนาภายใต้แผนฯ 13 ที่เหมาะสมและสามารถขับเคลื่อนได้ในพื้นที่ลำปาง 3 ประเด็น คือ การปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง เล็งเห็นว่าแนวทางการพัฒนาประเทศโดยใช้งานด้านวิชาการ (ววน.) เป็นฐานในการขับเคลื่อนนั้น สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นได้อย่างสำคัญยิ่ง และยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนการดำเนินงานในพื้นที่ที่จะต้องมีบทบาทสร้างความเข้าใจ ความมือร่วม การยอมรับและให้ความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนานี้ ตลอดถึงการสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ การกำหนดประเด็นหลักในการขับเคลื่อนที่เหมาะสมกับพื้นที่ การออกแบบการสนับสนุนทุนการวิจัยในพื้นที่ที่สอดคล้องกับแนวทางของแผนฯ 13 จากความสำคัญหลายด้านเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินงานในพื้นที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อค้นหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อทดลองดำเนินงานทั้งในส่วนของประเด็นการพัฒนาทั้ง 3 ประเด็นและในส่วนของกลไกการดำเนินงาน การจัดสรรทุนการวิจัย การสนับสนุนองค์ความรู้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และทำการศึกษาเพื่อค้นหารูปแบบการขับเคลื่อนที่ดีและมีประสิทธิภาพเพื่อนำสู่การเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ 1 ยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดลำปางใน 3 ประเด็นหลัก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในจังหวัดลำปาง 2 แผนพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่ 3 Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนาในพื้นที่นำร่องจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนระยะยาว และสามารถนำไปขยายผลสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีลักษณะหรือบริบทคล้ายคลึงกัน 4. การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของ Stakeholder และ Key Actor เป็นต้น

องค์กร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
13 ธันวาคม 2567
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.