Text Size Languages
การศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based)
การศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน(Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ต่อยอดจากองค์ความรู้เรื่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) ให้เห็นความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) อันจะส่งผลให้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการจัดทำข้อเสนอเชื่อมโยงกับภาคการทำงาน รวมถึงยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนางานกลไกเชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษา การสรุปผลการศึกษา มีรายละเอียดดังนี้ สรุปผลการศึกษา ประการแรก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุ กล่าวคือโครงสร้างประชากรนั้นมีแนวโน้มสัดส่วนประชากรสูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีอัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้จำนวนนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละปีจะมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้อัตราการพึ่งพิง (Dependent Ration) ในทุกจังหวัด ประการที่สอง โครงสร้างการจ้างงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และหากมีการจ้างงานเพิ่มนอกเหนือจากโครงสร้างการจ้างงานเดิม งานใหม่เหล่านี้เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะสูง (ทักษะระดับ 4 ตามนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ) ด้วยเหตุนี้ การยกระดับคุณภาพการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำมาสู่การพัฒนาทักษะแรงงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ดังนั้นการสร้างระบบการศึกษาที่ดีจะต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้สามารถทำงานกับโลกของงานในอนาคตได้ ประการที่สาม อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับในเชิงพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับร้อยละ 20 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่ากังวลมาก เพราะเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามสำหรับพื้นที่ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หากแรงงานไม่สามารถเรียนรู้งาน ได้รวดเร็วพอจนเกิดปัญหาช่องว่างทักษะอย่างรุนแรง ซึ่งการทำงานต่ำกว่าระดับจะลดทอนความสามารถของสถานประกอบการ จนส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นได้ในระยะยาวให้กับตนเองได้ (Job Innovator) หลักสูตรการศึกษาจึงควรเป็น 2 ระดับ ระดับแรก เป็นคุณสมบัติพื้นที่ที่แรงงานทุกกลุ่มควรมี และระดับที่สอง เป็นคุณสมบัติเฉพาะของแรงงานแต่ละกลุ่มตาม 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประการที่สี่ เนื่องจากการจ้างงานใหม่ที่เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่การจ้างงานทดแทนตำแหน่งเดิมที่ว่างลง) เป็นการจ้างงานที่ต้องใช้ทักษะระดับ 4 ตามเกณฑ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งผู้ที่มีระดับนี้จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. สามารถปฏิบัติงาน วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ตัดสินใจในประเด็นที่มีความซับซ้อนวางแผนการทำงาน และพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดีขึ้นได้ โดยตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับทฤษฎีและองค์ความรู้ทางวิชาการตามความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาควบคู่กับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม 2. มีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยการพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสมสามารถปรับการสื่อสารในประเด็นสำคัญให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายได้ มีทักษะในการนำเสนอที่ดี 3. มีทักษะเชิงปริมาณที่เหมาะสมกับลักษณะงาน สามารถนำเอาทักษะเชิงปริมาณมาใช้งานร่วมกับองค์ความรู้ทางวิชาการได้อย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น 4. สามารถทำความเข้าใจเอกสารและข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ 5. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบได้ดังนั้น การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จึงต้องนำคุณสมบัติทั้ง 5 ข้อนี้มาเป็นฐานคิดในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับโลกของงานและบริบทในพื้นที่ต่อไป

Organizations :
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Metadata last updated :
December 30, 2021
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title -
Groups การพัฒนาการเรียนรู้
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 120101
องค์ประกอบ 120101V04
ปัจจัย 120101F0404
Sustainable Development Goals SDG0407
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) 1. การพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ในการเสริมสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศ 2. การจูงใจให้พัฒนาสมรรถนะและทักษะ และเกิดการพัฒนาวิชาชีพและผลิตภาพของประเทศสูงขึ้น
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. ได้องค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนาประเทศในภาพรวมโดยสามารถนำไปปรับใช้ในการเพิ่มผลิตภาพโดยรวมของประเทศ พร้อมเผชิญปัญหาสังคมสูงวัย ทั้งสามารถกระจายการพัฒนาสู่พื้นที่ต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในด้านการศึกษาและเศรษฐกิจต่อไป 2. การแสวงหาความร่วมมือและ ดำเนินการศึกษาการพัฒนากลไก เชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย การเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์สู่การปฏิบัติ โดยมีการลงนามความ ร่วมมือ MOU นำไป ขับเคลื่อนร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน ทางการศึกษาของ จังหวัดปทุมธานี และ สกศ. 3. ผลผลิต/เอกสารที่ได้จากการ ดำเนินโครงการมีคุณภาพตาม หลักวิชาการและในทางปฏิบัติ โดยมีกิจกรรมการรับฟังความ คิดเห็นระดับปฏิบัติ และมีการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ/หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยมีการอ้างอิงและมีเวทีการมีส่วนร่วมกับ สำนักงานศึกษาธิการภาคทั้ง 6 ภาคที่เป็น focal point ในพื้นที่ 4. การสร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในวงกว้าง ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ทั่วไป โดยครอบคลุมถึงการจัดเวที และการจัดทำองค์ความรู้เผยแพร่ ซึ่งได้ ย่อยสาระสำคัญเพื่อทำให้ สาธารณชนเข้าใจแนวคิดหลักง่ายๆ ในเวลาสั้น ๆ และได้ผลเป็นรูปธรรม ดังนี้ - จัดทำคลิปเผยแพร่ทางช่อง You-Tube OEC News 3 ตอน และเผยแพร่ผ่าน Facebook OEC News และมองมุมใหม่ Five Focus เฉพาะที่เป็นคลิป 4 ครั้ง (4 ตอน) - จัดทำแผ่นพับเพิ่ม 2 ชุด ได้แก่ “รู้จักเครดิตแบงก์” และ “เครดิตแบงก์: บทเรียนจากต่างประเทศ” - จัดทำหนังสือ เรื่อง ฟังเสียงสังคมออนไลน์ #inside ประเด็นการศึกษา - จัดทำหนังสือชุด เรื่อง การศึกษาแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยืด พื้นที่เป็นฐาน - จัดทำ Mini poster แบบ Interactive เรื่อง การศึกษาเชิงพื้นที่
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย ผศ.ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
อีเมลนักวิจัย klounkaew@econ.tu.ac.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สภาพการจัดการศึกษาเฉพาะทางในประเทศไทย ปี 2562 – 2563 : การผลิตบุคลากร 11 recent views
การจัดการศึกษาเฉพาะทาง เป็นการจัดการศึกษาที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการจัดการศึกษาทั่วไปที่จัดในสถานศึกษาปกติ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย 20 recent views
การวิจัย เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ฉบับสรุป) 5 recent views
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดทำรายงานวิจัย แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ฉบับสรุป) ขึ้น...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
หนังสือที่ระลึก 30 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2 recent views
หนังสือที่ระลึก 30 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (หนังสือรายงานประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.