“โขนสองคลอง” ถือกำเนิดจากตำบลสองคลอง ซึ่งมีการแสดงโขนสดมาตั้งแต่อดีตกาลโดยคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ศิลปะโขนสองคลองได้รับการสืบทอดมาจาก ครูสูน ครูโขนประจำหมู่บ้านสองคลอง (เสียชีวิต) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการเรียนมาจาก ครูสาคร ยังเขียวสด (โจหลุยส์) ปัจจุบันศิลปะโขนได้รับการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังเหลือเพียงการทำเศียรโขนแบบโบราณ ซึ่งนำมาใช้ในการแสดงโขนสด และมีการสืบทอดโดย นายสราวุธ ถิ่นสาคร ที่ได้มีการสร้างสรรค์งานเศียรโขนตามศิลปะโขนโบราณ และต่อมาได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นภายใต้ชื่อ “กลุ่มหัวโขนหัตถศิลป์ตำบลสองคลอง” เพื่อสืบทอด อนุรักษ์ และสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ของตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้เศียรโขนที่นำมาใช้ในการแสดงโขนสดมีขนาดเทียบเท่าหัวจริงซึ่งมีขนาดใหญ่ และเป็นเศียรชั้นสูงที่มีกลุ่มตลาดเฉพาะจำกัดมากเกินไป จึงจำเป็นต้องปรับให้ผลิตภัณฑ์ให้มีขนาดของหัวโขนให้เล็กลง และปรับกลุ่มเป้าหมายให้เป็นกลุ่มของฝากและของที่ระลึกมากขึ้น กลุ่มหัวโขนหัตถศิลป์ตำบลสองคลองจึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางปะกง เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าโอทอป (OTOP) ในรูปแบบของ “หัวโขนจิ๋ว” และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสาน นันทะเสน และ อาจารย์ ดร.สินีนาถ เริ่มลาวรรณ ได้เข้ามาให้ความรู้ในกระบวนการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น และส่งเสริมให้ “หัวโขนจิ๋ว” โดย “กลุ่มหัวโขนหัตถศิลป์ตำบลสองคลอง” ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ประเภทใช้เป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก และ OTOP ภายใต้ชื่อ “โขนสองคลอง”
ไม่พบข้อเสนอแนะ