โครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน ภายใต้ชื่อโครงการพัฒนาครูฐานสมรรถนะ PTRU Model บูรณาการส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามบริบทท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
โครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน ภายใต้ชื่อโครงการพัฒนาครูฐานสมรรถนะ PTRU Model บูรณาการส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามบริบทท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
Data source cannot be displayed.
Извор : ชุดข้อมูลโครงการพัฒนานวัตกรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน ภายใต้ชื่อโครงการพัฒนาครูฐานสมรรถนะ PTRU Model บูรณาการส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามบริบทท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรมทางการศึกษา โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Опис | |
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล | |
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล | |
Последно ажурирани податоци | |
Формат | |
Големина на датотека | |
File Validation | |
File Validation |
Речник на податоци
Колона | Тип | Ознака | Опис |
---|---|---|---|
{{field.id}} | {{field.type}} | {{field.info.label}} | {{field.info.notes}} |
Дополнителни информации
English Title | Competency-Based Local Educational Innovation PTRU Model for Teacher Development and Patriotic Character Building |
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก | P1312 - ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต |
เป้าหมายระดับหมุดหมาย |
|
Групи | การพัฒนาการเรียนรู้ |
Тагови | การศึกษา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา |
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง | กิจกรรม 2.2 โรงเรียนบ้านบึง, โรงเรียนบ้านห้วยยาง, โรงเรียนสนามชัยเขต, โรงเรียนบ้านหนองปลาไหล (ปรีชาราษฎร์รังสรรค์), โรงเรียนหมอนทองวิทยา, โรงเรียนคลองหาดพิทยาคม, โรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย), Ba Ria – Vung Tau College of Education (เวียดนาม), Can Tho University of Technology (เวียดนาม), Pannasastra University of Cambodia (กัมพูชา) กิจกรรม 2.3 โรงเรียนบ้านร่มโพธิ์ทอง จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนประชาฤกษ์สมบูรณ์ จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนคลองหาดพิทยาคม จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนตลาดบางบ่อ (ศักดิ์ปรีดาประชาสรรค์) จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนบ้านห้วยยาง จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนสุตะบำรุงพิทยาคาร จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนบ้านห้วยพลู (ราษฎร์ทิพยานนท์) จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฎร์ศึกษาลัย) จ.ฉะเชิงเทรา, โรงเรียนบ้านประพาส จ.ปราจีนบุรี, โรงเรียนเทศบาลคลองตำหรุ จ.ชลบุรี, โรงเรียนบ้านหนองปลาไหล(ปรีชาราษฎร์รังสรรค์) จ.ชลบุรี, โรงเรียนท่าเกษมพิทยา จ.สระแก้ว, โรงเรียนวัฒนานคร จ.สระแก้ว |
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน | 1) เพื่อให้ครูหรือนักศึกษาครูที่เข้าร่วมโครงการสามารถออกแบบและประยุกต์การจัดการเรียนรู้บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษาอังกฤษสู่ Strong Teachers ตามรูปแบบ PTRU Model. 2) เพื่อให้ครู นักเรียน นักศึกษาครู หรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนพหุวัฒนธรรมอาเซียนกับชาวต่างชาติผ่านการใช้ภาษาอังกฤษ 3) เพื่อให้นักเรียนในชุมชนหรือในเครือข่ายแสดงทักษะทางภาษาอังกฤษผ่านการเล่าเรื่องและร้องเพลงภาษาอังกฤษ |
รายละเอียดการดำเนินงาน | 1) เป้าหมายของโครงการกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงาน 1. คณะทำงานประชุมวางแผนงาน และประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 2. คณะทำงานดำเนินงานตามแผนงานตามแผนงานย่อยดังนี้ 2.1 กิจกรรม Easy App Easy Eng โดยรูปแบบรูปแบบออนไลน์ช่วงเย็นวันจันทร์และวันอังคาร จำนวนวันละ 3 ชั่วโมง ในวันที่ 10-11, 17-18, 24-25 มิถุนายน 2567 และรูปแบบออนไซต์ จำนวน 6 ชั่วโมง ในวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมการะเกด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2.2 กิจกรรม ค่ายพัฒนาครูและนักเรียนสู่การเรียนรู้วิถีอาเซียน ในวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 เป็นการเข้าค่ายค้างคืน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และเดินทางเพื่อศึกษาประสบการณ์ตรงทางวัฒนธรรม ณ กรุงเทพมหานคร 2.3 กิจกรรม การแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ดำเนินงานตามแผนงาน วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องทูลถวาย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 3. คณะทำงานประชุมตรวจสอบปัญหาระหว่างดำเนินงาน พบว่า 3.1 กิจกรรม Easy App Easy Eng มีครูบางท่านต้องการอบรมและร่วมประกวดแอปพลิเคชั่นแต่ติดภารกิจจากโรงเรียนในบางช่วงวัน และบางท่านแจ้งล่วงหน้าว่าไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ในรูปแบบออนไซต์ เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัดและไม่สามารถเดินทางมาได้ 3.2 กิจกรรม ค่ายพัฒนาครูและนักเรียนสู่การเรียนรู้วิถีอาเซียน กลุ่มผู้ร่วมค่ายที่เป็นโรงเรียนประถมศึกษาอ่อนเพลียจากการเดินทางไปศึกษาวัฒนธรรม ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตารางกำหนดเดินทางกลับค่อนข้างเป็นเวลาดึก 3.3 กิจกรรม การแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ทางโรงเรียนบางแห่งส่งไฟล์เพลงเพื่อประกวดล่าช้าทำให้เกิดความขัดข้องระหว่างแข่งขัน 4. คณะทำงานปรับรูปแบบเพื่อยืนหยุ่นกิจกรรม ดังนี้ 4.1 กิจกรรม Easy App Easy Eng สำหรับครูหรือนักศึกษาครูที่ติดภารกิจอื่นในบางวันอบรม คณะทำงานส่งมอบลิงก์การอบรมย้อนหลังให้ศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้สอบถามวิธีการสร้างแอปพลิเคชั่นจากวิทยากรได้โดยตรง ส่วนครูที่ไม่สามารถเข้ากิจกรรมได้ในรูปแบบออนไซต์ คณะทำงานได้จัดรูปแบบการอบรมแบบ Hybrid เพื่อให้ครูที่ไม่สามารถเดินทางมายังสถานที่อบรมนั้นสามารถรับความรู้และฝึกปฏิบัติไปได้พร้อมกัน 4.2 กิจกรรม ค่ายพัฒนาครูและนักเรียนสู่การเรียนรู้วิถีอาเซียน คณะทำงานปรับเวลาการเดินทางกลับของรถบัสจำนวน 1 คัน จากทั้งหมด 3 คัน เพื่อให้กลุ่มครูและนักเรียนระดับประถมศึกษาได้เดินทางกลับที่พักก่อนในช่วงเวลาหัวค่ำ 4.3 กิจกรรมการแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน คณะทำงานมีความเห็นว่าหากมีการจัดการแข่งขันในปีที่ 2 อีกควรมีเกณฑ์แข่งขันที่ต้องส่งไฟล์เพลงล่วงหน้าก่อนวันแข่งขันอย่างน้อย 3 วันทำการเพื่อให้คณะทำงานสามารถจัดระบบไฟล์เพลงได้ดีขึ้น หลังสิ้นสุดกิจกรรมคณะทำงานได้ประชุมเพื่อสรุปและสะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงต่อไป 5. ประเมินและสรุปผลโครงการ 2) กิจกรรมภายใต้โครงการ 1. กิจกรรมย่อยที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “Easy App Easy Eng” สำหรับครูหรือนักศึกษาครู 2. กิจกรรมย่อยที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายพัฒนาครูและนักเรียนสู่การเรียนรู้วิถีอาเซียน” สำหรับครู นักศึกษา นักศึกษาครูหรือผู้ที่สนใจ 3. กิจกรรมย่อยที่ 3 “การแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน” สำหรับนักศึกษาใน ชุมชนหรือในเครือข่าย 3) งบประมาณ : 400,000 บาท 4) ผู้ได้รับประโยชน์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ครูผู้สอน นักเรียนของครูที่สร้างและนำนวัตกรรมไปใช้ใสชั้นเรียน 2. นักเรียน โรงเรียน ชุมชน |
ผลการดำเนินงาน | ผลผลิต (Output) : 1. ร้อยละ 100 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนา (up-skill) ด้านเทคโนโลยี 2. ร้อยละ 100 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้เพื่อบูรณาการเทคโนโลยีกับการสอนภาษาอังกฤษ 3. ร้อยละ 100 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนพหุวัฒนธรรมอาเซียนกับชาวต่างชาติผ่านการใช้ภาษาอังกฤษ 4. ร้อยละ 100 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนต่างชาติ เข้าใจวิถีวัฒนธรรมมากขึ้น 5. ร้อยละ 100 ของครูที่นำนักเรียนเข้าร่วมโครงการครูมีความเข้มแข็งในการเป็นโค้ชให้นักเรียนฝึกปฏิบัติทักษะภาษาอังกฤษ (เล่าเรื่องและร้องพลง) ผลลัพธ์ (Outcome) : 1. ร้อยละ 52.31 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ไปจัดการชั้นเรียนกับนักเรียนของตนเอง 2. ร้อยละ 100 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการครูมีทักษะและความสามารถในการสอนที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนสามารถเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในสังคมอาเซียนได้ดีขึ้น 3. ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีขึ้นต่อภาษาอังกฤษ |
Видливост | Јавно |
ผู้จัดทำข้อมูล | นางสาวนัฐริญา โพธิ์ทอง |
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล | natthariya.pho@rru.ac.th |
Состојба | active |
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Abstract
The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะในโรงเรียนต่างๆ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 จังหวัดนครราชสีมา...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment Framework : DQAF) ได้รับการพัฒนา ขึ้นครั้งแรกโดย The International Monetary Fund (IMF)...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา