กระบวนการสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การยกระดับชุมชนอย่างบูรณาการในยุค 4.0

อภิปรายผล 1. คุณค่าผู้สูงอายุด้านความสามารถ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.5) โดยส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพ และเลี้ยงดู ตนเองได้ (ร้อยละ 31.3) ได้สะท้อนถึงความสามารถในการทำงานของตนว่ายังมีบทบาทสำคัญในการหารายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว 2. คุณค่าของผู้สูงอายุทางด้านความสำคัญ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าใน ตนเองในระดับสูง (ร้อยละ 56.2) โดยส่วนใหญ่รับรู้ความสำคัญที่ตนมีต่อครอบครัว (ร้อยละ 34.8) สะท้อนถึงครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่ต้องช่วยส่งเสริมหรือดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ ยังรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้เงินดำรงชีพ การดูแลเอาใจใส่ การได้รับการ ยกย่อง การถูกยอมรับ และเคารพนับถือ และความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าสำหรับลูกหลาน ดังนั้นการ ได้รับการดูแลเอาใจจากลูกหลานและบุคคลในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่สะท้อนคุณค่าของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นว่าหากได้รับสวัสดิการของรัฐ ทั้งด้านการดำรงชีพ และด้านสุขภาพ จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของ รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และการได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ยังเป็นการแบ่งเบาภาระใน ครอบครัวด้วย 3. คุณค่าของผู้สูงอายุด้านความมีอิสระ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับสูง (ร้อยละ 71.0) โดยผู้สูงอายุต้องการใช้ความรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์ การได้มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการได้ออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการทำงาน 4. คุณค่าของผู้สูงอายุด้านความดีผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองใน ระดับสูง (ร้อยละ 73.0) โดยผู้สูงอายุสะท้อนการทำความดี ทั้งต่อลูกหลาน ชุมชน หรือสังคม โดยให้การช่วยเหลือหรือเป็นที่พึ่งของผู้อื่น หรือการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่ตนเองยึดถือปฏิบัติ โดยตลอด เช่น ปฏิบัติตามคำสอน การเข้าวัดทำบุญ การทะนุบำรุงศาสนาอย่างสม่ำเสมอ การฟังธรรม การวางตัวเหมาะสม และเป็นแบบอย่างที่ดี รวมไปถึงการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวม ก็มีผลต่อการรับรู้คุณค่าความภาคภูมิใจต่อตนเองของผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงมีผู้สูงอายุ บางส่วนเข้าร่วมการทำกิจกรรมอาสาสมัคร สะท้อนถึงการเพิ่มคุณค่าและนำศักยภาพที่มีในตนเอง ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมด้วย ข้อเสนอแนะ (ข้อเสนอเชิงนโยบาย) 1) ประเด็นคุณค่าผู้สูงอายุด้านความสามารถ พบว่าควรจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านอาชีพ ต่อยอดทักษะอาชีพ รวมถึงสนับสนุนการทำงานที่มีลักษณะยืดหยุ่นใน เรื่องของเวลา และสถานที่ในการทำงาน 2) ภาครัฐควรออกแบบรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อใช้ในการเข้าถึงสวัสดิการของผู้สูงอายุ หรือใช้สื่อสารกันในครอบครัว 3) ภาครัฐควรส่งเสริม ความสัมพันธ์ในครอบครัว ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายครอบครัว เป็นต้น 4) ผลักดันการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้และ พัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง 5) สนับสนุนผู้สูงอายุให้มีอำนาจ หรืออิสระในการตัดสินใจต่าง ๆ และภาครัฐควร ประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ว่าวัยผู้สูงอายุ ยังเป็นวัยที่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ 6) ภาครัฐควรสนับสนุนให้ ผู้สูงอายุได้ดำเนินกิจกรรมที่สร้างการเป็นผู้สูงอายุต้นแบบที่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเองยังมีความสำคัญ มีคุณค่าต่อ ครอบครัว ชุมชนหรือสังคม

องค์กร :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
5 เมษายน 2566
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลกระบวนการสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การยกระดับชุมชนอย่างบูรณาการในยุค 4.0 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Processes of senior citizens' selves value adding in the central part of the north-east of Thailand for sustainable community improvement
หมวดหมู่ ความมั่นคง
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 110501
องค์ประกอบ 110501V05
ปัจจัย 110501F0501
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG1002
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) -
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย -
พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดขอนแก่น
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5
อีเมลนักวิจัย tpso5.khonkaen@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด สสว.5 1 recent views
การจัดทำรายงานการคาดการณ์สถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ ๕ (สสว.๕) จำนวน ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด (สสว.5) ปี 2565 1 recent views
การจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ ๕ จังหวัดขอนแก่น (สสว.๕) จำนวน ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 11 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 8 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.