การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของทักษะที่จำเป็นของครูไทย 2) เพื่อศึกษาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล 3) เพื่อวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นของครูไทย ในยุคดิจิทัล 4) เพื่อนำเสนอหลักสูตรทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล โดยประยุกต์ใช้แนวคิดรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสกิลเบ็ก (Malcolm Preston Skilbeck) ร่วมกับแนวคิดกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล (Research :R1) โดยการศึกษาเอกสาร การรวบรวบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล (Development: D1) ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล (Research: R2) ผลการวิจัย ปรากฎดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของทักษะที่จำเป็นของครูไทย จากการวิเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล จากมุมมองนักวิชาการ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตีความ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ตามประเด็นการเชื่อมโยงเนื้อหา พบว่า ทักษะที่จำเป็นของกระบวนการพัฒนาให้ครูไทยเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และรู้จักการปรับตัวเข้าสู่โลกยุคปัจจุบัน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี รวมถึงมีทักษะชีวิตและอาชีพ ที่ตอบสนองการมีทักษะของบุคคลในศตวรรษที่ 21 สามารถจำแนกทักษะที่จำเป็นของครูไทยออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) การบูรณาการสร้างองค์ความรู้เพื่อการเรียนด้วยดิจิทัล 2) การแสวงหาข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน 3) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 4) การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม 5) การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน 6) มีจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2. ทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล 6 ด้าน จำแนกพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้น จำนวน 28 พฤติกรรม 3. ทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล ด้านการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (ค่า PNI = 0.091) รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (ค่า PNI = 0.089) ด้านการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน (ค่า PNI = 0.087) มีจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (ค่า PNI = 0.083) ด้านการแสวงหาข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน (ค่า PNI = 0.076) และด้านบูรณาการและสร้างองค์ความรู้เพื่อการเรียนด้วยดิจิทัล (ค่า PNI = 0.064) ตามลำดับ จากการพิจารณาความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่า PNI Modified พบว่า ทักษะทั้ง 6 ทักษะมีค่าเกินร้อยละ 5 (PNI > 0.05) ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในระดับยอมรับได้ สำหรับนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะครูไทยในยุคดิจิทัล 4. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัลมี 6 หลักสูตร คือ หลักสูตรที่ 1 กฎหมายสารสนเทศดิจิทัลกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล หลักสูตรที่ 2 หลักสูตรฐานสมรรถนะ หลักสูตรที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลและการพัฒนาผู้เรียน ด้วยกระบวนการ PLC หลักสูตรที่ 4 สื่อเทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล หลักสูตรที่ 5 การวัดประเมินตามสภาพจริง หลักสูตรที่ 6 การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ทุกหลักสูตรมีค่าความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ มีความเหมาะสมระดับมาก (x􀴤 ระหว่าง 3.70-4.08, S.D.ระหว่าง 0.17-0.30) 4.1 ผลการประเมินทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล พบว่า ทักษะที่จำเป็นของครู ก่อนการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (x􀴤 = 4.00, S.D.= 0.80) หลังเข้ารับการอบรมออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x􀴤 = 4.70 , S.D.= 0.46) สำหรับผลการประเมินรายทักษะ พบว่า ทักษะที่มีผลการประเมินในระดับสูงสุดก่อนการอบรม คือ ทักษะที่ 3 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษามีผลการประเมินในระดับมาก (x􀴤 = 4.03, S.D.= 0.80) หลังการเข้าอบรมออนไลน์ พบว่า ทักษะที่มีผลการประเมินสูงที่สุด คือ การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม มีผลการประเมิน ในระดับมากที่สุด (x􀴤 = 4.77, S.D.= 0.43) 4.2 แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรฝึกอบรมให้เกิดประโยชน์ควรนำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพครูควบคู่กับการบริหารงานบุคคล และการใช้ครู หลักสูตรควรออกแบบในลักษณะระบบชุดวิชาแบบโมดูล (Modular System) โดยแต่ละชุดวิชา ประกอบด้วย หลักสูตรโมดูลที่ครูสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการอย่างยืดหยุ่น และได้รับเกียรติบัตรรับรองขอบข่ายการเรียนรู้ที่เรียนสำเร็จเพื่อแสดงถึงการรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจง (Micro credential)และเมื่อสะสมครบทั้งชุดวิชาจึงได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรนั้น ทั้งนี้ ควรพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้มีสถานะเทียบเท่าหลักสูตรประกาศนียบัตรชุดวิชา (Non-Degree) ของสถาบันอุดมศึกษาที่ให้บริการทางการศึกษาเพื่อยกระดับและสร้างทักษะใหม่ให้กับผู้เรียนที่รองรับระบบคลังสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อเพิ่มคุณวุฒิทางการศึกษาให้กับครูได้ต่อไป

Organizations :
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
Metadata last updated :
December 28, 2022
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล โดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Development of Thai Teachers Essential Skills in the Digital Age
Groups การพัฒนาการเรียนรู้
Tags วิชาชีพครู
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V02
ปัจจัย 120101F0205
Sustainable Development Goals SDGOther
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) 1. ได้หลักสูตรทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล ที่จะนำไปใช้พัฒนาครูให้มีทักษะ ในลักษณะ Up-Skill และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล 2. ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัลเพื่อเสนอแก่หน่วยงานต้นสังกัดของครู หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ครูเพื่อสนับสนุนส่งเสริมความเป็นครูมืออาชีพให้กับครูได้ต่อไป
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. ได้หลักสูตรทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล ที่จะนำไปใช้พัฒนาครูให้มีทักษะ ในลักษณะ Up-Skill และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล 2. ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัลเพื่อเสนอแก่หน่วยงานต้นสังกัดของครู หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ครูเพื่อสนับสนุนส่งเสริมความเป็นครูมืออาชีพให้กับครูได้ต่อไป
พื้นที่เป้าหมาย ตำบลดุสิต อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
อีเมลนักวิจัย ksp@saraban.mail.go.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต(Future Skill) เพื่อเตรียม การพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(Disruption) ของ โลกศตวรรษที่ 21 116 recent views
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งในมิติทางสังคมและทางเทคโนโลยี...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 7 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย 20 recent views
การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ 53 recent views
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.