ขนาดตัวอักษร ภาษา
การสื่อสารทางการเมืองยุคดิจิทัลในการส่งเสริมพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ทางการเมืองท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การสื่อสารทางการเมืองยุคดิจิทัลในการส่งเสริมพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ทางการเมืองท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับบทบาทของการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัลกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ ในการแสวงหาแนวทางการกระตุ้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่โดยผ่านกลไกของสื่อมวลชนในการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ พื้นที่การวิจัยคือ สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรการวิจัยเป็นนักศึกษาทั้งชายและหญิงในสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างรวม 1,077 คน การวิจัยเชิงคุณภาพศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลและตัวแบบเส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัลของคนรุ่นใหม่ระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะบทบาทด้านการเสนอความคิดเห็นทางการเมืองท้องถิ่น การเป็นสื่อกลางระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับประชาชน การถ่ายทอดข่าวสารทางการเมืองท้องถิ่น และการให้ความรู้ทางการเมืองท้องถิ่น 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ระดับอุดมศึกษา อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะพฤติกรรมการปรับเปลี่ยนทางการเมืองท้องถิ่น การเริ่มสนใจทางการเมือง และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการจัดทำกิจการสาธารณะ 3) การสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัลมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น โดยบทบาทด้านการพัฒนาทางการเมืองท้องถิ่น การถ่ายทอดข่าวสารทางการเมืองท้องถิ่น และการเสนอความคิดเห็นทางการเมืองท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเริ่มสนใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมตัดสินใจทำกิจการสาธารณะและการปรับเปลี่ยนทางการเมืองท้องถิ่น 4) การสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัลด้านการถ่ายทอดข่าวสารทางการเมืองท้องถิ่นและการพัฒนาทางการเมืองท้องถิ่น เป็นปัจจัยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น 4.1) การมีส่วนร่วมโดยการริเริ่มสนใจการเมืองท้องถิ่นในการติดตามข่าวสารที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4.2) การมีส่วนร่วมตัดสินใจทำกิจการสาธารณะท้องถิ่นเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและร่วมตัดสินใจในประเด็นที่ชุมชนต้องการในการพัฒนาท้องถิ่น

องค์กร :
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
19 ธันวาคม 2564
ความเคลื่อนไหว
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.