โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคมในทุกมิติโดยการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการ ให้บริการวิยาการแก่ชุมชนที่พร้อมจะชับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ระยะ 20 ปี) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง มีปณิธาน "สืบสาน รักษา ต่อยอด" และมอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทำงานในพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีระเบียบวินัย เข้าใจในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งทางวิชาการ มีบุคลากร นักวิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการแก่ชุ่มชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนการพัฒนา สร้างคน คุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์มีเป้าประสงค์การพัฒนาท้องถิ่น คือ ชุมชน ท้องถิ่น และสถานประกอบการได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง และยกระดับ ให้เป็นแหล่งจ้างงานของประชากรและบัณฑิต รวมทั้งพัฒนาหรือสร้างผู้ประกอบการในพื้นที่ นำนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยและท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยมีกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นตามความต้องการของตลาด การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และกำลังคนเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชุมชน

องค์กร :
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
16 ธันวาคม 2567
ข้อมูลเมตาและทรัพยากร

Openness

0 out of 5
มุมมอง : {{field.title}}
ข้อมูลทั้งหมด รายการ
แสดงข้อมูลลำดับที่ ถึง
Data source cannot be displayed.
ที่มา : ชุดข้อมูลโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
รายละเอียด
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด
รูปแบบ
ขนาดไฟล์
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
การตรวจสอบคุณภาพไฟล์ Valid data
Data Dictionary
ฟิลด์ ประเภท ป้ายกำกับ รายละเอียด
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
ข้อมูลเมตา (Metadata)
หัวข้อภาษาอังกฤษ (Title) Improving The Quality Of Life And Upgrading The Grassroots Economy In Chachoengsao Province
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก P1312 - ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
เป้าหมายระดับหมุดหมาย P131201 - คนไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ มีคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมฉับพลันของโลก สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข
หมวดหมู่ การเติบโตอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจฐานราก
คำสำคัญ คุุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานราก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง 1. องค์การบริหารส่วนตำบล 2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3. กลุ่มผู้สูงอายุ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1. เพื่อกำหนดโจทย์แนวทางการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่น พัฒนาอาชีพ และการต่อยอดการสร้างรายได้ 3. เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวพื้นที่ตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการดำเนินงาน 1. เป้าหมายของโครงการ คือ การสร้างรายได้ ซึ่งทำให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. กิจกรรมภายใต้โครงการ - จัดเวทีวิเคราะห์และสังเคราะห์วางแผนการพัฒนาพื้นที่ - ประชุมชี้แจงสร้างความร่วมมือ MOU ระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล - ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่น พัฒนาอาชีพ และการต่อยอดสร้างรายได้ - ประเมินความสุขมวลรวม (GVH) ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ - การประเมินผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
ผลการดำเนินงาน 1. จำนวนแผนงาน/โครงการ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับตำบล จำนวน 43 ตำบล 2. จำนวนเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 43 ชุมชน 3. รายได้ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 4. ความสุขมวลรวมของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 41
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ [u'\u0e1c\u0e39\u0e49\u0e21\u0e35\u0e2a\u0e48\u0e27\u0e19\u0e44\u0e14\u0e49\u0e40\u0e2a\u0e35\u0e22\u0e21\u0e35\u0e2a\u0e48\u0e27\u0e19\u0e23\u0e48\u0e27\u0e21\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23\u0e21\u0e35\u0e17\u0e34\u0e28\u0e17\u0e32\u0e07\u0e41\u0e25\u0e30\u0e40\u0e1b\u0e49\u0e32\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e22\u0e17\u0e35\u0e48\u0e0a\u0e31\u0e14\u0e40\u0e08\u0e19', u'\u0e21\u0e35\u0e1a\u0e17\u0e40\u0e23\u0e35\u0e22\u0e19\u0e08\u0e32\u0e01\u0e01\u0e32\u0e23\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2d\u0e37\u0e48\u0e19 \u0e17\u0e35\u0e48\u0e2a\u0e32\u0e21\u0e32\u0e23\u0e16\u0e19\u0e33\u0e21\u0e32\u0e1b\u0e23\u0e30\u0e22\u0e38\u0e01\u0e15\u0e4c\u0e43\u0e0a\u0e49\u0e44\u0e14\u0e49']
บทเรียนจากการดำเนินงาน พื้นที่ตำบล ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดเป็นพื้นที่การท่องเที่ยว ซึ่งพื้นที่ชุมชนยังขาดการขับเคลื่อนและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เสริมสร้างรายได้และความเข้มแข็งของชุมชน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์มีแผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่นและบุคลากรที่มีศักยภาพในการูรณาการตามศาสตร์วิชาการในการพัฒนาและต่อยอดทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการในพื้นที่ และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของสังคม
ระดับการเปิดเผยข้อมูล สาธารณะ
ผู้จัดทำข้อมูล นวรัตน์ ทัศนา
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล nawarat.tas@rru.ac.th
สถานะของชุดข้อมูล active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 5 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 22 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการวิจัยกลยุทธ์การจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ภาคใต้ 3 recent views
-
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน สู่การสร้างเศรษฐกิจฐานราก และศิลปะ วัฒนธรรม แบบบูรณาการ 5 recent views
ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน สู่การสร้างเศรษฐกิจฐานราก และศิลปะ วัฒนธรรมแบบบูรณาการ จำนวน...
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.