Text Size Languages
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย

การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย สถานภาพในการดำเนินงานการด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มภาพรวมในปัจจุบันของประเทศไทย สถานศึกษาหลายแห่งมีนโยบายการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์มาก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยมีแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้โดยไม่เสียโอกาส และเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสถานศึกษาจำนวนมากใช้ Google Classroom เป็นช่องทางหลักสำหรับจัดการเรียนรู้ แต่มีสถานศึกษาบางแห่งพัฒนาระบบการเรียนการสอนขึ้นเอง วิธีการสอนออนไลน์ เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ สื่อการสอนหลากหลายมีประสิทธิภาพ และเนื้อหาสั้นกระชับ การวัดและประเมินผล เช่น การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน แบบฝึกหัดออนไลน์ ติดตามการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน โดยลดเกณฑ์และจำนวนผลงานให้น้อยลงกว่าการเรียนในชั้นเรียน ทั้งนี้การสนับสนุนสื่อและอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ความช่วยเหลือจากรัฐบาลยังไม่เพียงพอ สถานศึกษาแต่ละแห่งจึงพยายามสนับสนุนครูและนักเรียน นอกจากนี้สถานศึกษาจัดอบรมครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ ในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน และมีกลุ่ม PLC เพื่อปรึกษาการใช้ไอซีทีในการสอนออนไลน์ และสุดท้ายปัญหาหรือข้อจำกัดในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสัญญาณที่ไม่เสถียร ผู้เรียนขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ และเมื่อโรงเรียนปิดทำให้นักเรียนบางคนมีภาระที่ต้องปฏิบัติที่บ้านจึงไม่สามารถเข้าเรียนได้ รวมถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสม และผู้เรียนขาดทักษะการเรียนออนไลน์ ครูไม่สามารถดูแลผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งไม่ตอบโจทย์การเรียนภาคปฏิบัติ ทัศนคติของครูในการใช้เทคโนโลยีในการสอนและการสอนออนไลน์ ครูขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยีการศึกษา และครูขาดสมรรถนะและประสบการณ์จัดการเรียนการสอนออนไลน์ นโยบายและระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มของประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) 3 ประเทศ ดังนี้ (1) ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐควรให้โรงเรียนมีอิสระในการออกแบบการเรียนการสอนของตนเอง และมีนโยบายช่วยเหลือการเรียนการสอนออนไลน์ ครูใช้เทคโนโลยีในการสอนควบคู่กับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีแก่ผู้เรียน ครูควรสื่อสารกับผู้เรียนอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ และกำหนดช่วงเวลาให้ผู้ปกครองเข้าร่วมการเรียนจากที่บ้าน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นสิ่งที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ทั่วไป มีเงินทุนสนับสนุน มีศูนย์ให้คำแนะนำ จัดสรรอุปกรณ์การสอนและช่วยเหลือครูเรื่องการใช้เทคโนโลยี โรงเรียนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มครูผู้สอน โรงเรียนกำหนดเวลาให้ครูปรึกษาการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี จัดสรรนักเทคโนโลยีการศึกษา และจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสำหรับการสอนออนไลน์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง (2) ประเทศจีน ใช้โมเดล Dual teacher คือ การนำติวเตอร์มาสอนผ่านวีดีโอหรือ Live streaming และนำเนื้อหานั้นมาใช้ในโรงเรียน เนื่องจากประเทศจีนมีนโยบายปิดกั้นการเข้าถึงบริการและสื่อสังคมออนไลน์ต่างประเทศ โรงเรียนจัดหาอุปกรณ์เชื่อมต่อ VPN ไว้ที่เราเตอร์ของโรงเรียน และจัดสรรบุคลากรช่วยเหลือครูจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และใช้ WeChat Work ในการติดต่อสื่อสารและจัดอบรมครู (3) ประเทศสิงคโปร์ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงศึกษาธิการและ GovTech พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลแห่งชาติ Student Learning Space (SLS) ซึ่งทุกโรงเรียนสามารถเข้าถึงได้ และเอื้อให้นักเรียนเรียนรู้ตามระดับความสามารถของตนเอง นอกจากนี้นักเรียนทุกคนต้องเข้าถึงคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และไวไฟ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนออนไลน์ และการจัดอบรมครูต้องเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการและครูสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านแพลตฟอร์ม SLS ได้ กรณีตัวอย่างสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ของประเทศไทย สรุปผลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ 8 สถานศึกษา ได้แก่ 1. