Text Size Languages
การศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ
การศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบแนวคิด หลักการ กลไก และปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ ของไทยและได้ค้นคว้ากรณีศึกษาต่างประเทศ 7 ประเทศ เพื่อค้นหาต้นแบบกิจกรรม รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสมกับสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สินของรัฐ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำานวน 9 คน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ จากกลุ่มเป้าหมายตามภูมิภาค จำนวน 433 คน และ การจัดกิจกรรมแฮคกาธอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประมวลและวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางและแผนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สิน ของรัฐ ผลการศึกษา พบว่า กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐจากกรณีตัวอย่างของต่างประเทศมีการดำเนินการที่ชัดเจน โดยมีรูปแบบการเข้ามามีส่วนร่วมในระยะก่อน ระหว่าง และ หลังการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้ง รูปแบบที่เน้นการเพิ่มศักยภาพ และความร่วมมือกับสาธารณชน โดยมีกลไกของกฎหมายที่เอื้อให้สามารถดำเนินการได้ ในขณะที่ประเทศไทยก็เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม โดยมีกฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เปิดช่องให้สามารถกระทำได้ แต่ในกรณีของการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐยังไม่ปรากฎรูปแบบของการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนนัก สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย เรื่อง การมีความรู้และข้อมูล, การมีพื้นที่สาธารณะที่เข้าถึงและมีความปลอดภัย, ความเป็นพลเมืองและขีดความสามารถของประชาชนในการร่วมมือกับ สตง., กระบวนทัศน์และความเข้าใจ ของเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องของการมีส่วนร่วม, การมีเครือข่ายและการสื่อสารกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้ง การมีกฎหมาย นโยบาย ตลอดจน ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการเอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมโดยต้องยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เป็นเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วม สำหรับแผนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สินของรัฐนั้น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) เสริมกระบวนทัศน์การทำงานแบบมีส่วนร่วมให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2) สร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ (3) สร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ และ (4) ส่งเสริมธรรมาภิบาลในการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ

Organizations :
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
Metadata last updated :
May 12, 2022
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลการศึกษาวิจัยเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Research studies to enhance public participation among various sectors in maintaining the state finances and property.
Groups การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
Tags สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน การมีส่วนร่วม เงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ ประชาธิปไตย
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 200301
องค์ประกอบ 200301V03
ปัจจัย 200301F0303
Sustainable Development Goals SDG1714
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดเูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดเูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในบริบทของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล สถาบันพระปกเกล้า
อีเมลนักวิจัย Thawilwadee@kpi.ac.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 2 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 12 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการสร้างกระบวนทัศน์เพื่อพัฒนาลูกเสือจิตสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ 5 recent views
การลูกเสือเป็นกระบวนการหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า“ขบวนการลูกเสือ” (Scout Movement) ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่า...
กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนในการจัดการศึกษา 9 recent views
ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย 3 ข้อเสนอ ได้แก่ (1) ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐในการจัดการศึกษา เช่น ด้านกฎหมาย กฎ...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.