Text Size Languages
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์

การศึกษา “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์” วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และเพื่อแสวงหาแนวทางในการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) แบ่งเป็น 1) ข้าราชการเรือนจำ/ ทัณฑสถาน กรมราชทัณฑ์ จำนวน 1,294 ราย และ 2) ข้าราชการส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ จำนวน 166 ราย สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. ข้าราชการเรือนจำ/ทัณฑสถาน กรมราชทัณฑ์ ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 40 - 50 ปี อายุราชการตั้งแต่ 1 – 5 ปี มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกันและไม่มีบุตร เป็นข้าราชการประเภทวิชาการระดับชำนาญการ และข้าราชการประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน และส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ฝ่ายบริหารทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ทั่วไป โดยกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) การเพิ่มค่าตอบแทนเวรรักษาการณ์ 2) การสนับสนุนเครื่องแบบปีละ 2 ชุด 3) การเพิ่มค่าเสี่ยงภัย 4) การสนับสนุนอาหารให้ครบ 3 มื้อ แก่เจ้าหน้าที่เวรรักษาการณ์ 5) การจัดสรรบ้านพักให้เพียงพอ ระดับของตัวแปร พบว่า ตัวแปรตาม คือ ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง สำหรับตัวแปรอิสระ พบว่า แรงจูงใจในภาพรวม อยู่ในระดับสูงมาก มาตรฐานคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่ 8 ด้านในภาพรวม อยู่ในระดับสูง และความยึดมั่นผูกพันในงานในภาพรวม อยู่ในระดับสูงมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจ มาตรฐานคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่ 8 ด้าน และ ความยึดมั่นผูกพันในงาน มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการเรือนจำ/ทัณฑสถานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยแรงจูงใจ มาตรฐานคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่ 8 ด้าน และความยึดมั่นผูกพันในงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการเรือนจำ/ทัณฑสถานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสวัสดิการเพิ่มเติม สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านที่พักของทางราชการ : ควรจัดสรรบ้านพักให้เพียงพอพร้อมทั้งดูแลความสะอาดและความสมบูรณ์ของบ้านพัก 2) ด้านความสะอาดของสถานที่ทำงาน : ควรให้ความสำคัญในการดูแลความสะอาด ความสะดวกสบาย และความเป็นระเบียบของห้องพักเวร ความสะอาดของห้องน้ำ ห้องอาบน้ำของเจ้าหน้าที่ ความสะอาดของน้ำประปา จัดทำห้องน้ำและความสะอาดของห้องน้ำสำหรับป้อมรักษาการณ์ 3) ด้านสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน : ควรได้รับกำลังใจจากผู้บังคับบัญชา มีบรรยากาศที่ดี ในการทำงาน มีรางวัลตอบแทนการปฏิบัติงาน หมุนเวียนงาน มอบหมายงานให้เท่าเทียมกัน และมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก : ควรจัดทำมุมสำหรับให้เจ้าหน้าที่พักผ่อนหย่อนใจ สร้างหลังคาของสถานที่จอดรถ ห้องพักผ่อน อาบน้ำ แต่งตัว สำหรับผู้ที่พักเวร มีห้องออกกำลังกายสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เข้าเวร ห้องหรือสถานที่ออกกำลังกายของเจ้าหน้าที่ ห้องรับรองสำหรับบุคคลภายนอก และ จัดรถรับ-ส่งเจ้าหน้าที่มาทำงานและเข้าเวรรักษาการณ์ 5) ด้านความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน : ควรมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานเรือนจำ จัดหาอุปกรณ์สำนักงานที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ จัดหาอุปกรณ์สำหรับควบคุมผู้ต้องขังและวิทยุสื่อสารที่เพียงพอ จัดสรรงบสำหรับซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ 6) ด้านค่าตอบแทน : ควรเพิ่มค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ (ค่าเวร) และค่าเสี่ยงภัย เพิ่มค่าเสี่ยงภัยกรณีพิเศษ เช่น ค่าเสี่ยงภัยของพัศดีเวร เพิ่มค่าตอบแทนเพิ่มเติม เช่น ค่าตอบแทนวิชาชีพเฉพาะ หรือค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานด้านการพัสดุ โดยค่าเสี่ยงภัยไม่ต้องนับชั่วโมง การปฏิบัติงานใกล้ชิดผู้ต้องขัง มีค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานต่างภูมิลำเนา ค่าตอบแทนเบี้ยกันดาร หรือค่าครองชีพรายเดือน 7) ด้านความเท่าเทียมของสวัสดิการระหว่างเรือนจำต่างๆ : ควรจัดอาหารเที่ยงหรือ อาหารให้ครบ 3 มื้อ จัดอาหารที่มีคุณภาพและมีปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภค จัดสวัสดิการเครื่องอุปโภคบริโภคในทุกเรือนจำ แจกรองเท้าทำงานปีละ 1 คู่ แจกรองเท้าบู๊ทสำหรับฤดูฝน แจกผ้าตัดเครื่องแบบ 8) ด้านกองทุนและการเงิน : ควรจัดกองทุนกู้ยืม ขยายวงเงินกู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
