กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย

กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment Framework : DQAF) ได้รับการพัฒนา ขึ้นครั้งแรกโดย The International Monetary Fund (IMF) สำหรับการประเมินเชิงลึกของกระบวนการทั้งหมดในการจัดการคุณภาพข้อมูลสถิติการศึกษา ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูลทางสถิติที่น่าเชื่อถือ ตรงตามมาตรฐาน และมีคุณภาพที่สามารถยอมรับได้ในระดับนานาชาติ โดยหน่วยงานมาตรฐานสถิติระหว่างประเทศ (UNESCO Institute for Statistics: UIS) ในสังกัดองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) นำกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษา (Education Data Quality Assessment Framework: Ed-DQAF) ที่ได้รับความยอมรับในสากล โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimension) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) มาเป็นกรอบการจัดการคุณภาพของข้อมูลด้านการศึกษาในเบื้องต้น เพื่อนำไปประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงานทางสถิติของแต่ละหน่วยงาน เช่น กรอบการจัดการคุณภาพ อำนาจหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรักษาความลับของข้อมูลในส่วนของสภาพแวดล้อมเชิงสถาบัน เนื่องจากองค์ประกอบดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญและเป็นพื้นฐานในการจัดทำสถิติทางการในแต่ละประเทศ ที่คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพข้อมูลสถิติ จึงได้ริเริ่มสร้างกรอบประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาขึ้น สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานมาตรฐานสถิติระหว่างประเทศ (UNESCO Institute for Statistics (UIS)) จัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดทางการศึกษาของประเทศไทย ในโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษา (The Capacity Development for Education (CapED)) เป็นการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายจาก วิสัยทัศน์ที่มุ่งหมายเปลี่ยนแปลงองค์รวมของการศึกษา ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ตามวาระการพัฒนาของยูเนสโก โดยการสนับสนุนประเทศมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. บูรณาการเป้าหมายการศึกษาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) คือการศึกษาที่ทั่วถึง เสมอภาคทุกเพศ มีคุณภาพ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอบรมสายอาชีพ และที่สำคัญที่สุดคือเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายทุกคนได้รับการศึกษาฟรีในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 2. เพื่อเสริมสร้างระบบติดตามการศึกษา ในรูปแบบส่งเสริมการออกแบบยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาสถิติการศึกษา (A National Strategy for the Development of Education Statistics (NSDES)) ผ่านขั้นตอนต่อไปนี้: 2.1 จัดทำผังความเชื่อมโยงของแหล่งที่มาข้อมูล และระบุข้อบกพร่องของข้อมูลกับกรอบตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education) 2.2 ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ผ่านชุดการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment (DQA)) สำหรับแหล่งที่มาข้อมูลที่มีความหลากหลาย เพื่อจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment (DQA)) พร้อมทั้งแสดงคำแนะนำสำหรับการปรับปรุง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการดำเนินการประเมินคุณภาพข้อมูล ในกระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา การประมวลผลข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล โดยได้ดำเนินการติดตามระบบการบริหารจัดการข้อมูลด้านการศึกษาของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่แนวทางการดำเนินงานของการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment: Thailand Ed-DQA) เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนประกอบการกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาการศึกษา และการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ

องค์กร :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
31 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Thailand Education Data Quality Assessment Framework
หมวดหมู่ การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V04
ปัจจัย 120101F0404
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0407
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ผลการประเมินคุณภาพข้อมูลทางการศึกษาของประเทศไทย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาข้อมูลทางการศึกษาให้มีความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความน่าเชื่อถือตามมาตรฐานระดับสากล (The Education Data Quality Assessment Framework : Ed-DQAF) ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทย
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย มีระบบและผลการประเมินคุณภาพข้อมูลทางการศึกษาของประเทศไทย
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย นายภาณุพงศ์ พนมวัน นายศิระวัฒน์ จรรยาจิรวงศ์
อีเมลนักวิจัย phanupong.p@onec.go.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ 5 recent views
วารสารการทดสอบและการประเมินทางการศึกษาระดับชาติ (Journal of National Education Testing and Assessment) เปนวารสารวิชาการที่เผยแพรผลงานของนักวิชาการ นักวิจัย บุคลากร...
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 13 recent views
การศึกษาวิจัย การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 ได้ดำเนินการศึกษาและสรุปสภาพที่พึงประสงค์ในอนาคตในมิติด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1)...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาค 17 recent views
แนวคิดเรื่องการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาคเป็นแนวทางที่หลายประเทศให้ความสนใจ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายงาน การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับจังหวัดของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2564 23 recent views
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นองค์กรหลักในกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางและนโยบายด้านการศึกษาของชาติ พัฒนานโยบาย...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.