การจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ : ภายใต้บริบทการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวิจัยครั้งนี้ เรื่อง “การจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ : ภายใต้บริบทการ บริหารทรัพยากรมนุษย์” มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับของการจัดสวัสดิการของ มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย สิทธิประโยชน์ด้านครอบครัว สิทธิประโยชน์ด้าน ประกันสังคม สิทธิประโยชน์ด้านเคหะสงเคราะห์ สิทธิประโยชน์ด้านการศึกษา สิทธิประโยชน์ ด้านงาน 2. เพื่อศึกษาระดับของ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย การจัดการความรู้ การจัดการผู้มีความสามารถสูง การประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศ การตลาด 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ กับ การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ 4. เพื่อวิเคราะห์เส้นทางระหว่างความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลของการจัดการ สวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ กับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5. เพื่อศึกษาการจัด สวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ กับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในเชิงคุณภาพ โดยกลุ่ม ตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับปฏิบัติการ จำนวน 1,280 ราย ใน รูปแบบเชิงปริมาณ และ จากผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง จำนวน 5 ราย ในรูปแบบเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สิทธิประโยชน์ด้าน งาน มีค่าเฉลี่ย 3.565 อยู่ในระดับ มาก ส่วนอันดับที่สองคือ สิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม มี ค่าเฉลี่ย 2.857 อยู่ในระดับ ปานกลาง อันดับที่สามคือ สิทธิประโยชน์ด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 2.568 อยู่ในระดับ น้อย อันดับที่สี่คือ สิทธิประโยชน์ด้านครอบครัว มีค่าเฉลี่ย 2.296 อยู่ในระดับ น้อย และอันดับสุดท้ายคือ สิทธิประโยชน์ด้านเคหะสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ย 2.255 อยู่ในระดับ น้อย แต่ ในค่าเฉลี่ยโดยรวมจะอยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่ำเฉี่ย 2.707 2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ได้เป็น อันดับแรก มีค่าเฉลี่ย 3.639 อันดับที่สอง การจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.567 อันดับที่สาม ระบบ สารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 3.566 อันดับที่สี่ การจัดการผู้มีความสามารถสูง มีค่าเฉลี่ย 3.446 และอันดับ สุดท้าย การตลำด มีค่าเฉลี่ย 3.221 แต่ในค่าเฉลี่ยโดยรวมจะอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.488 3. การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า“ การจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ : ภายใต้ บริบทการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ” จะต้องมีกระบวนการดังต่อไปนี้ คือ การจัดการความรู้ ของ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สัมพันธ์กับ การจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ในระดับ สูง เป็นการยืนยันแนวคิดที่ว่า การจัดการความรู้ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง การจัดการสวัสดิการของ มหาวิทยาลัยในภาคใต้ พบว่า ระบบสารสนเทศ ของ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สัมพันธ์ กับ การ จัดการสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ในระดับ ปานกลาง เป็นการยืนยันแนวคิดที่ว่า ระบบ สารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง การจัดการสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ซึ่ง สามารถสรุปได้ว่า การจัดการความรู้ (0.553), ระบบสารสนเทศ (0.345) มีความสัมพันธ์กับ การ จัดการสวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ ในด้าน สิทธิประโยชน์ด้านงาน (0.914) ซึ่งโดยรวมจะ แสดงค่าความสัมพันธ์ในระดับเกณฑ์ สูงมาก 4. การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงการวิเคราะห์เส้นทำงความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่าง การจัด สวัสดิการของมหาวิทยาลัยในภาคใต้ กับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผลปรากฎว่าอยู่ใน ระดับ สูงมาก (0.77) จะต้องมีกระบวนการดังต่อไปนี้ คือ การจัดการความรู้(0.553) ของการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ ในส่วน การพัฒนาสารสนเทศให้เป็นความรู้ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนองค์การ ไปสู่ความสำเร็จ (0.330) บุคลำกรที่มีการพัฒนาความรู้ของตนเองอยู่เสมอ (0.317) บุคลำกรสามารถ น ำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่ำงดี (0.447) , ระบบสารสนเทศ (0.345) ของการบริหารทรัพยากร มนุษย์ ในส่วน การน ำเทคโนโลยีสารสนเทศมำปรับใช้ในองค์กร (0.381) การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (0.391) มีความสัมพันธ์กับ การจัดสวัสดิการของมหาวิทยาลัยใน ภาคใต้ ในด้านสิทธิประโยชน์ด้านงาน (0.914) ในส่วนของการให้สิทธิประโยชน์ในด้าน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเท่าเทียมกันในสถานที่ทำงาน การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการทำงาน สุดท้าย การจัดทำระเบียบข้อตกลงในการทำงานอย่างชัดเจน 5. ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า กลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มมหาวิทยาลัย ของรัฐ กลุ่มสถาบันของรัฐ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้าน การจัดการความรู้ การจัดการผู้มีความสามารถสูง การประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศ การตลำด ให้น้ำหนักความสำคัญในระดับสูงมาก , ในส่วนการจัดการสวัสดิการฯ. ในด้านสิทธิ ประโยชน์ด้านครอบครัว สิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม สิทธิประโยชน์ด้านเคหะสงเคราะห์ สิทธิ ประโยชน์ด้านการศึกษา สิทธิประโยชน์ด้านงาน ให้น้ำหนักความสำคัญในระดับสูงมาก

องค์กร :
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
17 ธันวาคม 2564
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.