ขนาดตัวอักษร ภาษา
การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับการผลิตพันธุ์พืชไร่เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลิตภาพของภาคการเกษตร
การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับการผลิตพันธุ์พืชไร่เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลิตภาพของภาคการเกษตร

การใช้พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์เป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรได้ อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมและทันสมัยเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลตอบแทน อีกทั้งช่วยลดการพึ่งพาแรงงานคน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่ออาชีพเกษตร ซึ่งภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในการพัฒนาพันธุ์พืชไร่เศรษฐกิจให้มีผลผลิตสูง ปรับตัวได้ดีต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง พืชไร่เศรษฐกิจหลายชนิดที่ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ในนามของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก จากประสบการณ์ในการดำเนินงานดังกล่าว พบว่าเกษตรกรรุ่นใหม่มีความสนใจและมีศักยภาพในการที่จะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตพืช แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะที่เป็นรูปธรรมไปสู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย เนื่องจากยังขาดแปลงปลูกพืชไร่ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะในพื้นที่ขนาดใหญ่ ในขณะที่เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะส่วนใหญ่ได้รับการวิจัยและพัฒนาในสภาพโรงเรือน ดังนั้นภาควิชาฯจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการตั้งแต่การทดสอบและคัดเลือกพืชไร่พันธุ์ดีเพื่อเป็นพันธุ์ส่งเสริม หรือสายพันธุ์ดีเพื่อพัฒนาเป็นพันธุ์พืชใหม่ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง งา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย และหญ้าอาหารสัตว์ สำหรับใช้เป็นต้นแบบในการส่งเสริมปลูกร่วมกับเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยฟาร์ม อีกทั้งยังผลิตเมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์คุณภาพดีของพืชไร่เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่หรือพันธุ์ส่งเสริม สำหรับแจกจ่ายให้เกษตรกรปลูกพร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจโดยใช้นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังมีแผนดำเนินการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนการเพาะปลูกและการจัดการแปลง อาทิ แอพพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มทางการเกษตร ที่พัฒนาโดยภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ/หรือที่พัฒนาโดยหน่วยงานอื่นภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่ใช้นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ อันจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลทางการเกษตรและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการผลิตทางการเกษตรสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การจัดอบรมระยะสั้นเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการทำฟาร์มพืชไร่อัจฉริยะให้แก่บัณฑิตจบใหม่หรือผู้สนใจทั่วไป จะเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนากำลังคนรุ่นใหม่ในภาคการเกษตรที่มีทักษะสูงและเป็นบุคลากรที่จะช่วยขยายผลจากการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีออกไปสู่วงกว้าง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมเกษตรกรรมยุคเทคโนโลยีดิจิทัลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

องค์กร :
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
3 ธันวาคม 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะสำหรับการผลิตพันธุ์พืชไร่เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลิตภาพของภาคการเกษตร โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) -
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก P1301 - ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
เป้าหมายระดับหมุดหมาย P130101 - มูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปสูงขึ้น
หมวดหมู่ การเกษตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ๑. ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่และพันธุ์ส่งเสริมที่มีคุณภาพดีและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ ๒. อบรมระยะสั้นด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจโดยใช้นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะแก่ เกษตรกร หรือบัณฑิตจบใหม่หรือผู้สนใจทั่วไป
รายละเอียดการดำเนินงาน ๑ การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลงสำหรับพันธุ์พืชใหม่หรือพันธุ์ส่งเสริม ๒ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนในการจัดการแปลงปลูกพืชไร่เศรษฐกิจ ๓ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชในโรงเรือนด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ
ผลการดำเนินงาน ๑๐.๑.๑ การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลงสำหรับพันธุ์พืชใหม่หรือพันธุ์ส่งเสริม ทางภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการเตรียมแปลงปลูกถั่วลิสง งา และดอกคำฝอย รวมพื้นที่ ๔ ไร่ ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ซึ่งมีกำหนดดำเนินการปลูกในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ สำหรับใช้เป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงและงาสำหรับเกษตรกรอย่างน้อย ๑๐ ไร่ ซึ่งจะใช้ร่วมกับระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งได้รับครุภัณฑ์คือ ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อม ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4 ชุด สำหรับเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงสำหรับแจกให้เกษตรกรปลูกนั้น มีแผนจะดำเนินการในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ ๑๐.๑.๒ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนในการจัดการแปลงปลูกพืชไร่เศรษฐกิจ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำสัญญาสำหรับครุภัณฑ์โดรนแล้วทางภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีแผนจะดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้โดรนในการจัดการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงปาล์มน้ำมัน โดยจะใช้พื้นที่สาธิตที่โครงการศูนย์เรียนรู้วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ปลูกใหม่ ภายใต้ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรแปลงปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทุ่งรังสิต ดังนั้นเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ภายในปีงบประมาณทางภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินการจัดอบรม “การใช้โดรนเพื่อการเกษตร” ขึ้นในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ พื้นที่วิจัย โครงการศูนย์เรียนรู้วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ปลูกใหม่ หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการอบรมจำแนกเป็น เกษตรกรจำนวน ๔ ราย อาจารย์จำนวน ๓ ราย บุคลากรจำนวน ๕ ราย นิสิตคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน ๖๖ ราย รวม ๗๘ ราย ๑๐.๑.๓ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชในโรงเรือนด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับครุภัณฑ์เครื่องเปิด-ปิดปากใบแล้วเสร็จในวันที่ 23 สิงหาคม 2567 ซึ่ง ทางภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนจะดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชในโรงเรือนด้วยการประเมินสภาพเครียดจากการขาดน้ำของพืชให้แก่ผู้สนใจ และบัณฑิตจบใหม่ต่อไปในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ต่อไป
บทเรียนจากการดำเนินงาน เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินงานจัดซื้อครุภัณฑ์ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ทำให้ราคาและรุ่นของครุภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการเมื่อยื่นโครงการมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้การดำเนินงาน e-bidding ไม่ผ่าน จึงต้องดำเนินการร่าง TOR ใหม่อีกครั้ง
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
ผู้จัดทำข้อมูล สินีนาฎ แสงงาม
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล psdsns@ku.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรมกาแฟน่านสู่ตลาดสากล 6 recent views
การเสริมสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจกระบวนการแปรรูปและผลิตกาแฟ เพื่อตอบสนองความต้องการของกระแสตลาด หากได้รับการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา...
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและยกระดับการรวมกลุ่มสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น 6 recent views
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและยกระดับการรวมกลุ่มสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม ณ ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เป็นการขับเคลื่อนหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่...
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รายงานการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน 5 recent views
การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากร พื้นถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาเอกสาร สัมภาษณเชิงลึก...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) 7 recent views
อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีลักษณะทางกายภาพเป็นพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกลงมาสู่ด้านตะวันออก...
กรมการปกครอง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.