ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกบนาในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกันฯ

ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกบนาในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน ในบ่อเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ภายใต้โครงการก่อสร้างศิลปาชีพ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาวัฒนะ คล้ายสุบรรณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพระนครศรีอยุธยาบทคัดย่อ การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกบนาในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกันในบ่อเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ภายใต้โครงการก่อสร้างศิลปาชีพ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยอัตราความหนาแน่น 50, 100 และ 150 ตัวต่อตารางเมตร ชุดการทดลองละ 4 ซ้ำ จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 4 เดือน รุ่นที่ 1 ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2558 และรุ่นที่ 2 ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงกุมภาพันธ์ 2559 โดยกบนาเริ่มทดลองมีอายุ 30 วัน รุ่นที่ 1 และ 2 มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 5.24+1.00 และ 5.01+0.88 กรัม ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 3.80+0.34 และ 3.71+0.29 เซนติเมตร ตามลำดับ ทดลองเลี้ยงในกระชังขนาด 1x2x1.5 เมตร จำนวน 12 กระชัง ในบ่อเลี้ยงปลานิลแปลงเพศขนาด 1.5 ไร่ ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ วันละ 2 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า กบนาที่เลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่น 50, 100 และ 150 ตัวต่อตารางเมตร รุ่นที่ 1 มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 271.02+9.06, 244.35+3.60 และ 218.14+4.83 กรัม ตามลำดับ อัตราแลกเนื้อ 1.33+0.14, 1.49+0.06 และ 1.51+0.04 ตามลำดับ และอัตรารอด ร้อยละ 79.25+1.71, 70.25+1.55 และ 61.67+1.22 ตามลำดับ รุ่นที่ 2 มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 232.14+0.61, 210.35+1.02 และ 197.28+2.54 กรัม ตามลำดับ อัตราแลกเนื้อ 1.22+0.07, 1.27+0.07 และ1.34+0.02 ตามลำดับ และอัตรารอด ร้อยละ 76.25+1.50, 65.25+0.65 และ 58.42+0.05 ตามลำดับ โดยกบนาที่เลี้ยงด้วยอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย อัตราแลกเนื้อ และอัตรารอดดีที่สุด (p<0.05) ด้านต้นทุนและผลตอบแทนพบว่า รุ่นที่ 1 มีต้นทุนการผลิต 1,443.97, 2,190.43 และ 2,575.58 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ กำไรสุทธิ 204.03, 451.97 และ 478.82 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ รุ่นที่ 2 มีต้นทุนการผลิต 1,376.82, 1,974.94 และ 2,368.20 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ กำไรสุทธิ -28.02, 111.46 และ 218.20 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโต การเลี้ยงกบนาด้วยอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร มีความเหมาะสมที่สุด และเมื่อพิจารณาจากกำไรสุทธิ พบว่า การเลี้ยงกบนาด้วยอัตราความหนาแน่น 150 ตัวต่อตารางเมตร มีกำไรสุทธิสูงที่สุดคำสำคัญ: กบนา, การเลี้ยงในกระชัง, ความหนาแน่น, ต้นทุนและผลตอบแทน, ศูนย์ศิลปาชีพ

องค์กร :
กรมประมง
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
18 มกราคม 2567
หมวดหมู่
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.