การกู้ยืมฉุกเฉินดอกเบี้ยต่ำที่เรือนจำ เพิ่มวงเงินกู้ในเรือนจำ กองทุนออมทรัพย์เพื่อวัยเกษียณ มีเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยปลอดดอกเบี้ย 15 ปี ยกเว้นดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จัดทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพให้แก่เจ้าหน้าที่ หรือจัดทำประกันกลุ่ม 9) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ : ควรตรวจประเมินสุขภาพจิตและร่างกายของเจ้าหน้าที่ ทุกๆ 6 เดือน และตรวจประเมิน COVID-19 ทุก 14 วัน 10) ด้านการพัฒนาตนเอง : ควรจัดสื่อการเรียนรู้ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ หลักสูตร การฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน นำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหรือฝึกอบรม ส่งเสริมการศึกษา ฝึกอบรม และกิจกรรมศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก 11) ด้านกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ : ควรจัดกิจกรรมที่มีครอบครัวเจ้าหน้าที่ได้มีส่วนร่วมด้วย จัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และกับหน่วยงานภายนอก และจัดกิจกรรมท่องเที่ยวและนันทนาการ 12) ด้านครอบครัวเจ้าหน้าที่ : ควรจัดให้เจ้าหน้าที่ย้ายกลับภูมิลำเนา มีการส่งเสริมให้ครอบครัวมีรายได้เสริม การตรวจสุขภาพให้แก่ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ จัดสนามเด็กเล่นให้ลูกเจ้าหน้าที่ สร้างศูนย์เด็กเล็กของเรือนจำ มีห้องหรือสถานที่ออกกำลังกายให้ครอบคลุมถึงครอบครัวเจ้าหน้าที่ เงินช่วยเหลือบุตรเจ้าหน้าที่ ทุนเรียนดี จัดรถรับ-ส่งนักเรียน 13) ด้านการบริหารงานของกรมราชทัณฑ์ : ควรจัดแบ่งหรือกระจายงบประมาณ เพื่อจัดสวัสดิการให้แก่เรือนจำที่มีรายได้น้อย จัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอ เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เก่า ได้ย้ายกลับภูมิลำเนา แทนการให้เจ้าหน้าที่บรรจุใหม่ได้บรรจุตามภูมิลำเนาของตนเอง เพิ่มวันลากรณีพิเศษ เช่น ลาดูแลบิดามารดาที่เจ็บป่วยครั้งละ 15 วัน วันหยุดพิเศษของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น ส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ ออกมาตรการการเข้าเวรเป็นกะหรือผลัดๆ ละ 8 ชั่วโมง อบรมสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่เจ้าหน้าที่ มีสวัสดิการด้านอาวุธปืน ผ่อนอาวุธปืน จำหน่ายเครื่องหมายและรองเท้าปฏิบัติงานที่มีคุณภาพดี

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะต่อนโยบายกรมราชทัณฑ์ : ควรกำหนดนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพของครอบครัวเจ้าหน้าที่เป็นลำดับแรก เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ แทนการตอบแทนที่เป็นเงิน สรรหาบุคลากรที่รักในอาชีพราชทัณฑ์ สนับสนุนข้าราชการย้ายกลับภูมิลำเนา เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และสร้างความสุขให้ครอบครัว นอกจากนี้ ในการพิจารณาเลื่อนระดับควรคำนึงถึงผู้ที่รับราชการมานานหรือประสบการณ์ในงานสูง และวางระบบอาวุโสให้ชัดเจนเป็นมาตรฐาน สร้างค่านิยมความเคารพกันตามลำดับอาวุโส กำหนดเกณฑ์การเลื่อนระดับที่เป็นธรรมและระยะเวลาในการดำเนินการไม่ควรใช้เวลาเกิน 3 เดือน มีกระบวนการดำเนินการทางวินัยที่เป็นธรรม เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมโดยตรงในการพิจารณา เลื่อนเงินเดือน ควรสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในสายความก้าวหน้าให้แก่ข้าราชการต่างประเภท นอกจากนี้ควรกำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับค่าตอบแทนต่างๆ โดยไม่ต้องนับชั่วโมงการปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง เพิ่มค่าตอบแทนให้เท่าเทียมกับหน่วยงานอื่นในกระบวนการยุติธรรม กำหนดอัตราค่าเสี่ยงภัยแยกตามประเภทของเรือนจำ ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างค่าตอบแทนสายงานแพทย์กับผู้คุม กำหนดชั่วโมงการทำงานและกรอบอัตรากำลังโครงสร้างเวรรักษาการณ์ของเรือนจำให้เหมาะสม พิจารณาการทำงานเป็นผลัดหรือกะ นโยบายเพิ่มวันหยุดให้แก่ข้าราชการเรือนจำ/ทัณฑสถาน เพิ่มสัดส่วนเงินปันผลจากการทำงานผู้ต้องขังให้เจ้าหน้าที่เป็นร้อยละ 50 อีกทั้งปลูกฝังหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จิตสาธารณะ การให้บริการ ความเสียสละ ความภาคภูมิใจในอาชีพ ความรักความผูกพันที่มีต่อองค์การ แก่ข้าราชการบรรจุใหม่ พร้อมทั้งให้ความสำคัญแก่ความปลอดภัย สุขภาพกาย และสุขภาพใจของเจ้าหน้าที่
