การอนุบาล ลูกปลากดหลวง

การอนุบาลลูกปลากดหลวง สมพร กันธิยะวงค์1*, ฐาปนพันธ์ สุรจิต1, วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์2 และ ประสาน พรโสภิณ1 1ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงใหม่ 2กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ บทคัดย่อ ศึกษาการอนุบาลลูกปลากดหลวงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 โดยแบ่งเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนชนิดอาหารในการอนุบาลลูกปลากดหลวงวัยอ่อนให้ได้ขนาด 1 นิ้ว โดยแบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % ตลอดการทดลอง, ชุดการทดลองที่ 2 ให้ไรแดง 3 วันแล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 %, ชุดการทดลองที่ 3 ให้ไรแดง 6 วันแล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % และชุดการทดลองที่ 4 ให้ไรแดง 10 วัน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % อนุบาลลูกปลาอายุ 5 วัน ในรางสแตนเลสขนาด 50X300X30 ซม. ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลาด้วยความหนาแน่น 6,000 ตัว/ตรม. เป็นเวลา 30 วัน พบว่า ลูกปลามีความยาวสุดท้ายเฉลี่ย=1.39+0.02, 1.39+0.06, 1.38+0.02 และ 1.40+0.05 นิ้ว ตามลำดับ โดยแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย=77.59+2.06, 68.16+2.05, 75.26+1.60 และ 65.09+3.82 % ตามลำดับ ซึ่งชุดการทดลองที่ 1 และ 3 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดการทดลองที่ 2 และ 4 (p0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ 900 ตัว/ตรม. (p0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ 900 ตัว/ตรม. (p0.05) อัตราการรอดตายเฉลี่ย=95.22+3.98, 94.67+6.61, 90.30+7.99 และ 90.08+2.68 % ตามลำดับ โดยในแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ต้นทุนการผลิตลูกปลา=5.15, 3.94, 3.69 และ 3.47 บาท/ตัว ตามลำดับ และกำไรสุทธิ=-223.91, 225.46, 498.96 และ 925.02 บาท/รุ่น ตามลำดับ สรุปการอนุบาลลูกปลากดหลวงได้ว่า การให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % ตลอดการทดลองในการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนให้ได้ขนาด 1 นิ้ว ให้ผลดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย 2 ต้นทุนการผลิต และกำไรสุทธิ ส่วนการอนุบาลลูกปลาขนาด 1 นิ้ว ให้ได้ขนาด 2 นิ้ว พบว่า ความหนาแน่น 700 ตัว/ตรม. เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโตและอัตรารอดตาย แต่หากนำต้นทุนการผลิตและกำไรสุทธิมาร่วมพิจารณา เห็นได้ว่าที่ความหนาแน่น 900 ตัว/ตรม. มีความเหมาะสม สำหรับการอนุบาลลูกปลาขนาด 2 นิ้ว ให้ได้ขนาด 3 นิ้ว พบว่า ความหนาแน่น 800 ตัว/ตรม. เหมาะสม เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย ต้นทุนการผลิต และ กำไรสุทธิ

องค์กร :
กรมประมง
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
18 มกราคม 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness


มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลการอนุบาล ลูกปลากดหลวง โดยกรมประมง
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Nursing of Channel Catfish (Ictalurus punctatus Rafinnesque,1818) on Fingerling Size
หมวดหมู่ การเกษตร
คำสำคัญ การอนุบาล ปลากดหลวง
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230301
องค์ประกอบ 230301V05
ปัจจัย 230301F0502
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230002
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG020A SDG020A SDG020A SDG020A SDG020A
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) 1. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนชนิดอาหารในการผลิตลูกปลากดหลวงขนาด 1 นิ้ว 2.อัตราความหนาแน่นในการอนุบาลลูกปลากดหลวงเพื่อผลิตลูกปลาขนาด 2 และ 3 นิ้ว
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนชนิดอาหารในการผลิตลูกปลากดหลวงขนาด 1 นิ้ว 2. เพื่อศึกษาผลของอัตราความหนาแน่นในการอนุบาลลูกปลากดหลวงเพื่อผลิตลูกปลาขนาด 2 และ 3 นิ้ว
พื้นที่เป้าหมาย หมู่บ้าน- ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
สัญญาอนุญาต (License) Open Government
นักวิจัย นางสมพร กันธิยะวงค์
อีเมลนักวิจัย somkae08@gmail.com
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น 2 recent views
สามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 1. ทางเว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (www.dla.go.th) 2. เลือกหมวด “สายตรง สถ.” 3. เลือกหน่วยงาน “กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร”
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สรุปข้อมูลเด็กและเยาวชน 2565 2 recent views
สรุปข้อมูลเด็กและเยาวชน 2565
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
สถิติข้อมูลการพัฒนาบุคลากร กรมกิจการเด็กและเยาวชน 2565 1 recent views
สถิติข้อมูลการพัฒนาบุคลากร กรมกิจการเด็กและเยาวชน 2565
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
สถานการณ์เด็กและเยาวชน 2566 ไตรมาส 3 2 recent views
สถานการณ์เด็กและเยาวชน 2566 ไตรมาส 3
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.