เศรษฐกิจฐานราก

การพัฒนาที่เน้นการแก้ปัญหาด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพของกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ทั้งการส่งเสริมองค์ความรู้และพัฒนาทักษะให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ รวมทั้ง การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน โดยการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการหนี้สิน วินัยทางการเงิน การจัดทำบัญชีครัวเรือน ตลอดจนเกิดการออม เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกที่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยการสร้างกลไกและโครงสร้างการดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ สหกรณ์ ร้านค้าชุมชน รวมทั้ง การส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงินเพื่อสนับสนุนแหล่งทุนให้กับเศรษฐกิจชุมชน และการพัฒนากลไกการใช้ที่ดินสาธารณะ เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูง มีการกระจายประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ชุดข้อมูลตัวอย่าง เช่น รายได้ของประชากรกลุ่มรายได้น้อย รายได้ของกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด (Bottom 40) อัตราการมีงานทำ อัตราส่วนภาระการพึ่งพิง สัดส่วนคนจน รายได้ประชากรต่อหัว (GDP per capita) ผลิตภาพแรงงาน (Labor Productive) การจ้างงาน อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาพดี ค่ากลางของรายได้ครัวเรือน อัตราความยากจน การกระจายรายได้ การกระจายความมั่งคั่ง การออมสุทธิ อัตราส่วนการเป็นภาระของประชากร หนี้สาธารณะ ดัชนีการเกิดคาร์บอน มูลค่าสินค้า OTOP สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่ม Bottom 40) เป็นต้น