ขนาดตัวอักษร ภาษา
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษาจังหวัดบึงกาฬ
โครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษาจังหวัดบึงกาฬ

การประชุมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กับ Key Stakeholder ระดับจังหวัด ในที่ประชุมมีหมุดหมายเพื่อการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ใน 3 ประเด็น นำร่อง ได้แก่ หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป มูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน และหมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพด้านพื้นที่ด้านการเกษตรของจังหวัดบึงกาฬ การแปรรูปยางพาราและผลิตภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราและผลิตภัณฑ์ การพัฒนาท่องเที่ยวมูลค่าสูงผ่านอัตลักษณ์ท้องถิ่น ตลอดจนปัญหาด้านความยากจนในพื้นที่ การศึกษา และการขจัดปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ การวิจัยครั้งนี้ กำหนดรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Methodology) ซึ่งกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน ระยะ 3 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ระยะที่ 1 แผนการทำงาน (Roadmap) สำหรับการแก้ไขปัญหา/ยกระดับการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และศึกษาเชิงระบบ (System Research) ขั้นตอนที่ 2 การทำแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Mapping) ขั้นตอนที่ 3 แผนการทำงาน (Roadmap) สำหรับการแก้ไขปัญหา/ยกระดับการพัฒนา ระยะที่ 2 ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ขั้นตอนที่ 4 ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. ระยะที่ 3 ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ด้วย ววน. ขั้นตอนที่ 5 ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ด้วย ววน. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และภูมิภาคที่ได้ทดลอง ดำเนินงานและถูกบรรจุในแผนพัฒนาของจังหวัด รวมทั้งสามารถขยายผลสู่พื้นที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้องได้ ตลอดจนแนวทางในการปรับปรุงนโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2571 – 2575 2. ชุดความรู้และบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่นำร่อง ด้วย ววน. เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงนโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2567 – 2575 3. เครือข่ายการเรียนรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างประเด็นการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดนำร่องของ Key Actor และ Player ที่สำคัญ รวมทั้งการประสานกลไกจังหวัด 4. การนำ ววน. ไปสร้างเศรษฐกิจ ความกินดีอยู่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดี ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

องค์กร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
16 ธันวาคม 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลโครงการทดลองต้นแบบการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กรณีศึกษาจังหวัดบึงกาฬ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) A pilot model for driving the 13th Plan using science research and innovation Bueng Kan
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก P1301 - ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
เป้าหมายระดับหมุดหมาย P130101 - มูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปสูงขึ้น
หมุดหมายสนับสนุน P1302 - ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
ประเด็นแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง 030401 - สินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0203 - เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้างงานนอกภาคการเกษตรอย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573
หมวดหมู่ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
คำสำคัญ การขจัดปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา การพัฒนาท่องเที่ยวมูลค่าสูงผ่านอัตลักษณ์ท้องถิ่น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราและผลิตภัณฑ์ การแปรรูปยางพาราและผลิตภัณฑ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1. วิเคราะห์และศึกษาเชิงระบบ (System Research) ของสถานการณ์ ปัญหา ศักยภาพและโอกาสในการรองรับความท้าทาย ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตของประเด็นการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ 2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งศึกษา Stakeholder เพื่อกำหนดเป้าหมาย และออกแบบการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 3. จัดทำ Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหา/ยกระดับการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้อง 4. ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ 5. ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ด้วย ววน. เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงนโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2571 – 2575
รายละเอียดการดำเนินงาน ระยะที่ 1 แผนการทำงาน (Roadmap) สำหรับการแก้ไขปัญหา/ยกระดับการพัฒนาในประเด็น การพัฒนาของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ 1. ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และศึกษาเชิงระบบ (System Research) ของสถานการณ์ ปัญหา ศักยภาพและโอกาสในการรองรับความท้าทาย ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตของประเด็นการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งดำเนินการวิเคราะห์และศึกษาเชิงระบบ ใน 3 ประเด็น นำร่อง ได้แก่ หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน และหมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ ซึ่งเป็นมิติการพัฒนาพื้นที่จังหวัด บึงกาฬ ที่ทางทีมวิจัยมีการประชุมร่วมกันกับ Key Stakeholder ระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยการวิจัยเชิงระบบ (System Research) ครั้งนี้ดำเนินการโดยมีหลักการชี้นำ (Guiding Principles) 3 ประการ คือ 1) เชื่อมโยงกับบริบทโลก (Global Context) 2) นำไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ (Paradigm Shifts) และ 3) เกิดการออกแบบระบบใหม่ (System Design) ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยเชิงระบบจะนำไปจัดทำเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบาย (White Paper) เพื่อออกแบบระบบรองรับกระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬ โดยแบ่งกระบวนการวิเคราะห์ระบบ เป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1.1 การติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของโลกและไทย (Horizon Scanning) เป็นกระบวนการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (Strategic Intelligence) เพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ (Mega trends) และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงย่อยภายใต้การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ (Sub trends) รวมทั้งระบุปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ (Key Drivers) อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก (Insights) และนัยยะที่สำคัญ (Implications) ต่อโลกและต่อประเทศไทย 1.2 การสร้างภาพอนาคตของไทยและในประเด็นสำคัญ (Scenario Building) เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์โดยใช้ข้อมูลแนวโน้มในปัจจุบันและความไม่แน่นอน (Uncertainties) ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปสู่การวางแผนด้วยสถานการณ์ (Scenario Planning) เพื่อเสนอทางเลือกในการจัดการกับเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างครอบคลุม ทุกมิติ ในกระบวนการวิจัยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของ Key Stakeholders ในพื้นที่เป็นสำคัญ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Primary Data) เช่น 1) แบบสำรวจและระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาคนในระดับพื้นที่ (Local Census) เป้าหมายชุมชนที่มี “เด็กนอกระบบ” สูงสุดในแต่ละอำเภอ จำนวน 8 ชุมชน 8 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ 2) สอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 4) สอบถามความคิดเห็นของเกษตรกร และ 4) สอบถามความคิดเห็นของ Stakeholder ฯลฯ และการเก็บจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เช่น ฐานข้อมูลผลงาน ววน. ด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน และด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนข้ามรุ่น ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดบึงกาฬด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านประชากร ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมลด้านอาชีพ ข้อมูลด้านเกษตรกรและปศุสัตว์ และข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ฯลฯ ร่วมกับกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้ง 1) Focus group discussion 2) Small group discussion รายประเด็น 3) สัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth interview) 4) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 5) การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) 6) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และ 7) Soft System Methodology : SSM 2. ขั้นตอนที่ 2 การทำแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Mapping) ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งศึกษา Stakeholder เพื่อกำหนดเป้าหมาย และออกแบบการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในขั้นตอนการวิเคราะห์ Stakeholder mapping ทำการวิเคราะห์แยกรายประเด็น ทั้ง 3 ประเด็น โดยใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลาย ทั้ง 1) The Sociogram 2) Force field analysis 3) Power-interest grid or matrix stakeholder และ 4) Ecosystem maps โดยมุ่งเน้นกระบวนการ มีส่วนร่วมของ Key Stakeholders ในพื้นที่เป็นสำคัญ ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (Primary Data) และการเก็บจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ร่วมกับกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้ง 1) Focus group discussion 2) Small group discussion รายประเด็น 3) สัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth interview) 4) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 5) การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) 6) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และ 7) Soft System Methodology : SSM ขั้นตอนที่ 3 จัดทำ Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหา/ยกระดับการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้อง โดยใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ปัญหา (Define Problem) 2) การระบุสาเหตุของปัญหา (Understand Causes) 3) การหาวิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจ (Implement Solution) และ 4) การติดตามผลและวัดผลลัพธ์เพื่อความยั่งยืน (Sustain Performance) และทำการประเมินโดยการประเมิน Roadmap ด้วยการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับสภาพที่เป็นอยู่จริง ความต้องการจำเป็นต้องมีคุณลักษณะ 2 ประการ คุณลักษณะประการแรก “อะไรก็ตามที่หากได้มาแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก สิ่งนั้นถือว่าเป็นความต้องการจำเป็น” และคุณลักษณะประการที่สอง “อะไรก็ตามที่หากไม่ได้รับแล้วจะก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ สิ่งนั้นถือว่าเป็นความต้องการจำเป็น” ซึ่งจะเป็นการระบุถึงสิ่งที่นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสิ่งที่ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ซึ่งทำการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) ใน 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการจำเป็นตามปกติวิสัย โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของประเทศ 2) ความต้องการจำเป็นตามสภาพการณ์ โดยใช้วิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินสภาพปัญหา และ 3) ความต้องการจำเป็นตามอนาคต โดยใช้การวิเคราะห์สภาพการเคลื่อนไหวของสังคม และใช้เทคนิคการจัดลำดับสำหรับข้อมูลแบบการตอบสนอง