การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบแนวคิด หลักการ กลไก และปัจจัยที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ ของไทยและได้ค้นคว้ากรณีศึกษาต่างประเทศ 7 ประเทศ เพื่อค้นหาต้นแบบกิจกรรม รูปแบบ และวิธีการที่เหมาะสมกับสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สินของรัฐ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำานวน 9 คน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ จากกลุ่มเป้าหมายตามภูมิภาค จำนวน 433 คน และ การจัดกิจกรรมแฮคกาธอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการประมวลและวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางและแผนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สิน ของรัฐ ผลการศึกษา พบว่า กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐจากกรณีตัวอย่างของต่างประเทศมีการดำเนินการที่ชัดเจน โดยมีรูปแบบการเข้ามามีส่วนร่วมในระยะก่อน ระหว่าง และ หลังการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้ง รูปแบบที่เน้นการเพิ่มศักยภาพ และความร่วมมือกับสาธารณชน โดยมีกลไกของกฎหมายที่เอื้อให้สามารถดำเนินการได้ ในขณะที่ประเทศไทยก็เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม โดยมีกฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เปิดช่องให้สามารถกระทำได้ แต่ในกรณีของการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐยังไม่ปรากฎรูปแบบของการมีส่วนร่วมที่ชัดเจนนัก สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย เรื่อง การมีความรู้และข้อมูล, การมีพื้นที่สาธารณะที่เข้าถึงและมีความปลอดภัย, ความเป็นพลเมืองและขีดความสามารถของประชาชนในการร่วมมือกับ สตง., กระบวนทัศน์และความเข้าใจ ของเจ้าหน้าที่รัฐในเรื่องของการมีส่วนร่วม, การมีเครือข่ายและการสื่อสารกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้ง การมีกฎหมาย นโยบาย ตลอดจน ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการเอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมโดยต้องยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เป็นเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วม สำหรับแผนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดิน และทรัพย์สินของรัฐนั้น ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) เสริมกระบวนทัศน์การทำงานแบบมีส่วนร่วมให้เจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2) สร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ (3) สร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ และ (4) ส่งเสริมธรรมาภิบาลในการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