ขนาดตัวอักษร ภาษา
ผลของการเสริมผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และการใช้ร่วมกันต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ การเปลี่ยนแปลงของวิลไล และปริมาณแบคทีเรียในลําไส้ของไก่ไข่
ผลของการเสริมผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และการใช้ร่วมกันต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ การเปลี่ยนแปลงของวิลไล และปริมาณแบคทีเรียในลําไส้ของไก่ไข่

การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบผลการเสริมผงถ่านไม้ไผ่และน้ําส้มควันไม้ไผ่ทั้งในรูปแบบเดี่ยวและการใช้ ร่วมกันในอาหารของไก่ไข่ต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ ปริมาณแบคทีเรียในลําไส้และการเปลี่ยนแปลงของวิลไลใน ลําไส้ใช้ไก่ไข่พันธุ์ไฮไลน์บราวน์ อายุ 40 สัปดาห์ จํานวน 450 ตัว แบ่งออกเป็น 9 กลุ่มๆ ละ 5 ซ้ําๆ ละ 10 ตัว ไก่ไข่ได้รับอาหารดังนี้ 1) อาหารควบคุม 2) อาหารควบคุม + ผงถ่านไม้ไผ่ 0.5% 3) อาหารควบคุม + ผงถ่านไม้ ไผ่ 1% 4) อาหารควบคุม + น้ําส้มควันไม้ไผ่ 0.3% 5) อาหารควบคุม + น้ําส้มควันไม้ไผ่ 0.6% 6) อาหารควบคุม + ผงถ่านไม้ไผ่ 0.5% + น้ําส้มควันไม้ไผ่ 0.3% 7) อาหารควบคุม + ผงถ่านไม้ไผ่ 0.5% + น้ําส้มควันไม้ไผ่ 0.6% 8) อาหารควบคุม + ผงถ่านไม้ไผ่ 1% + น้ําส้มควันไม้ไผ่ 0.3% 9) อาหารควบคุม + ผงถ่านไม้ไผ่ 1% + น้ําส้ม ควันไม้ไผ่ 0.6% ทําการทดลองตั้งแต่อายุ 40-56 สัปดาห์ ข้อมูลตลอดการทดลองปรากฏว่า อัตราการเปลี่ยน อาหารเป็นผลผลิตไข่ในทุกกลุ่มที่มีการใช้สารเสริมดีกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) การเสริมน้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหาร ที่ระดับ 0.6% ให้ผลที่เด่นชัดในการเพิ่มความหนาเปลือกไข่และความแข็งแรงของเปลือกไข่ (P<0.05) สามารถ ช่วยลดแบคทีเรียก่อโรคและเพิ่มแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลําไส้เล็ก (P<0.05) และมีผลช่วยกระตุ้นการพัฒนา ของวิลไลในลําไส้เล็ก (P<0.05) ผลจากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการเสริมผงถ่านไม้ไผ่และน้ําส้มควันไม้ไผ่ทั้งใน รูปแบบเดี่ยวและการใช้ร่วมกันในอาหารช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้อาหาร การเสริมน้ําส้มควันไม้ไผ่ที่ระดับ 0.6% ช่วยเพิ่มคุณภาพเปลือกไข่ ควบคุมสมดุลของแบคทีเรียในลําไส้ และกระตุ้นการพัฒนาของวิลไลในลําไส้ คําสําคัญ: ผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ แบคทีเรียในลําไส้ลําไส้เล็กส่วนปลาย ไก่ไข่

องค์กร :
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
17 มีนาคม 2565
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลผลของการเสริมผงถ่านไม้ไผ่ น้ําส้มควันไม้ไผ่ และการใช้ร่วมกันต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่ การเปลี่ยนแปลงของวิลไล และปริมาณแบคทีเรียในลําไส้ของไก่ไข่ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Effects of dietary supplementation of bamboo charcoal powder, bamboo vinegar and their combination on performance, egg quality, alterations of intestinal villi and intestinal bacterial populations of laying hens
หมวดหมู่ การเกษตร
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 030301
องค์ประกอบ 030301V02
ปัจจัย 030301F0201
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG0204
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) การค้นหาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหาร สัตว์ การใช้สารที่ได้จากธรรมชาติเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในระบบทางเดินอาหารเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ สําหรับการเพิ่มสมรรถภาพการผลิต และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้อาหารให้ดีขึ้น
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย การเสริมผงถ่านไม้ไผ่และการเสริมน้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหารทั้งในรูปแบบเดี่ยวและการใช้ร่วมกันมีผลช่วย ปรับปรุงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นผลผลิตไข่ให้ดีขึ้น การเสริมน้ําส้มควันไม้ไผ่ในอาหารที่ระดับ 0.6% ให้ผลที่ ชัดเจนในการเพิ่มความหนาและความแข็งแรงของเปลือกไข่ สามารถลดแบคทีเรียก่อโรคและเพิ่มแบคทีเรียที่มี ประโยชน์ในลําไส้รวมทั้งมีผลช่วยกระตุ้นการพัฒนาของวิลไลในลําไส้เล็ก
พื้นที่เป้าหมาย ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย ผศ.ดร. เจษฎา รัตนวุฒิ ดร. อารีรัตน์ ทศดี
อีเมลนักวิจัย jassada.r@psu.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ผลของการใช้แลคโตบาซิลลัสและมันเทศต่อการเจริญเติบโต และองค์ประกอบเลือดของปลานิล 1 recent views
การเลี้ยงปลานิล สามารถใช้อาหารสำเร็จรูปผสมแลคโตบาซิลลัส 1012 CFU ต่ออาหาร 1 กรัม ร่วมกับมันเทศ 7.5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทำให้ปลานิลมีการเจริญเติบโต มีอัตรารอด...
กรมประมง
ผลของปริมาณเริ่มต้นต่อการเจริญเติบโตของของสาหร่ายพวงองุ่น 2 recent views
สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera) เป็นสาหร่ายทะเลสีเขียว (Green Algae) อยู่ในครอบครัว Caulerpaceae ลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กรวมกันเป็นช่อคล้ายพวงองุ่น...
กรมประมง
รายงานผลิตภาพและผลประกอบการอุตสาหกรรม ปี 2564 5 recent views
2564
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.