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา 2. วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด 3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี 4. สำนักงาน กศน.จังหวัดพิษณุโลก 5. สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ 6. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 7. โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา และ 8. โรงเรียนนครสวรรค์ ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านนโยบาย สถานศึกษาบางแห่งมีนโยบายการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา สนง. กศน.พิษณุโลก และสนง. กศน.ศรีสะเกษ ทั้งนี้ผู้อำนวยการสถานศึกษาทั้ง 8 แห่งวิสัยทัศน์ คือ ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ได้โดยไม่เสียโอกาสและไม่เสียเวลา และต้องสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 2) ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สถานศึกษาส่วนมากใช้ Google Classroom และ Facebook เป็นช่องทางหลักในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ นอกจากนี้สถานศึกษา 2 แห่งพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ขึ้นเอง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทราพัฒนาระบบ LMS ด้วย Moodle และสนง. กศน.จังหวัดศรีสะเกษพัฒนาระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ (NFE-LMS) 3) ปัจจัยด้านสื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาทั้ง 8 แห่งติดตั้งอินเทอร์เน็ตไร้สายภายในสถานศึกษา Google Apps for Education มีสตูดิโอผลิตสื่อวิดีโอการสอนสำหรับครู และบางสถานศึกษามีอุปกรณ์ให้นักเรียนที่ขาดแคลนยืมเพื่อใช้เรียนออนไลน์ 4) ปัจจัยด้านผู้นำโรงเรียน และการส่งเสริมและสนับสนุนครู สถานศึกษาจัดอบรมครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และบางสถานศึกษาตั้งกลุ่ม PLC เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ และ 5) ปัญหาหรือข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ผู้เรียนบางคนมีอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอสำหรับเรียนออนไลน์ และขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับเรียนออนไลน์ นอกจากนี้การเรียนออนไลน์สำหรับอาชีวศึกษาไม่ตอบโจทย์การเรียนภาคปฏิบัติ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มของประเทศไทย ปัจจัยด้านนโยบายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากนโยบายที่ดีจะเป็นแนวทางสำหรับให้สถานศึกษานำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ปัจจัยลำดับที่สอง คือ ปัจจัยด้านสื่อและอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนการสอนออนไลน์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหากนักเรียนไม่มีอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ต่อมาปัจจัยด้านผู้นำโรงเรียนและการส่งเสริมและสนับสนุนครู เมื่อมีอุปกรณ์พร้อมแล้ว การพัฒนาครูควรดำเนินการลำดับต่อมา เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องพัฒนาครบทุกด้านทั้งความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เมื่อผู้สอนมีอุปกรณ์พร้อมและมีทักษะความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แล้วจึงจะสามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีคุณภาพได้ ประสบการณ์ความท้าทายของการดำเนินงานด้านการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับดิจิทัลแพลตฟอร์มของประเทศไทยและประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) 3 ประเทศ 1) นโยบายของรัฐที่ไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของโรงเรียน ประเทศไทย โรงเรียนที่มีความพร้อมควรได้รับอิสระในการจัดการเรียนการสอน รัฐควรมีนโยบายหลายระดับ และเมื่อรัฐออกนโยบายใหม่ควรให้งบประมาณเพิ่มเติม ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำโรงเรียนให้อิสระในการออกแบบการเรียนการสอนแก่ครู ประเทศจีน ผู้นำโรงเรียนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับบุคลากรและนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน เช่น อุปกรณ์เชื่อมต่อ VPN เป็นต้น ประเทศสิงคโปร์ นโยบายของรัฐเกิดจากการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง 2) บุคลากรขาดความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียน การสอนออนไลน์ ประเทศไทย การจัดการกับอุปสรรคแบบ Localized โดยโรงเรียนจัดการอบรมภายในโรงเรียนจากกลุ่มครูรุ่นใหม่เป็นผู้นำความรู้ถ่ายทอดให้บุคลากรท่านอื่น ประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดการกับอุปสรรคแบบ Professionalized โรงเรียนจัดสรรนักเทคโนโลยีการศึกษา จัดอบรมการใช้เทคโนโลยี สนับสนุนการเรียนรู้ในหมู่ผู้สอน และจัดช่วงเวลาให้ครูขอคำปรึกษา ประเทศจีน