Text Size Languages
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งดำเนินการให้บรรลุตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนของพื้นที่กรณีศึกษา 4 จังหวัด พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านบริบทพื้นที่ กลไกการมีส่วนร่วม ความร่วมมือ ประเด็นและความพร้อมที่แตกต่างกัน โดยแต่ละจังหวัดมีรูปแบบ กลไกและจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในลักษณะของสภา สมัชชา และภาคีเครือข่ายการศึกษา โดยความร่วมมือของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ฯลฯ ในพื้นที่ จากนั้นจึงแสวงหาความร่วมมือ ความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยมีรูปแบบของการมีส่วนร่วม (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาและปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างและกลไกหลัก โครงสร้างและกลไกรอง และโครงสร้างและกลไกสนับสนุน และ (3) ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย 3 ข้อเสนอ ได้แก่ ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐในการจัดการศึกษา เช่น ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ด้านงบประมาณและทรัพยากร การบริหารจัดการ ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา เช่น ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ด้านงบประมาณและทรัพยากร การบูรณาการและความร่วมมือ ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของเอกชนในการจัดการศึกษา เช่น ด้านงบประมาณ ทรัพยากร และกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม

Organizations :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Metadata last updated :
December 30, 2021
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Model of Participation in Learning Management for increasing Learning Efficiency base on National Reform Plan on Education
Groups การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V03
ปัจจัย 120101F0305
Sustainable Development Goals SDG0401
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน รวมทั้งสมัชชา/สภาการศึกษาในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ช่วยสถานศึกษามีความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้กับภาคส่วนต่าง ๆ ในรูปแบบที่หลากหลายและพื้นที่สามารถยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การเป็นคนดีและคนเก่ง
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ศึกษาและพัฒนา “รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา” เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้แก่พื้นที่นำไปเป็นแนวทางการในการส่งเสริมมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้บรรลุผลเป็นรูปธรรม การจัดทำ “ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนในการจัดการศึกษา” เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ลดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และบรรลุตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับจังหวัดและสนับสนุนให้เกิด “กลไกการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่” ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และคณะบุคคลทุกภาคส่วน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ ทั้งนี้การดำเนินการของโครงการสามารถบรรลุเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง)
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย 1. นางสาววัลภา เล็กวัฒนานนท์ 2. นางสาวกรกมล จึงสำราญ 3. นายเอกพล ดวงศรี 4. นางสาวนริศรา ใจคง 5. นางสาวสิริกานต์ แก้วคงทอง 6. นายศัพทสร ทองดี
อีเมลนักวิจัย wanlapax@yahoo.com
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย 20 recent views
การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 7 recent views
จังหวัดเพชรบูรณ์ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563...
กระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ 19 recent views
รายงานแนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เป็นการถอดบทเรียนการดำเนินการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากสถานศึกษา จำนวน 4 แห่ง...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET (Ordinary National Educational Test) 33 recent views
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3...
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.