Text Size Languages
ระบบการดูแลทางสังคมและการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3
ระบบการดูแลทางสังคมและการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและปัจจัยที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อศึกษาระบบการดูแลและป้องกันให้แก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์ซ้ำ บุตร และครอบครัว ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้ให้ข้อมูลจาก 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลจากวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำจำนวน 40 คน 2) ข้อมูลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือสมาชิกในครอบครัวที่มีฐานะเป็นผู้ดูแลวัยรุ่น จำนวน 40 คน และ 3) ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางสังคมอีก 15 คน รวมเป็น 95 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2565 สถานการณ์การตั้งครรภ์ซ้ำระหว่างปี 256 3-2565 มีจำนวน 76 คน,55 คนและ 52 คน ลดลงตามลำดับ ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่ มีอายุ 18-20 ปี จบการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 66 และประกอบอาชีพรับจ้างและว่างงาน รวมสูงถึงร้อยละ 69 ส่วนการศึกษาของบิดาและมารดาจบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด รายได้รวมของครอบครัวส่วนใหญ่ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน การตั้งครรภ์ครั้งแรกมีอายุระหว่าง 13-15 ปี ร้อยละ 40 และสาเหตุเกิดจากการคุมกำเนิดพลาดและไม่ได้ป้องกัน ร้อยละ 60 ส่วนการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น มีอายุระหว่าง 15-17 ปี ร้อยละ 32.3 สาเหตุที่ตั้งครรภ์ซ้ำ ยังเป็นการคุมกำเนิดพลาดและไม่ได้ป้องกัน ร้อยละ 58 ความห่างในการตั้งครรภ์ครั้งแรกและการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 50 ซึ่งการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมควรห่างกันอย่างน้อย 2 ปี เพื่อสุขภาพของมารดาและเด็ก มีการคุมกำเนิดหลังคลอด 1 เดือน ส่วนใหญ่ใช้วิธีกินยาคุมกำเนิด แต่มีข้อกังวล คือไม่คุมกำเนิดด้วยวิธีใด ๆ เลย ทัศนคติของครอบครัวต่อการตั้งครรภ์ครั้งแรกมองว่าไม่มีผลกระทบในทางลบ สามารถรับมือได้ แต่เมื่อตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น มีทัศนคติใหม่ว่ามีผลกระทบทางลบอย่างแน่นอนและเป็นปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา และด้านสุขภาพ การทำหน้าที่ของระบบทางสังคมต่อการตั้งครรภ์/การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ผู้ให้ข้อมูล มองว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยลดความกังวลและผลกระทบลง เพราะมีการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น 1) สถานศึกษา ให้เรียนต่อจนจบ 2) สถานพยาบาล ให้ความช่วยเหลือดูแลอย่างดียิ่งต่อกระบวนการตั้งครรภ์และการคลอด และ 3) การขอรับคำปรึกษาด้านอื่น ๆ ส่วนระบบช่วยเหลือเกื้อกูลการตั้งครรภ์วัยรุ่นและการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มในอัตราใกล้เคียงกัน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ไม่ได้ขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานใดนอกจากสถานพยาบาลที่ฝากครรภ์ กลุ่มที่ 2 ขอรับ ความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ ดังนี้ 1. ด้านการเงิน/สิ่งของสนับสนุน 2. ด้านบริการสุขภาพแวดล้อมอื่น ๆ 3. ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น โดยระบบทั้งสามด้านนี้ เป็น การทำงานเชิงรับเป็นหลัก และกลุ่มเจ้าหน้าที่ในฐานะผู้ให้บริการ ทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มการศึกษา และกลุ่มบริการสังคม ระบุว่างานในหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีการดำเนินการทั้งงานในเชิงรับและเชิงรุก แต่ยังมีคอขวดในการทำงาน คือ ระเบียบของราชการที่ไม่เอื้อและเป็นอุปสรรค การแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานมีน้อย ขาดความต่อเนื่องของงานและนโยบายของผู้บริหารต่องาน มีจุดคานงัดที่จะทำให้การพัฒนางานการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้มีประสิทธิภาพ คือ 1. ต้องสร้างความตระหนักรู้ให้กับตัววัยรุ่นเอง 2 .มีระบบบริการดิจิทัลที่ผู้รับบริการเข้าถึงได้ตลอดเวลา(เชิงรุก) 3. นโยบายและความต่อเนื่องของงาน 4. การมอบหมายงานที่ชัดเจนและระบบการประเมินติดตามผลที่เที่ยงตรง 5. การบูรณาการงานกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ด้านสังคม ภาครัฐควรมีนโยบายที่ส่งเสริมครอบครัวให้มีเหตุผลและใช้พลังทางบวกในการดูแลกันและกัน ด้านการศึกษา การพัฒนาการศึกษานอกระบบที่เข้มแข็ง เป็นมิตรและมีความยืดหยุ่นสูง ส่วนการศึกษาในระบบ ส่งเสริมให้ครูมีเวลาสร้างสัมพันธภาพและดูแลเด็ก ๆ มากขึ้น ลดภาระงานวิชาการ และด้านสุขภาพ ควรมีบริการสุขภาพแบบเฉพาะสำหรับวัยรุ่นตั้งครรภ์ เป็นบริการที่เข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรสูง การสร้างความตระหนักรู้ให้กับวัยรุ่นถึงผลกระทบต่อชีวิตตนเองในระยะยาว(Awareness) และที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐควรมีการทบทวน เพื่อการลดทอนงานที่มีความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น

Organizations :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Metadata last updated :
April 1, 2024
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลระบบการดูแลทางสังคมและการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Social Care System and Prevention of Repeat Pregnancy among Adolescents in Technical Promotion and Support Office3 Area
Groups ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม
Tags ตั้งครรภ์ซ้ำ ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ระบบการดูแลและป้องกัน วัยรุุ่นตั้งครรภ์ วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ซ้ำ
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 170201
องค์ประกอบ 170201V03
ปัจจัย 170201F0301
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 170001
Sustainable Development Goals SDG0103 SDG0103
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) -
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ซ้ำ บุตรและครอบครัว ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับสวัสดิการด้านต่างๆ ที่เหมาะสม ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษาไปเป็นแนวกำหนดเป็นแผนงานระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในการดูแลและป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นต่อไป
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3
อีเมลนักวิจัย tpso-3@m-society.go.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 9 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับพื้นที่และประเด็นเร่งด่วน (Hot Issues) 1 recent views
การจัดทำรายงานสถานการณ์ทางสังคมในระดับพื้นที่และประเด็นเร่งด่วน (Hot Issues) ระดับกลุ่มจังหวัด ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและ สนับสนุนวิชาการ ๕ (สสว.๕) จำนวน ๗...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 3 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 2 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.