การจัดการกับอุปสรรคแบบ Privatized โดยโรงเรียนใช้บริการ Dual-teacher ทั้งนี้บริษัทจะช่วยครูในโรงเรียนเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียนและการในคำปรึกษาด้านวิชาการแก่นักเรียน ประเทศสิงคโปร์ การจัดการกับอุปสรรคแบบ Centralized คือ National Institute of Education (NIE) เป็นองค์กรฝึกอบรมครูทุกคนของสิงคโปร์ และ NIE จะจัดอบรมครูให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐ 3) ขาดแคลนทุนทรัพย์ สื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ประเทศไทย การมีเครือข่ายจากสมาคมผู้ปกครองและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนทุนทรัพย์และอุปกรณ์ในการเรียนการสอน สถานศึกษามีไวไฟครอบคลุม การให้ซิมอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียนที่ขาดแคลน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเงินทุนสนับสนุนให้ครูแต่ละท่านเสนอโครงการหรือออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์ของตนเอง และมีศูนย์สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการศึกษาและให้คำแนะนำครูโดยตรง ประเทศจีน รัฐบาลจีนจัดสรรห้องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน ประเทศสิงคโปร์ ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนทุนทรัพย์ สื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้มาก่อนสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 4) คลังแผนการเรียน และสื่อการสอนออนไลน์สำหรับครู ประเทศไทย โรงเรียนร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันครูตัวอย่างให้ผลิตเนื้อหาออนไลน์ และครูเลือกใช้สื่อการเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ insKRU เป็นต้น ประเทศสหรัฐอเมริกา เลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีบริการอยู่แล้ว เช่น เว็บไซต์ Common Sense Education, Code.org เป็นต้น ประเทศจีน บริการ Dual-teacher มีคลังวีดีโอและสื่อเพื่อการศึกษาให้ครูนำไปประกอบการสอนได้ ประเทศสิงคโปร์ ใช้แพลตฟอร์ม SLS ให้ครูแลกเปลี่ยนไอเดียการสอนกับครูท่านอื่น ๆ ทั่วประเทศ 5) การสื่อสารกับผู้ปกครอง เมื่อนักเรียนต้องเรียนออนไลน์ ครูหรือโรงเรียนติดต่อสื่อสารกับนักเรียนผู้ปกครองและแจ้งข่าวสารผ่านแอปพลิเคชันที่แตกต่างกัน ดังนี้ ประเทศไทย ใช้ Line, Facebook Group ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ปกครองมีบัญชี Google Classroom ของนักเรียน และใช้แอปฯ Seesaw, Remind ประเทศสิงคโปร์ใช้ Parents Gateway และประเทศจีนใช้ WeChat Work
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1. นโยบาย 2. การพัฒนาครู 3. การให้ความช่วยเหลือ และ 4. การจัดการเรียนการสอน ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ปัจจัยด้านนโยบายเป็นกรอบที่กำหนดปัจจัยทั้ง 3 ด้านให้ดำเนินการได้อย่างชัดเจน เมื่อกำหนดนโยบายแล้วการพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ และปัจจัยที่ต้องส่งเสริมคู่ขนานกับการพัฒนาครู คือ การให้ความช่วยเหลือทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย และสุดท้ายเมื่อกำหนดนโยบายให้มีความชัดเจน ครูมีความรู้และทักษะจากการพัฒนาครู และครูและผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือแล้ว การจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนจะมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพได้ต้องเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยข้างต้น แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ระยะสั้น การส่งเสริมและพัฒนาครูเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ โดยกำหนดให้ภายใน 1 เดือนครูต้องได้รับการอบรมอย่างน้อย 2 – 3 ครั้ง เพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอทั้งความรู้และทักษะ โดยการจัดอบรมเน้นอบรมเชิงปฏิบัติการในลักษณะ Upskill และ Reskill ให้อิสระครูในการเลือกหัวข้ออบรมตามความต้องการ ซึ่งคอร์มอบรมนั้นต้องมีอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นคอร์สออนไลน์เพื่อสามารถเข้าได้อย่างง่ายและทั่วถึง และมีการติดตามผลหลังการฝึกอบรมทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น จัดสัมมนาหลังจากอบรมแล้วหนึ่งเดือน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆ ที่ครูค้นพบหลังจากนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยอาจจัดเป็นสัมมนาออนไลน์เพื่อให้ครูทุกพื้นที่สามารถมีส่วนร่วมได้โดยสะดวก นอกจากนี้การมีกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครู เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ควรมี ด้านแนวทางการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนอาจกำหนดว่าภายใน 1 ภาคการศึกษาหรือ 1 ปีการศึกษาครูต้องจัดการเรียนการสอนอย่างน้อย 1 