Text Size Languages
โครงการศึกษาชุมชนอาเซียนในประเทศไทย : มาตรการ กลไก เพื่อการคุ้มกันผลกระทบทางสังคม
โครงการศึกษาชุมชนอาเซียนในประเทศไทย : มาตรการ กลไก เพื่อการคุ้มกันผลกระทบทางสังคม

โครงการศึกษาชุมชนอาเซียนในประเทศไทย : มาตรการ กลไก เพื่อการคุ้มกัน ผลกระทบทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีชุมชนอาเซียนอาศัยอยู่ และเพื่อสร้างมาตรการ กลไกเพื่อการคุ้มกันผลกระทบทางสังคมจากการอยู่ร่วมกันของชาวอาเซียนในประเทศไทย โดยการศึกษาที่เน้นเฉพาะผลกระทบทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ 12 มิติ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายคนไทยและชาวอาเซียน ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนไทยเป็นสำคัญ คณะผู้วิจัยเลือกใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทั้งคนในชุมชนและชาวอาเซียน กระบวนการในการวิจัยเริ่มจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล และทบทวนวรรณกรรม เพื่อสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงได้มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จำนวน 1,600 คน โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อให้เข้าใจทัศนคติของคนไทยในชุมชนที่มีชาวอาเซียนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในพื้นที่ชุมชน ในส่วนของการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิจัยฉบับนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การจัดเวทีการสนทนากลุ่ม การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพมีประชากรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 258 คน แยกเป็น คนไทย 179 คน คนต่างชาติ 79 คน จากชุมชนที่จำแนกตามเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละ สสว.

  1. สถานการณ์และผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีชุมชนอาเซียนอาศัยอยู่ 1.1 สถานการณ์พื้นฐาน 1) มีชาวอาเซียนพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 3.5 - 4 ล้านคน โดยมีแรงงาน 2.7 ล้านคน มาจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ได้แก่ พม่า กัมพูชา และ สปป.ลาว ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้จดทะเบียนแรงงานและผู้ติดตามอย่างถูกกฎหมายเป็นจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน และเป็น ผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับภาครัฐ จำนวนมากกว่า 1 ล้านคน (ข้อมูลเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559) 2) ชาวอาเซียนส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน อายุ 20 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง แยกเป็นชาวอาเซียนต่างๆ คือ พม่า กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ ชนกลุ่มน้อย/ชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ กระเหรี่ยง ปะโอ ตองสู้/ยะไข่ กะฉิ่น มอญ และไทยใหญ่ ประเภทการทำงาน ได้แก่ รับจ้างทั่วไป คัดแยกขยะ ลูกจ้างแพปลา แม่บ้าน/ทำงานบ้าน คนสวน พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม พนักงานเสิร์ฟอาหาร กรรมกร/ก่อสร้าง และค้าขาย 3) กลุ่มเป้าหมายชุมชนส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากประชาคมอาเซียน เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลประชากร การเตรียมพร้อมด้านภาษาและสาธารณสุข เป็นต้น 4) การเป็นประชาคมอาเซียนไม่ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและการดำเนินชีวิตของคนไทยในชุมชน รวมถึงไม่ส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มจำนวนชาวอาเซียน และระยะเวลาที่ชาวอาเซียน เข้ามาทำงานหรือพักอาศัย เนื่องจากชาวอาเซียนเข้ามาก่อนที่จะมีการเปิดประชาคมอาเซียน 5) การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีผลในเชิงความรู้สึกว่าเมื่อเป็นประชาคมแล้วก็จะสามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวกมากขึ้น เศรษฐกิจการค้าจะเติบโตขึ้นและจะมีการจ้างแรงงานมากขึ้น และอาจจะมีชาวอาเซียนมากขึ้นจากความร่วมมือระหว่างประเทศต่อกัน 6) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีชาวอาเซียนเพิ่มขึ้นคือการเปิดจดทะเบียนแรงงานชาวอาเซียนเมื่อต้นปี 2559 ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า การเปิดจดทะเบียนแรงงานชาวอาเซียน คือกลไกหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยให้ความร่วมมือต่อการเป็นประชาคมอาเซียน 7) ชาวอาเซียนมีความรู้สึกพอใจที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยและเข้ามาพักอาศัยในชุมชน เพราะงานส่วนใหญ่ที่ชาวอาเซียนทำเป็นงานของผู้ใช้แรงงาน และเป็นงานที่คนไทยไม่ค่อยชอบทำกันแล้ว 8) ชุมชนของคนไทยที่มีชาวอาเซียนทำงานหรืออาศัยอยู่ในชุมชน พบว่าไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงและไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อคนในชุมชน เพราะส่วนใหญ่ชาวอาเซียนจะอยู่กันเป็นกลุ่ม (9) ปัญหาบางประการที่เกิดจากชาวอาเซียนเข้ามาพักอาศัยในชุมชน คือ การลักขโมยผลไม้จากต้นไม้ของชาวบ้านในชุมชน ความสกปรกของชุมชนที่มีมากขึ้น 1.2 ความครอบคลุมทางสังคม 1) คนไทยในชุมชนเป้าหมายส่วนใหญ่ ยอมรับว่ากลุ่มชาวอาเซียนที่ทำงานหรือพักอาศัยในชุมชนเป็นสมาชิกของชุมชน จากเหตุผล 5 ประการคือ ต้องใช้แรงงานจากชาวอาเซียน เพื่อความเป็นมนุษยธรรม เป็นวิถีชีวิตในกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำกิจกรรมร่วมกัน อาศัยอยู่ร่วมกันมาเป็นเวลานานจนเกิดความกลมกลืน และ ชาวอาเซียนส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้คนในชุมชน 2) บางพื้นที่ เช่น พื้นที่ สสว. 9 ถึงแม้ว่าคนในชุมชนจะยอมรับว่าชาวอาเซียนที่อยู่อาศัย ในชุมชนเป็นสมาชิกของชุมชน แต่ก็มีคนไทยบางส่วนไม่สามารถยอมรับได้ในพฤติกรรมของ ชาวอาเซียน และมองกลุ่มคนชาวอาเซียนเหล่านี้ว่าเป็นภาระของชุมชนด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทะเลาะวิวาท และ การก่ออาชญากรรม 3) ลักษณะความครอบคลุมทางสังคมในชุมชนที่มีชาวอาเซียนอาศัยอยู่ยังมีความไม่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังขาดประเด็นการมีส่วนร่วมสาธารณะของชาวอาเซียนในชุมชน 1.3 ผลกระทบทางสังคมเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การวิจัยฉบับนี้ได้ประยุกต์ใช้องค์ประกอบความมั่นคงของมนุษย์ 12 มิติ ในปี พ.ศ. 2554 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (2556: 4) ร่วมกับมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (สำนักงานมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2556: 3) อย่างไรก็ตาม จากการสังเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในองค์ประกอบ 12 มิติด้านความมั่นคงของมนุษย์ มีประเด็นผลกระทบทางสังคมที่มีนัยสำคัญ 5 มิติ ดังนี้ 1) มิติที่อยู่อาศัย พบว่า ทุกชุมชนเป้าหมายกำลังเผชิญกับปัญหาสุขอนามัยบริเวณที่พักอาศัยของชาวอาเซียน ที่ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการบุกรุกพื้นที่รกร้างของเอกชนและพื้นที่สาธารณะ 2) มิติด้านสุขภาพ พบว่า ชาวอาเซียนมีปัญหาด้านสุขอนามัย เช่น เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากการขาดการดูแลสุขอนามัยที่ดี ไม่สนใจในการป้องกันโรค 3) มิติด้านการมีงานทำและรายได้ พบว่า การที่ชาวอาเซียนเข้ามาทำงานหรือพักอาศัยในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนส่วนใหญ่ดีขึ้น 4) มิติด้านศาสนาและวัฒนธรรม พบว่า ความแตกต่างด้านภาษาเป็นอุปสรรคสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวอาเซียนกับคนไทยในชุมชน 5) มิติด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชากรกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มองว่าการเข้ามาอยู่อาศัยในชุมชนของชาวอาเซียนก่อให้เกิดผลกระทบด้านจำนวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรมที่รุนแรงหรือเล็กน้อย รวมถึงเรื่องความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน

  2. มาตรการ กลไกเพื่อการคุ้มกันผลกระทบทางสังคมจากการอยู่ร่วมกันของชาวอาเซียนในประเทศไทย 2.1 เสริมสร้างกลไกเพื่อการสื่อสารระหว่างกันในชุมชน ภาครัฐควรส่งเสริมการอบรมภาษาไทยให้กับชาวอาเซียนหรืออาจกำหนดเป็นเงื่อนไขในการต่อใบอนุญาตทำงาน ในขณะเดียวกัน คนไทยในชุมชนที่มีชาวอาเซียนอาศัยอยู่ก็ควรได้รับการฝึกอบรมภาษาอาเซียนเพื่อให้สามารถสื่อสารระหว่างกันได้และเกิดความเข้าใจระหว่างกัน 2.2 พัฒนาระบบสุขอนามัยให้ชาวอาเซียน อาทิ การป้องกันโรค การรักษาโรค การดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ 2.3 พัฒนาความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและกฎหมายที่สำคัญ ชาวอาเซียนควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย มารยาทไทย และการประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสมสอดคล้องกับสังคมไทย รวมถึงสิ่งที่ทำได้และห้ามทำในสังคมไทย และภาครัฐควรส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้ด้านกฎหมายที่จำเป็นแก่ชาวอาเซียน เช่น กฎหมายจราจร เป็นต้น 2.4 จัดทำฐานข้อมูลชาวอาเซียนในชุมชน เพื่อควบคุม ดูแลความปลอดภัยในชุมชนและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสวัสดิการชาวอาเซียน 2.5 ส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างคนไทยและชาวอาเซียนในชุมชน เพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เช่น การจัดเวทีการประชุมเสวนาเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกัน กิจกรรมร่วมกันด้านกีฬา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น 2.6 สนับสนุนการจัดระเบียบด้านที่อยู่อาศัยในชุมชนที่มีชาวอาเซียนอาศัยอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชนและสุขอนามัยที่ถูกต้องในที่อยู่อาศัยของชาวอาเซียน

  3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3.1 ควรมีมาตรการในการรณรงค์ด้านการส่งเสริมสุขอนามัยที่ถูกต้อง ในที่อยู่อาศัยของชาวอาเซียน โดยการประสานงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดการเสริมสร้างมาตรการพัฒนาระบบสุขอนามัยให้ชาวอาเซียน อาทิ การป้องกันโรค การรักษาโรค การดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ จัดระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อในกลุ่มชาวอาเซียน และจัดบริการวางแผนครอบครัว ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และส่งเสริมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในจังหวัดชายแดนและจังหวัดชั้นในที่มีชาวอาเซียนอาศัยอยู่อย่างชัดเจน 3.2 ควรดำเนินการเชิงบูรณาการ ร่วมกับกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดทำฐานข้อมูลชาวอาเซียนและผู้ติดตามที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในชุมชนทั่วประเทศ มาจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแบบเบ็ดเสร็จ (OSS: One Stop Service) นอกจากนั้นแล้วข้อมูลเหล่านี้ควรได้รับการแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชุมชนต่าง ๆ ที่มีชาวอาเซียนอาศัยอยู่ เพื่อประโยชน์ด้านการควบคุม ติดตามและช่วยเหลือในด้าน ต่าง ๆ แก่ชาวอาเซียน ในขณะเดียวกันหากมีกรณีการย้ายเข้า-ออก หรือปัญหา อื่น ๆ เช่น อาชญากรรม โรคติดต่อ ความรุนแรงในครอบครัว การค้ามนุษย์ เป็นต้น อปท. และผู้นำชุมชนจะได้รายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างทันท่วงที 3.3 ควรมีนโยบายให้หน่วยงาน พม. ร่วมกับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (อพม.) พัฒนาเครือข่ายร่วมกับชาวอาเซียนในพื้นที่ และ ให้มีการประสานงานเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเครือข่ายชาวอาเซียนในพื้นที่กับเครือข่ายคนไทยในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการดูแล ส่งเสริมและพัฒนาสวัสดิการสังคมแก่ชาวอาเซียน และเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างชาวอาเซียนและคนไทยในชุมชน รวมถึงการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และในภาวะฉุกเฉิน 3.4 ควรมีนโยบายให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (อพม.) รณรงค์เสริมสร้างเจตคติที่ดี และความเข้าใจระหว่างกันของคนไทยและชาวอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สามารถจัดกิจกรรมผ่านการมีส่วนร่วมในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมในท้องถิ่น เช่น การจัดงานประเพณีลอยกระทง หรือการจัดงานประเพณีประกวดชุดแต่งกายประจำท้องถิ่น รวมถึงการจัดงานประเพณีแข่งขันด้านทักษะต่าง