การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของทักษะที่จำเป็นของครูไทย 2) เพื่อศึกษาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล 3) เพื่อวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นของครูไทย ในยุคดิจิทัล 4) เพื่อนำเสนอหลักสูตรทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล โดยประยุกต์ใช้แนวคิดรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสกิลเบ็ก (Malcolm Preston Skilbeck) ร่วมกับแนวคิดกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล (Research :R1) โดยการศึกษาเอกสาร การรวบรวบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล (Development: D1) ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล (Research: R2) ผลการวิจัย ปรากฎดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของทักษะที่จำเป็นของครูไทย จากการวิเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล จากมุมมองนักวิชาการ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตีความ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ตามประเด็นการเชื่อมโยงเนื้อหา พบว่า ทักษะที่จำเป็นของกระบวนการพัฒนาให้ครูไทยเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และรู้จักการปรับตัวเข้าสู่โลกยุคปัจจุบัน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี รวมถึงมีทักษะชีวิตและอาชีพ ที่ตอบสนองการมีทักษะของบุคคลในศตวรรษที่ 21 สามารถจำแนกทักษะที่จำเป็นของครูไทยออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) การบูรณาการสร้างองค์ความรู้เพื่อการเรียนด้วยดิจิทัล 2) การแสวงหาข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน 3) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 4) การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม 5) การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน 6) มีจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2. ทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล 6 ด้าน จำแนกพฤติกรรมบ่งชี้ทั้งสิ้น จำนวน 28 พฤติกรรม 3. ทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล ด้านการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (ค่า PNI = 0.091) รองลงมา คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (ค่า PNI = 0.089) ด้านการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน (ค่า PNI = 0.087) มีจริยธรรมในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (ค่า PNI = 0.083) ด้านการแสวงหาข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน (ค่า PNI = 0.076) และด้านบูรณาการและสร้างองค์ความรู้เพื่อการเรียนด้วยดิจิทัล (ค่า PNI = 0.064) ตามลำดับ จากการพิจารณาความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่า PNI Modified พบว่า ทักษะทั้ง 6 ทักษะมีค่าเกินร้อยละ 5 (PNI > 0.05) ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในระดับยอมรับได้ สำหรับนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะครูไทยในยุคดิจิทัล 4. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัลมี 6 หลักสูตร คือ หลักสูตรที่ 1 กฎหมายสารสนเทศดิจิทัลกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล หลักสูตรที่ 2 หลักสูตรฐานสมรรถนะ หลักสูตรที่ 3 การจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลและการพัฒนาผู้เรียน ด้วยกระบวนการ PLC หลักสูตรที่ 4 สื่อเทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล หลักสูตรที่ 5 การวัดประเมินตามสภาพจริง หลักสูตรที่ 6 การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ทุกหลักสูตรมีค่าความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ มีความเหมาะสมระดับมาก (x􀴤 ระหว่าง 3.70-4.08, S.D.ระหว่าง 0.17-0.30) 4.1 ผลการประเมินทักษะที่จำเป็นของครูไทยในยุคดิจิทัล พบว่า ทักษะที่จำเป็นของครู ก่อนการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (x􀴤 = 4.00, S.D.= 0.80) หลังเข้ารับการอบรมออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x􀴤 = 4.70 , S.D.= 0.46) สำหรับผลการประเมินรายทักษะ พบว่า ทักษะที่มีผลการประเมินในระดับสูงสุดก่อนการอบรม คือ ทักษะที่ 3 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษามีผลการประเมินในระดับมาก (x􀴤 = 4.03, S.D.= 0.80) หลังการเข้าอบรมออนไลน์ พบว่า ทักษะที่มีผลการประเมินสูงที่สุด คือ การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม มีผลการประเมิน ในระดับมากที่สุด (x􀴤 = 4.77, S.D.= 0.43) 4.2 แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรฝึกอบรมให้เกิดประโยชน์ควรนำไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพครูควบคู่กับการบริหารงานบุคคล และการใช้ครู หลักสูตรควรออกแบบในลักษณะระบบชุดวิชาแบบโมดูล (Modular System) โดยแต่ละชุดวิชา ประกอบด้วย หลักสูตรโมดูลที่ครูสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการอย่างยืดหยุ่น และได้รับเกียรติบัตรรับรองขอบข่ายการเรียนรู้ที่เรียนสำเร็จเพื่อแสดงถึงการรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจง (Micro credential)และเมื่อสะสมครบทั้งชุดวิชาจึงได้รับวุฒิบัตรหลักสูตรนั้น ทั้งนี้ ควรพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้มีสถานะเทียบเท่าหลักสูตรประกาศนียบัตรชุดวิชา (Non-Degree) ของสถาบันอุดมศึกษาที่ให้บริการทางการศึกษาเพื่อยกระดับและสร้างทักษะใหม่ให้กับผู้เรียนที่รองรับระบบคลังสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อเพิ่มคุณวุฒิทางการศึกษาให้กับครูได้ต่อไป

Organizations :
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
Metadata last updated :
December 28, 2022
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.