แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย

ปัญหาการฟอกเงินในประเทศไทยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากสถิติคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2562 มีจำนวนรวมกันมากถึง 1,359 คำสั่ง หากวิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวโน้มและสถานการณ์การฟอกเงิน พบว่า ปี พ.ศ. 2555 มีจำนวนคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพียง 44 คำสั่ง มีมูลค่าทรัพย์สินจากการกระทำผิด 156 ล้านบาท แต่จำนวนคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2562 ร้อยละ 25 ต่อปี กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2561 มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินเพิ่มจากปี พ.ศ. 2555 เกือบ 5 เท่า มีจำนวนคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินมากถึง 204 คำสั่ง มีมูลค่าทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดได้เป็นจำนวน 13,162 ล้านบาท ขณะที่ในปี พ.ศ. 2562 มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินจำนวน 210 คำสั่ง เป็นมูลค่าทรัพย์สินจากการกระทำความผิด 2,019 ล้านบาท แนวโน้มปัญหาการฟอกเงินดังกล่าวเกิดจากความท้าทาย 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี ส่งผลให้จำนวนอาชญากรรม มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเหตุจูงใจสำคัญที่ทำให้อาชญากรต้องหาวิธีการอำพรางรายได้ที่มาจากการกระทำผิดเหล่านี้ให้กลับเข้าสู่ระบบ เพื่อให้กลายเป็นเงินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ประการที่สอง การฟอกเงินมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีรูปแบบใหม่ ๆ และมีความซับซ้อนขึ้น ทำให้ยากต่อการปราบปราม เช่น การใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset) เช่น คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล เป็นต้น การจัดตั้งบริษัทและธุรกิจบังหน้า การฟอกเงินผ่านบริษัทนำเที่ยว การฟอกเงินผ่านมูลนิธิหรือองค์กรไม่แสวงหากำไร หรือแม้แต่การใช้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและนักบัญชีเป็นช่องทางหรือให้ความช่วยเหลือในการฟอกเงิน ทำให้การปราบปรามและการตัดวงจรของเงินผิดกฎหมายเหล่านั้นเป็นไปได้ยาก ประการสุดท้าย ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดบางประการในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้งนี้จากรายงานการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 (Anti-money laundering and counter-terrorist financing measures: Thailand Mutual Evaluation Report December 2017) พบว่า 1) ประเทศไทยควรเพิ่มการประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินของอาชญากรรมแต่ละประเภทที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้งเพิ่มการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อศึกษาแนวโน้ม สถานการณ์และวิธีการฟอกเงินใหม่ ๆ ทั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและมาตรการ “เชิงป้องกัน” เกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงินได้อย่างเหมาะสม 2) ประเทศไทยยังคงต้องแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องด้านกฎหมายและการเพิ่มประสิทธิภาพของการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เช่น การกำกับดูแลกลุ่มอาชีพเสี่ยงเช่นผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายและนักบัญชี เป็นต้น การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาสถานการณ์ แนวโน้ม และความเสี่ยงของการฟอกเงินผ่านนิติบุคคลและธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินการในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกง การฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร และการฟอกเงินผ่านวัด เพื่อหาแนวทาง ในการป้องกันและปราบปรามที่เหมาะสมกับประเทศไทย

องค์กร :
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
30 ธันวาคม 2564
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลแนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Trend of Money Laundering In Thailand.
หมวดหมู่ ความมั่นคง
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 010201
องค์ประกอบ 010201V03
ปัจจัย 010201F0304
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG1714
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ และความมั่นคงของชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. เพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์ แนวโน้ม ความเสี่ยงในการถูกใช้ฟอกเงิน รูปแบบและวิธีการในการฟอกเงินที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการผ่านนิติบุคคลรูปแบบต่าง ๆ โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุม 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจดทะเบียนที่ไม่มีการประกอบธุรกิจ หรือประกอบธุรกิจบังหน้า (2) ทนายความและนักบัญชีซึ่งมักมีส่วนร่วมในการจัดตั้งบริษัทหรือในการบริหารจัดการธุรกรรมทางการเงินและการบัญชีของบริษัทที่เกี่ยวโยงกับการฟอกเงิน (3) บริษัทนำเที่ยวที่มักเกี่ยวโยงกับการโอนเงินข้ามประเทศ โพยก๊วน และการพาคนไปเล่น การพนันในต่างประเทศ (4) บริษัททรัสต์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศที่มักลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ แทนบุคคลที่ต้องการอำพรางตัวตน (5) ธุรกิจเล่นแชร์หรือขายตรงที่มีการฉ้อโกงประชาชน (6) องค์กรไม่แสวงหากำไร รวมถึงธุรกิจประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงสูงที่จะใช้ในการฟอกเงิน 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการป้องกันและปราบปรามรูปแบบการฟอกเงิน ในข้อ 1.2.1 ในต่างประเทศที่มีความเหมาะสม รวมถึงศึกษาข้อมูลที่เผยแพร่โดย FATF เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามบริบทของประเทศไทย 3. เพื่อสร้างความตระหนักของปัญหาการฟอกเงินในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดเวทีระดมสมอง ในการออกแบบแนวทางในการป้องปรามที่เหมาะสม และการสัมภาษณ์ในเชิงลึกกับกลุ่ม ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ 4. เพื่อนำเสนอมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในข้อ 1.2.1 ที่เป็นรูปธรรมและข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อมูลหลักฐานในเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์ประกอบ 5. เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานของ FATF ได้มากขึ้น
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักงาน ปปง.
อีเมลนักวิจัย research_amlo@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานคาดการณ์แนวโน้วของสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ตอนล่าง 3 recent views
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานคาดการณ์แนวโน้วของสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ภาคใต้ตอนล่าง 2 recent views
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
การคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด 7 recent views
การคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ความเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 3 recent views
ความเป็นเมืองเป็น Mega trends สำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก อันเป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและโครงสร้างของระบบขนส่ง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายมิติ...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.