วิชาที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) หรือการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) เพื่อให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับตัวและเคยชินกับการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ระยะยาว เริ่มจากการวางนโยบายที่มีความชัดเจนและต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาออนไลน์ (Online education’s policy) และเสนอเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาออนไลน์แห่งชาติ นอกจากนี้ต้องพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์แกนกลางที่สถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาได้ ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางนั้นควรมีการปรับปรุงหลักสูตรอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี เพื่อให้หลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทันสมัย ด้านปัจจัยการให้ความช่วยเหลือภาครัฐขอการสนับสนุนจากภาคเอกชนเรื่องสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือซิมการ์ด โดยวางแผนระยะยาวกำหนดออกมาเป็นแนวทางที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาครัฐต้องวางแผนพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับจัดการเรียนการสอนออนไลน์จากส่วนกลางขึ้น โดยสามารถใช้ได้ในทุกระบบการศึกษา ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และการศึกษานอกระบบโรงเรียน และต้องบำรุงรักษาแพลตฟอร์มอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและถาวร กำหนดให้มีการปรับปรุงและพัฒนาแพลตฟอร์มเพิ่มเติมอย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี เพื่อให้แพลตฟอร์มมีความทันสมัย การให้ความช่วยเหลือครูผู้สอนควรจัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือครูในด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น บุคลากรฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิคและนักออกแบบการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น โดยต้องตำแหน่งดังกล่าวต้องมีประจำสถานศึกษา กล่าวคือ เมื่อมีคนลาออกต้องจัดบุคลากรทดแทนทันที เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Organizations :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Metadata last updated :
December 30, 2021
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title The Promotion of Learning connecting National Digital Learning Platform for Thailan
Groups การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V03
ปัจจัย 120101F0302
Sustainable Development Goals SDG0407
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) เป็นต้นน้ำซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ Digital Learning Platform ซึ่งจะช่วยให้คนไทยทุกระดับการศึกษาได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกที่ ทุกเวลา
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย งานวิจัยมีการเสนอแนวทางการดำเนินการส่งเสริมฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานระดับนโยบายและระดับปฏิบัติได้มีการนำแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ Digital Learning Platform เพื่อไปพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้อง และขยายผลไปสู่การปฏิบัติ
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม หัวหน้านักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.เกริก ภิรมย์โสภา นักวิจัย ดร.สวรส ธนาพรสังสุทธิ์ นักวิจัย นางสาวหทัยภัทร โอสุวรรณ ผู้ช่วยนักวิจัย
อีเมลนักวิจัย noawanit_s@chula.ac.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ 56 recent views
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
คู่มือคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญา 38 recent views
คู่มือคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญาเป็นผลจากการศึกษารูปแบบกลไกพหุปัญญาการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญา...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาค 20 recent views
แนวคิดเรื่องการฟื้นตัวทางการศึกษาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพและเสมอภาคเป็นแนวทางที่หลายประเทศให้ความสนใจ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายงานผลการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาและส่งเสริม พหุปัญญาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน 18 recent views
ผลการพัฒนารูปแบบและกลไกการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ได้ผลสรุปคือ คือ รูปแบบ A2D ที่มีกลไกขับเคลื่อน 8 กลไก และมีเงื่อนไขหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ 2...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.