วิธี Priority Needs Index (PNI) โดยในการดำเนินการจัดทำ Roadmap มุ่งเน้นกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาให้เกิดกลไกเชิงสถาบัน (Institutionalized) โดยใช้วิธีการศึกษาแบบ Soft System Methodology (SSM) ซึ่งมี 7 ขั้นตอน อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ 1) ความพึงประสงคโดยหลักการ (desirable in principle) และ 2) ความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติ (feasible to implement) ซึ่งจากผลการศึกษาจะทำให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากลไกเชิงสถาบันการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่ ระยะที่ 2 ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ขั้นตอนที่ 4 ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ โดยภายหลังจากมีการจัดทำ Roadmap สำหรับการแก้ไขปัญหา/ยกระดับการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาของพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และขยายผลในพื้นที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้อง และจัดลำดับสำหรับข้อมูลแบบการตอบสนอง วิธี Priority Needs Index (PNI) ซึ่งทำให้ได้ประเด็นเร่งด่วนในการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่เป็นเป้าหมาย โดยการใช้ ววน. ทั้ง 3 มิติ ทำการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาดังกล่าว ร่วมกับ Key Stakeholders โดยใช้การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Interactive Learning through Action) หรือ PILA เพื่อดึงคนหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม มีหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมคิด ทำให้ชุมชนเห็นปัญหา เป้าหมาย ของฐานของตนเอง คิดที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง และวางแผนออกมา 2) ร่วมทำ สร้างคนทำงานไม่ว่าจะเป็นผู้นำ ทีม พัฒนาระบบกลุ่ม มีการทดลองพื้นที่ ทำซ้ำ ขยายผล และ 3) ร่วมเรียนรู้ มีการสรุปผล ติดตามผล สรุปบทเรียน วางแผนตามสถานณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และกำหนดให้มีกระบวนการติดตามและวัดผลของโครงการ โดยใช้กระบวนการศึกษา Causal Loop Diagram (CLD) ซึ่งเป็นกระบวนการ Feedback Loop เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อย (element) ในระบบ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของระบบ โดยดำเนินการทุก 6 เดือนและ 12 เดือน ระยะที่ 3 ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ด้วย ววน. ขั้นตอนที่ 5 ถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ด้วย ววน. เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงนโยบาย และแผนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 และแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2571 – 2575 ซึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาดังกล่าว เป็นการขับเคลื่อนร่วมกับ Key Stakeholders โดยใช้การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Interactive Learning through Action) หรือ PILA เพื่อดึงคนหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม มีหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมคิด ทำให้ชุมชนเห็นปัญหา เป้าหมาย ของฐานของตนเอง คิดที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง และวางแผนออกมา 2) ร่วมทำ สร้างคนทำงานไม่ว่าจะเป็นผู้นำทีมพัฒนาระบบกลุ่ม มีการทดลองพื้นที่ ทำซ้ำ ขยายผล และ 3) ร่วมเรียนรู้ มีการสรุปผล ติดตามผล สรุปบทเรียน วางแผนตามสถานณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และกำหนดให้มีกระบวนการติดตามและวัดผลของโครงการ โดยใช้กระบวนการศึกษา Causal Loop Diagram (CLD) ซึ่งเป็นกระบวนการ Feedback Loop เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบย่อย (element) ในระบบ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของระบบ โดยดำเนินการทุก 6 เดือนและ 12 เดือนและใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพในการถอดบทเรียนความสำเร็จที่เกิดขึ้น ทั้ง 1) Focus group discussion 2) Small group discussion รายประเด็น 3) สัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth interview) 4) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 5) การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) และ 6) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)
ผลการดำเนินงาน ได้เริ่มออกสัญญาสนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ [u'\u0e1c\u0e39\u0e49\u0e21\u0e35\u0e2a\u0e48\u0e27\u0e19\u0e44\u0e14\u0e49\u0e40\u0e2a\u0e35\u0e22\u0e21\u0e35\u0e2a\u0e48\u0e27\u0e19\u0e23\u0e48\u0e27\u0e21\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e21\u0e35\u0e40\u0e17\u0e04\u0e42\u0e19\u0e42\u0e25\u0e22\u0e35 \u0e19\u0e27\u0e31\u0e15\u0e01\u0e23\u0e23\u0e21 \u0e2b\u0e23\u0e37\u0e2d\u0e10\u0e32\u0e19\u0e02\u0e49\u0e2d\u0e21\u0e39\u0e25\u0e17\u0e35\u0e48\u0e2a\u0e32\u0e21\u0e32\u0e23\u0e16\u0e2a\u0e19\u0e31\u0e1a\u0e2a\u0e19\u0e38\u0e19\u0e01\u0e32\u0e23\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e07\u0e32\u0e19', u'\u0e21\u0e35\u0e1a\u0e17\u0e40\u0e23\u0e35\u0e22\u0e19\u0e08\u0e32\u0e01\u0e01\u0e32\u0e23\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2d\u0e37\u0e48\u0e19 \u0e17\u0e35\u0e48\u0e2a\u0e32\u0e21\u0e32\u0e23\u0e16\u0e19\u0e33\u0e21\u0e32\u0e1b\u0e23\u0e30\u0e22\u0e38\u0e01\u0e15\u0e4c\u0e43\u0e0a\u0e49\u0e44\u0e14\u0e49']
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
ผู้จัดทำข้อมูล อานนท์ จริยนรเศรษฐ์
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล anon@tsri.or.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 22 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 11 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 5 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานสถานการณ์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี 2565 9 recent views
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.