Text Size Languages
โครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี
โครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี

โครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรีได้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนในระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษา ได้เกิดเครือข่ายของเยาวชนที่หล่อหลอมคุณภาพความรู้คิด และจิตใจให้เป็นเยาวชนที่รู้รักหวงแหนทรัพยากรในท้องถิ่นของตน อนาคตจะเป็นผู้ใหญ่ที่ถ่ายทอดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับครอบครัว สังคมโดยรอบเป็นเครือข่ายในวงกว้างต่อไป

Организации :
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Последно ажурирани мета податоци :
Ноември 27, 2024
Податоци и ресурси

Openness

0 out of 5

{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Одете до ресурс

All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Извор : ชุดข้อมูลโครงการส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
Опис
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Последно ажурирани податоци
Формат
Големина на датотека
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Речник на податоци
Колона Тип Ознака Опис
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Дополнителни информации
English Title sustainable conservation of natural resources
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก P1311 - ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายระดับหมุดหมาย P131103 - สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Групи การพัฒนาการเรียนรู้
Тагови ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง 1. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) 2. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี 3. โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 4. โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 5. โรงเรียนอนุบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1. เพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจ ต่อคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรักหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดราชบุรี 2. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เยาวชนรู้บทบาทหน้าที่พลเมืองด้าน กำหนดคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี 3. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนแสดงออกทางความคิดด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นการสร้างเครือข่ายเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเยาวชนในจังหวัดราชบุรี
รายละเอียดการดำเนินงาน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี จังหวัดราชบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าแก่งกระจาน ผืนป่าที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แหล่งที่ 6 และเป็นลำดับที่ 3 ของมรดกทางธรรมชาติของไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2564 นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของพี่น้องชาวจังหวัดราชบุรี การปลูกฝั่งความรัก ความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญให้มีความมั่นคง ยั่งยืน จำเป็นต้องสร้างกระบวนการตระหนักรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่ เนื่องจากเยาวชนเป็นแรงที่ขับเคลื่อนประเทศชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีความสำคัญยิ่งที่ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในสังคมดำเนินไปด้วยความสำเร็จลุล่วง ซึ่งสามารถสังเกตในหลากหลายกิจกรรมหรืองานอะไรก็ตามมักจะเห็นเยาวชน มีส่วนร่วมกับงานเหล่านี้อยู่เสมอ เยาวชนจึงเป็นหัวใจในการสร้างการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ผู้คนที่สนใจ ทำให้การกิจกรรมนั้นๆ สามารถสร้างเครือข่ายจนทำให้เกิดพลังของสังคม ในการพัฒนา และสร้างการเรียนรู้ พร้อมกับสร้างจิตสำนึกที่ดี มีทัศนคติที่ดีในสังคม ซึ่งการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้สังคมน่าอยู่ เนื่องจากการดำเนินชีวิตปกติสุขของสังคมต้องมีการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติที่เป็นแหล่งสร้างออกซิเจน ที่จำเป็นของมนุษยชาติ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 3 (บ้านโป่ง) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้เยาวชนเกิดความรัก ความหวงแหน และ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้สนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เยาวชนได้มีการเรียนรู้ และเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนของตนเอง ภายใต้การดำเนินการในรูปแบบของกิจกรรมกลุ่มค่ายเยาวชนจิตอาสา มีการส่งเสริม กระตุ้น และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน และการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น ศูนย์ศึกษาฯ จึงมีความเหมาะสมต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติสำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ผลการดำเนินงาน 1. ผลการสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนค่ายส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมได้คิดเป็นร้อยละ 88.04 เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า พฤติกรรมของเยาวชนที่เข้าร่วมและมีการแสดงออกมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีแววตารอยยิ้ม และพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีความสุขร้อยละ 98.33 ปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกชาวค่าย และบุคคลอื่นร้อยละ 95.38 และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมร้อยละ 95.00 ตามลำดับ 2. สรุปผลการสังเกตพฤติกรรมเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนค่ายส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี จำแนกเป็นรายด้าน โดยภาพรวมนักเรียนทำกิจกรรมได้ร้อยละ 88.66 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของพฤติกรรมที่เยาวชนแสดงออกมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านความสุข (Happiness) ร้อยละ 95.00 ด้านทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น (Relationship Skill) ร้อยละ 93.75 และด้านตระหนักต่อสังคม (Social Awareness) ร้อยละ 88.89 ตามลำดับ 3. ผลการประเมินระดับการเรียนรู้ของเยาวชนค่ายส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนในจังหวัดราชบุรี จำแนกเป็นรายกิจกรรมพบว่า โดยภาพรวมเยาวชนมีระดับการเรียนรู้มากกว่าร้อยละ 80 ในทุกกิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) อธิบายได้ - เข้าใจดี (ร้อยละ 91.23) 2) ไม่แน่ใจ (ร้อยละ 7.45) 3) อธิบายไม่ได้ - ไม่เข้าใจ (ร้อยละ 1.32)
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ [u'\u0e1e\u0e37\u0e49\u0e19\u0e17\u0e35\u0e48\u0e40\u0e1b\u0e49\u0e32\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e22\u0e21\u0e35\u0e04\u0e27\u0e32\u0e21\u0e1e\u0e23\u0e49\u0e2d\u0e21\u0e17\u0e32\u0e07\u0e01\u0e32\u0e22\u0e20\u0e32\u0e1e \u0e40\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e30\u0e2a\u0e21\u0e01\u0e31\u0e1a\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e2b\u0e19\u0e48\u0e27\u0e22\u0e07\u0e32\u0e19\u0e20\u0e32\u0e04\u0e23\u0e31\u0e10\u0e43\u0e2b\u0e49\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2a\u0e19\u0e31\u0e1a\u0e2a\u0e19\u0e38\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23\u0e21\u0e35\u0e17\u0e34\u0e28\u0e17\u0e32\u0e07\u0e41\u0e25\u0e30\u0e40\u0e1b\u0e49\u0e32\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e22\u0e17\u0e35\u0e48\u0e0a\u0e31\u0e14\u0e40\u0e08\u0e19']
บทเรียนจากการดำเนินงาน เนื่องจากการจัดกิจกรรมมีจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นรุ่น และคัดเลือกโรงเรียนไว้แล้วทำให้ต้องมีการคัดเลือกนักเรียนเป็นบางคน จึงไม่ได้มาร่วมโครงการทั้งระดับชั้น ส่งผลให้เด็กบางคนไม่ได้รับโอกาสในการร่วมกิจกรรม
Видливост Јавно
ผู้จัดทำข้อมูล นายทศพร คล้ายมี
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล tcvs999@gmail.com
Состојба active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย ในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรพื้นถิ่นอย่างยั่งยืน 3 recent views
การศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยในการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากร พื้นถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาเอกสาร สัมภาษณเชิงลึก...
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
โครงการขยายจากการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่ง (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา 3 recent views
อำเภอบางไทร ได้ปฏิบัติตามข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ในการดำเนินการจัดทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน(Sustainable Village) เป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ...
กรมการปกครอง
โครงการพัฒนาพื้นที่หนองเล็งทรายแบบอารยเกษตร สู่วิถียั่งยืน 4 recent views
หนองเล็งทรายพื้นที่แหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนรอบพื้นที่หนองเล็งทราย เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน มีพื้นที่กว่า 5,563 ไร่...
กรมการปกครอง
หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน สู่ความมั่นคงทางอาหาร 4 recent views
กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา...
กรมการปกครอง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.