โครงการวิจัยเพื่อการส่งเสริมการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐแก่หน่วยรับตรวจ

ความเป็นมา ตามที่ ผตง. ได้เห็นชอบรายงานผลการศึกษาวิจัยโครงการวิจัยเพื่อการส่งเสริมการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐแก่หน่วยรับตรวจพร้อมแผนการดำเนินงาน และให้ส่งรายงานการศึกษาวิจัยฯ ดังกล่าวให้ รตง. ที่กำกับดูแล สวค. เพื่อโปรดพิจารณานำผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รายละเอียดปรากฏตามบันทึกข้อความของกลุ่มวิจัยและนวัตกรรมการตรวจสอบ ๑ สำนักวิจัย ที่ ตผ ๐๐๑๒.๑/๗๐ ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ นั้น ข้อเท็จจริง ผลการศึกษาวิจัยโครงการวิจัยเพื่อการส่งเสริมการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐแก่หน่วยรับตรวจ ประกอบด้วย ๑. รายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ จำนวน ๓ ข้อ ได้แก่ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทางการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของหน่วยรับตรวจที่เกี่ยวข้องกับการรักษาวินัยการเงินการคลัง ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาของหน่วยรับตรวจที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังของรัฐ ๓) เพื่อจัดทำต้นแบบกิจกรรม รูปแบบ วิธีการ และเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐให้กับหน่วยรับตรวจ ๒. แผนการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมให้หน่วยรับตรวจรักษาวินัยการเงินการคลัง ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานส่งเสริมให้หน่วยรับตรวจรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ระยะสั้น (๓ ปี) และระยะยาว (๖ ปี) โดยจัดลำดับแผนกิจกรรมเป็นรายปีแก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและให้ข้อเสนอแนะในรูปแบบกิจกรรม ดังนี้ ระยะสั้น (3 ปี) ๒.๑ กิจกรรมที่ ๑ การพัฒนาหลักสูตร (Fiscal and Financial Discipline Certificate) เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านวินัยการเงินการคลังของหน่วยรับตรวจ ๒.๒ กิจกรรมที่ ๒ การพัฒนา "ฐานข้อมูล" และ "Application" วินัยการเงินการคลังของหน่วยรับตรวจ (Mobile Application of Fiscal and Financial Discipline Database) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการคาดการณ์แนวโน้มสถานะวินัยการเงินการคลังของหน่วยรับตรวจทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนส่งเสริมการรักษาวินัยการเงินการคลังแก่หน่วยรับตรวจ ระยะยาว (6 ปี) ๒.๓ กิจกรรมที่ ๓ พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านวินัยการเงินการคลังแบบครบวงจร (Fiscal and Financial Discipline Learning Center) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวินัยการเงินการคลังของประเทศที่เผยแพร่การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจต้นแบบ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควรนำแผนการดำเนินงานไปปฏิบัติและจัดทำรายงานการเรียนรู้จากประสบการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา (Lesson Learn Report) ในไตรมาสสุดท้ายของทุกปีเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นใน ๒ ระดับ ได้แก่ ๑. กระบวนการพัฒนาระดับส่วนบุคคล และ ๒. กระบวนการพัฒนาระดับองค์กรโดยจัดทำรายงานการเรียนรู้จากประสบการณ์ในรอบปีที่ผ่านมา (Lesson Learn Report)

องค์กร :
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
วันที่ปรับปรุงครั้งล่าสุด :
6 พฤศจิกายน 2566
ความเคลื่อนไหว
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.