กระบวนการสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การยกระดับชุมชนอย่างบูรณาการในยุค 4.0

อภิปรายผล 1. คุณค่าผู้สูงอายุด้านความสามารถ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.5) โดยส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพ และเลี้ยงดู ตนเองได้ (ร้อยละ 31.3) ได้สะท้อนถึงความสามารถในการทำงานของตนว่ายังมีบทบาทสำคัญในการหารายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว 2. คุณค่าของผู้สูงอายุทางด้านความสำคัญ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าใน ตนเองในระดับสูง (ร้อยละ 56.2) โดยส่วนใหญ่รับรู้ความสำคัญที่ตนมีต่อครอบครัว (ร้อยละ 34.8) สะท้อนถึงครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่ต้องช่วยส่งเสริมหรือดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ ยังรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้เงินดำรงชีพ การดูแลเอาใจใส่ การได้รับการ ยกย่อง การถูกยอมรับ และเคารพนับถือ และความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าสำหรับลูกหลาน ดังนั้นการ ได้รับการดูแลเอาใจจากลูกหลานและบุคคลในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่สะท้อนคุณค่าของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นว่าหากได้รับสวัสดิการของรัฐ ทั้งด้านการดำรงชีพ และด้านสุขภาพ จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของ รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และการได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ยังเป็นการแบ่งเบาภาระใน ครอบครัวด้วย 3. คุณค่าของผู้สูงอายุด้านความมีอิสระ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับสูง (ร้อยละ 71.0) โดยผู้สูงอายุต้องการใช้ความรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์ การได้มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการได้ออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการทำงาน 4. คุณค่าของผู้สูงอายุด้านความดีผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองใน ระดับสูง (ร้อยละ 73.0) โดยผู้สูงอายุสะท้อนการทำความดี ทั้งต่อลูกหลาน ชุมชน หรือสังคม โดยให้การช่วยเหลือหรือเป็นที่พึ่งของผู้อื่น หรือการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่ตนเองยึดถือปฏิบัติ โดยตลอด เช่น ปฏิบัติตามคำสอน การเข้าวัดทำบุญ การทะนุบำรุงศาสนาอย่างสม่ำเสมอ การฟังธรรม การวางตัวเหมาะสม และเป็นแบบอย่างที่ดี รวมไปถึงการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวม ก็มีผลต่อการรับรู้คุณค่าความภาคภูมิใจต่อตนเองของผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงมีผู้สูงอายุ บางส่วนเข้าร่วมการทำกิจกรรมอาสาสมัคร สะท้อนถึงการเพิ่มคุณค่าและนำศักยภาพที่มีในตนเอง ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมด้วย ข้อเสนอแนะ (ข้อเสนอเชิงนโยบาย) 1) ประเด็นคุณค่าผู้สูงอายุด้านความสามารถ พบว่าควรจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านอาชีพ ต่อยอดทักษะอาชีพ รวมถึงสนับสนุนการทำงานที่มีลักษณะยืดหยุ่นใน เรื่องของเวลา และสถานที่ในการทำงาน 2) ภาครัฐควรออกแบบรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อใช้ในการเข้าถึงสวัสดิการของผู้สูงอายุ หรือใช้สื่อสารกันในครอบครัว 3) ภาครัฐควรส่งเสริม ความสัมพันธ์ในครอบครัว ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายครอบครัว เป็นต้น 4) ผลักดันการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้และ พัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง 5) สนับสนุนผู้สูงอายุให้มีอำนาจ หรืออิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ และภาครัฐควร ประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ว่าวัยผู้สูงอายุ ยังเป็นวัยที่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ 6) ภาครัฐควรสนับสนุนให้ ผู้สูงอายุได้ดำเนินกิจกรรมที่สร้างการเป็นผู้สูงอายุต้นแบบที่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเองยังมีความสำคัญ มีคุณค่าต่อ ครอบครัว ชุมชนหรือสังคม

องค์กร :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
5 เมษายน 2566
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.