Text Size Languages
บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยา ที่ปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ทัณฑสถาน
บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยา ที่ปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ทัณฑสถาน

การศึกษา “บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยา ที่ปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ทัณฑสถาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ ทัณฑสถาน และเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับไปกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานราชการตำแหน่ง ผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยา ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามปลายเปิด (Open-ended Question) จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 ราย และแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) จากผู้อำนวยการส่วน/หัวหน้าฝ่ายของเรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ (ยกเว้น ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์) จำนวน 553 ราย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้อำนวยการส่วน/หัวหน้าฝ่ายของเรือนจำ/ ทัณฑสถาน พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้อำนวยการส่วน/หัวหน้าฝ่ายของเรือนจำ/ทัณฑสถาน มีความเห็นสอดคล้องกัน โดยพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์มีความเหมาะสมที่จะมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายบริหารทั่วไปมากที่สุด มีผู้เห็นด้วยจำนวน 415 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.0 รองลงมา คือ ฝ่ายสวัสดิการผู้ต้องขัง มีผู้เห็นด้วยจำนวน 292 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.8 และสถานพยาบาลเป็นฝ่าย ที่มีผู้เห็นด้วยน้อยที่สุด โดยมีผู้เห็นด้วยจำนวน 139 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.1 ส่วนพนักงานราชการตำแหน่งนักทัณฑวิทยามีความเหมาะสมที่จะมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายทัณฑปฏิบัติมากที่สุด มีผู้เห็นด้วย จำนวน 458 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.8 รองลงมาคือ ฝ่ายจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง มีผู้เห็นด้วยจำนวน 281 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.8 และสถานพยาบาลเป็นฝ่ายที่มีผู้เห็นด้วยน้อยที่สุด โดยมีผู้เห็นด้วยจำนวน 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.2 ทั้งนี้ การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่พนักงานราชการทั้งสองตำแหน่ง ควรให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของข้าราชการที่มีความรู้ ความชำนาญ คอยกำกับดูแลและตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลก่อนนำไปใช้รายงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง

Organizations :
กรมราชทัณฑ์
Metadata last updated :
October 6, 2022
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยา ที่ปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ทัณฑสถาน โดยกรมราชทัณฑ์
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title -
Groups กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 220201
องค์ประกอบ 220201V03
ปัจจัย 220201F0309
Sustainable Development Goals SDG1603
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) จากการศึกษา “บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยา ที่ปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ทัณฑสถาน” ทำให้ทราบบทบาทหน้าที่ของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และนักทัณฑวิทยาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ณ เรือนจำ/ทัณฑสถาน และนำไปกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และ นักทัณฑวิทยา ในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (หลัก) ประเด็นที่ 22 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และแผนย่อยของแผนแม่บทฯ ประเด็น พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยการพัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบให้มีความทันสมัยและสอดคลองกับสถานการณที่เปลี่ยนแปลงไป กระบวนการยุติธรรมมีความสอดคลองกับหลักสากลและปฏิบัติได และมีงานวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรม
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. แนวทางการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์ 2. แนวทางการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานราชการตำแหน่งนักทัณฑวิทยา 3. ข้อจำกัดในการบริหารจัดการพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และตำแหน่งนักทัณฑวิทยา 4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการพนักงานราชการตำแหน่งผู้ช่วยพนักงานราชทัณฑ์และตำแหน่งนักทัณฑวิทยา
พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดนนทบุรี
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย นางสาวสิริผกา ตรีศ๊ลสัตย์
อีเมลนักวิจัย nouig1513@gmail.com
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โครงการระบบบริการบัญชีเงินฝากผู้ต้องขังผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ 2 recent views
ในปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งาน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และการให้บริการประชาชน...
กรมราชทัณฑ์
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ 11 recent views
การศึกษา “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์” วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน...
กรมราชทัณฑ์
นายอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี 3 recent views
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.