การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน(Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ต่อยอดจากองค์ความรู้เรื่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) ให้เห็นความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) อันจะส่งผลให้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการจัดทำข้อเสนอเชื่อมโยงกับภาคการทำงาน รวมถึงยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนางานกลไกเชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษา การสรุปผลการศึกษา มีรายละเอียดดังนี้ สรุปผลการศึกษา ประการแรก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุ กล่าวคือโครงสร้างประชากรนั้นมีแนวโน้มสัดส่วนประชากรสูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีอัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้จำนวนนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละปีจะมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้อัตราการพึ่งพิง (Dependent Ration) ในทุกจังหวัด ประการที่สอง โครงสร้างการจ้างงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และหากมีการจ้างงานเพิ่มนอกเหนือจากโครงสร้างการจ้างงานเดิม งานใหม่เหล่านี้เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะสูง (ทักษะระดับ 4 ตามนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ) ด้วยเหตุนี้ การยกระดับคุณภาพการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำมาสู่การพัฒนาทักษะแรงงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ดังนั้นการสร้างระบบการศึกษาที่ดีจะต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้สามารถทำงานกับโลกของงานในอนาคตได้ ประการที่สาม อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับในเชิงพื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับร้อยละ 20 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่ากังวลมาก เพราะเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามสำหรับพื้นที่ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หากแรงงานไม่สามารถเรียนรู้งาน ได้รวดเร็วพอจนเกิดปัญหาช่องว่างทักษะอย่างรุนแรง ซึ่งการทำงานต่ำกว่าระดับจะลดทอนความสามารถของสถานประกอบการ จนส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นได้ในระยะยาวให้กับตนเองได้ (Job Innovator) หลักสูตรการศึกษาจึงควรเป็น 2 ระดับ ระดับแรก เป็นคุณสมบัติพื้นที่ที่แรงงานทุกกลุ่มควรมี และระดับที่สอง เป็นคุณสมบัติเฉพาะของแรงงานแต่ละกลุ่มตาม 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประการที่สี่ เนื่องจากการจ้างงานใหม่ที่เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่การจ้างงานทดแทนตำแหน่งเดิมที่ว่างลง) เป็นการจ้างงานที่ต้องใช้ทักษะระดับ 4 ตามเกณฑ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศซึ่งผู้ที่มีระดับนี้จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. สามารถปฏิบัติงาน วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ตัดสินใจในประเด็นที่มีความซับซ้อนวางแผนการทำงาน และพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดีขึ้นได้ โดยตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับทฤษฎีและองค์ความรู้ทางวิชาการตามความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาควบคู่กับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม 2. มีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยการพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสมสามารถปรับการสื่อสารในประเด็นสำคัญให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายได้ มีทักษะในการนำเสนอที่ดี 3. มีทักษะเชิงปริมาณที่เหมาะสมกับลักษณะงาน สามารถนำเอาทักษะเชิงปริมาณมาใช้งานร่วมกับองค์ความรู้ทางวิชาการได้อย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น 4. สามารถทำความเข้าใจเอกสารและข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ 5. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบได้ดังนั้น การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จึงต้องนำคุณสมบัติทั้ง 5 ข้อนี้มาเป็นฐานคิดในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับโลกของงานและบริบทในพื้นที่ต่อไป