ๆ ที่สามารถเข้าร่วมได้ทุกเพศทุกวัย ภายใต้กติกาของความสมเหตุสมผล 3.5 ควรมีนโยบายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) ดำเนินการเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในชุมชนที่มีชาวอาเซียนอาศัยหรือทำงานอยู่ ในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อให้ส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคมในชุมชนและการมีชุมชนเข้มแข็ง อันจะนำไปสู่สัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างคนไทยกับชาวอาเซียนในการยอมรับทางสังคมก่อเกิดซึ่งความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 3.6 ควรมีนโยบายให้การเคหะแห่งชาติพัฒนาที่อยู่อาศัยเฉพาะเพื่อให้ชาวอาเซียนได้เช่าอาศัยอยู่ โดยการจัดตั้งเป็น “ศูนย์เอื้ออาทร” เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการจัด โซนนิ่งสำหรับชาวอาเซียน ทั้งยังให้บริการด้านต่าง ๆ กล่าวคือเป็นการนำผลการดำเนินงานมาพัฒนาต่อยอดไปสู่จังหวัดอื่น ๆ 3.7 ควรมีนโยบายให้หน่วยงาน พม. มีการดำเนินการเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด เช่น แรงงานจังหวัด กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัด สภาทนายความ วัฒนธรรมจังหวัดและมหาวิทยาลัย ในการส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมไทยและกฎหมายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในประเทศไทยให้แก่ชาวอาเซียนในเขตพื้นที่นั้น ๆ เช่น กฎจราจร ประเพณีการประพฤติปฏิบัติที่ควรทำในสังคมไทยรวมถึงพฤติกรรมที่ทำได้และห้ามทำ/ ไม่สมควรทำในสังคมไทย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างชาวอาเซียนและคนไทยในชุมชน สมควรที่จะมีให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมชาวอาเซียนแก่คนไทยในชุมชนด้วย

Organizations :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Metadata last updated :
November 1, 2022
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลโครงการศึกษาชุมชนอาเซียนในประเทศไทย : มาตรการ กลไก เพื่อการคุ้มกันผลกระทบทางสังคม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title ASEAN Community Study Program in Thailand : Measures, Mechanisms for Social Impact Protection
Groups อื่น ๆ
Tags กลไก การคุ้มกันผลกระทบทางสังคม ความครอบคุลมทางสังคม ประชาคมอาเซียน ผลกระทบทางสังคม มาตรการ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 010401
องค์ประกอบ 010401V01
ปัจจัย 010401F0102
Sustainable Development Goals SDG0103
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) -
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. เกิดมาตรการ กลไก ในการการคุ้มกันผลกระทบทางสังคมจากการอยู่ร่วมกันของชาติอาเซียนในประเทศไทย 2. เกิดแนวทางในการคุ้มกันผลกระทบทางสังคมจากการอยู่ร่วมกันของคนชาติอาเซียนในประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการ
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3
อีเมลนักวิจัย tpso-3@m-society.go.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานธนาคารเวลาของประเทศไทย 10 recent views
โครงการวิจัยนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานธนาคารเวลาของประเทศไทยเป็นโครงการใหม่ที่มี ความสำคัญ และมีความซับซ้อนเชิงเทคนิคและกระบวนการดำเนินงาน...
กรมกิจการผู้สูงอายุ
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 7 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
การประชุมเวทีสำหรับเด็กอาเซียน ครั้งที่ 6 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และข้อเสนอแนะการประชุม 2 recent views
กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้แทนเด็ก ผู้ดูแลเด็ก เข้าร่วมการประชุมเวทีสำหรับเด็กอาเซียน ครั้งที่ 6...
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
งานวิจัยนวัตกรรมประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงสู่การคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมเพื่อผู้ด้อยโอกาส 2 recent views
-
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.