กรมราชทัณฑ์ควรกำหนดมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เรือนจำทุกแห่งถือปฏิบัติเหมือนกัน จัดทำและประเมินผล SOP ด้านสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งจัดสวัสดิการระหว่างเรือนจำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการศึกษา model การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของประเทศที่พัฒนาแล้วมาประยุกต์ใช้ในบริบทงานราชทัณฑ์ไทย เพื่อลดความแออัดในเรือนจำ ควรลดบทบาท งานราชทัณฑ์ที่มิใช่บทบาทงานของเรือนจำลง นอกจากนี้นโยบายการบริหารงานควรมีความต่อเนื่องกัน แม้จะเปลี่ยนผู้บริหาร มีการปรับใช้สื่อดิจิทัลมาช่วยในการประสานงานหรือการทำงานมากยิ่งขึ้น 2) ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของเรือนจำ : ผู้บัญชาการเรือนจำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เปิดโอกาส และรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ควรบริหารงาน ด้วยความยุติธรรม รับฟังข้อมูลด้วยใจเป็นกลาง ประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ด้วยความเป็นธรรมตามผลการปฏิบัติงานจริง มีความชัดเจนในนโยบายหรือข้อสั่งการต่างๆ รวมถึงสามารถ ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการทำงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ นอกจากนี้ผู้บัญชาการเรือนจำควรรู้เท่าทัน และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยเหลือในการปรับกระบวนงาน สนับสนุนการเข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม เมื่อมีโอกาส ควรให้คำชมเชย ให้กำลังใจ และใส่ใจดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา อีกทั้งควรให้ความสำคัญกับทุกงานอย่างเท่าเทียมกัน มอบหมายงานให้สอดคล้องกับความสามารถของบุคคล จัดระบบหมุนเวียนงาน เช่น เวียนงานทุก 2 ปี เพื่อให้ข้าราชการได้เรียนรู้งานที่หลากหลาย จัดสรรอัตรากำลังแต่ละฝ่ายให้สอดคล้องกับปริมาณงาน ดูแลคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่และเตรียมความพร้อมด้านอัตรากำลัง อาคารสถานที่ อุปกรณ์สำนักงาน นอกจากนี้เรือนจำควรจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกาย กิจกรรมเชื่อมความสามัคคี การทำงานเป็นทีม กีฬา นันทนาการ อบรม สัมมนา ท่องเที่ยวร่วมกัน ลดการจัดกิจกรรมนอกเวลาราชการ หากมิใช่ภารกิจเร่งด่วนจริงๆ และจัดกิจกรรมที่ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

3) ข้อเสนอแนะต่อตัวบุคคลของข้าราชการราชทัณฑ์ : ควรนำหลักธรรมมาใช้ในการทำงาน เช่น การคิดแบบปล่อยวาง ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิก่อนนอน เดินสายกลางไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป มองโลกในแง่ดี บำเพ็ญทาน รักษาศีล เป็นต้น นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต เพื่อไม่ให้เป็นหนี้สินเกินตัว รู้จักการบริหารเงิน ปรับเปลี่ยนความคิดให้สอดคล้องกับจิตวิญญาณ ความเป็นข้าราชการราชทัณฑ์ ให้คิดว่าที่ทำงานก็เหมือนบ้าน หยุดพักระหว่างทำงานโดยการเดินตรวจตรา ออกกำลังกายพร้อมผู้ต้องขังครั้งละ ๓๐ นาที ทำงานด้วยความสนุก เพื่อสร้างสมดุลให้ตนเองกับครอบครัว แยกเวลางานกับครอบครัวให้ได้ ไม่ควรนำงานกลับไปทำต่อที่บ้าน หาเวลาในการออกกำลังกาย ท่องเที่ยว นัดพบเพื่อนฝูง 2. ข้าราชการส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ ข้อมูลทั่วไป พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 40 – 49 ปี อายุราชการตั้งแต่ 1 – 9 ปี มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกันและไม่มีบุตร เป็นข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ และข้าราชการประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน และส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่สังกัดกลุ่มตรวจสอบภายในและสำนักงานเลขานุการกรม โดยกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) การจัดสรรที่พักให้แก่เจ้าหน้าที่ 2) การตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน 3) การพัฒนาระบบการทำงานให้ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ และสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องPrinter เครื่องแฟกซ์ โทรศัพท์ เป็นต้น 4) การเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษ 5) มุมคาเฟ่ เครื่องดื่ม ชา กาแฟและเบเกอรี่ พร้อมที่นั่ง ระดับของตัวแปร พบว่า ตัวแปรตาม คือ ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง สำหรับตัวแปรอิสระ พบว่า แรงจูงใจในภาพรวม มาตรฐานคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่ 8 ด้านในภาพรวม และความยึดมั่นผูกพันในงานในภาพรวม อยู่ในระดับสูง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจ มาตรฐานคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่ 8 ด้าน และความยึดมั่นผูกพันในงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการส่วนกลางกรมราชทัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยแรงจูงใจและความยึดมั่นผูกพันในงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการส่วนกลางกรมราชทัณฑ์ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสวัสดิการเพิ่มเติม สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านที่พักของทางราชการ และสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพ : ควรจัดสรรที่พักให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนกลางกรม และที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่บรรจุใหม่ซึ่งไม่สามารถ เบิกค่าเช่าบ้านได้ หรือให้เจ้าหน้าที่บรรจุใหม่เบิกค่าเช่าบ้านได้ จัดเครื่องอุปโภคบริโภครายเดือน เช่น ข้าวสาร ไข่ น้ำมันพืช เป็นต้น ให้เท่าเทียมกับเรือนจำ มีสวัสดิการตัดเครื่องแบบให้เจ้าหน้าที่ ลดราคาสินค้าร้านสวัสดิการ สวัสดิการอาหารกลางวันฟรีเช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหม หรือส่วนลดค่าอาหารกลางวัน ค่าเครื่องดื่มให้แก่ข้าราชการส่วนกลางกรม

2) ด้านความสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวก และความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ ในการปฏิบัติงาน : ควรปรับปรุงห้องน้ำใหม่ทั้งหมด ติดเครื่องปรับอากาศในโรงอาหาร ให้ความสำคัญกับ ความสะอาดของสถานที่ทำงาน ควรมีการกำจัดหนูเป็นประจำ สร้างหลังคาของสถานที่จอดรถ ปรับปรุง ห้องออกกำลังกาย สร้างลานกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย มีบริการรถรับ-ส่งเจ้าหน้าที่มาทำงาน หรือรับจากท่าน้ำนนท์ สถานีรถไฟฟ้า มายังกรมราชทัณฑ์ และจัดสรรอุปกรณ์สำนักงานให้เจ้าหน้าที่เบิกใช้ระหว่างที่ต้องปฏิบัติงานภายในที่พัก เช่น คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต เป็นต้น 3) ด้านค่าตอบแทน และกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ : ควรเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษของเจ้าหน้าที่ส่วนกลางให้เหมือนหน่วยงานอื่นในกระทรวงยุติธรรมโดยไม่ต้องเป็นสายวิชาชีพเฉพาะ หรือเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษของเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง มีโบนัส นอกจากนี้ควรมีค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามการลงเวลาจริง และจัดกิจกรรมกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ภายในส่วนกลางกรม เพื่อสร้างความรู้จักและความสามัคคี ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะต่อนโยบายกรมราชทัณฑ์ : ควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในส่วนกลาง กรมราชทัณฑ์ให้เพียงพอและสอดคล้องกับภาระงาน ควรจัดมุมผ่อนคลายในส่วนกลางกรม หรือสวัสดิการอื่นๆ โดยศึกษาเพิ่มเติมจากภาคเอกชน หรือเปิดเพลงเบาๆ ระหว่างพักเที่ยง เพื่อผ่อนคลายความเครียดของเจ้าหน้าที่ ควรให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและสุขภาพจิตที่ดี ให้ความเอาใจใส่ในทุกระดับ ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคล และสนับสนุนความสัมพันธ์แบบพี่น้องมากกว่านายกับลูกน้อง ควรจัดให้มีจิตแพทย์มาให้คำปรึกษาหรือประเมินสุขภาพจิตของเจ้าหน้าที่ เพื่อลดความเครียดในชีวิต นอกจากนี้ควรจัดสวัสดิการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลตามช่วงอายุ เช่น สวัสดิการอาหารกลางวัน ที่พักหรือค่าเช่าบ้านสำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ ค่าตัดเครื่องแบบ ทุนสนับสนุนการศึกษาบุตร เป็นต้น ควรเปิดโอกาสให้มีโอกาสย้ายกลับภูมิลำเนา สนับสนุนให้นำระบบการทำงานแบบดิจิทัลมาใช้ในการทำงานอย่างจริงจัง และจัดสรรเครื่องสำรองไฟให้เพียงพอ และแก้ไขปัญหาสัญญาณ WIFI ไม่เสถียร และควรกำหนดให้มีค่าตอบแทนพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ส่วนกลางกรม และการให้ผู้รักษาการในตำแหน่งอยู่ตรงตามต้นสังกัดจริง 2) ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของกอง : ผู้บังคับบัญชาควรมอบหมายงานและ เฉลี่ยจำนวนงานให้เหมาะสมกับวิทยฐานะ ความรู้ ความสามารถของบุคคล พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำงานให้เพียงพอ เสริมสร้างพลังบวก และความสามัคคีให้แก่เจ้าหน้าที่ ควรติดต่องานนอกเวลาราชการ เท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะทางแอปพลิเคชัน Line หลีกเลี่ยงการก้าวล่วงสิทธิและเวลาส่วนบุคคล รวมทั้ง การบังคับให้มาทำงานที่ไม่สำคัญเร่งด่วนจริงๆ ในวันหยุดราชการ ควรสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามกรอบนโยบายที่วางไว้ และลดการแทรกแซงงานอื่น ที่เกินความรับผิดชอบของหน่วยงาน 3) ข้อเสนอแนะต่อตัวบุคคลของข้าราชการราชทัณฑ์ : ควรปฏิบัติงานโดยยึดมั่นใน กฎระเบียบ คุณธรรม และจริยธรรม ปลูกฝังความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน ยึดหลักทางสายกลาง ให้ความสำคัญกับชีวิตส่วนตัวและการทำงานควบคู่กัน สร้างสมดุลให้ตนเองกับครอบครัว แยกเวลางานกับครอบครัวให้ได้

Organizations :
กรมราชทัณฑ์
Metadata last updated :
March 17, 2022
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ โดยกรมราชทัณฑ์
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title -
Groups การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ
Tags ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการ
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 200501
องค์ประกอบ 200501V04
ปัจจัย 200501F0401
Sustainable Development Goals SDG1606
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ ในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์อย่างมืออาชีพโดยยึดมั่นในกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึง เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีรวมทั้งผลตอบแทนที่เหมาะสม สามารถตอบสนองการให้บริการแก่ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (หลัก) ประเด็นที่ 22 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีเป้าหมายในการอำนวยความยุติธรรมเป็นไปด้วยความเสมอภาค โปร่งใส เป็นธรรม ทั่วถึง และปราศจากการเลือกปฏิบัติ และประเด็น (รอง) ประเด็นที่ 20 การบริการประชาชน และประสิทธิภาพภาครัฐ มีเป้าหมายในการบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการ ตลอดจนภาครัฐมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาประยุต์ใช้
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย เพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนภารกิจของกรมราชทัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จ จึงควรศึกษาถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากประเด็นขาดแคลนอัตรากำลัง อาทิ ปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการ ผลสัมฤทธิ์การพัฒนามาตรฐานคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่ 8 ด้าน สำรวจแนวทางการจัดสวัสดิการใหม่ๆ สำรวจแนวทางใหม่ๆ ในการจัดเวรรักษาการณ์ของเรือนจำที่สามารถลดความตรากตรำได้ หรือสำรวจข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการจะส่งเสริมให้ข้าราชการกรมราชทัณฑ์มีคุณภาพชีวิต การทำงานที่ดียิ่งขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อนำผลลัพธ์ของการศึกษามาวิเคราะห์ในเชิงสถิติ นำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาสังเคราะห์เป็นแนวทางในบริบทของการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ นอกจากนี้การดำเนินโครงการศึกษาฯ ยังสอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมราชทัณฑ์
อีเมลนักวิจัย hr_correct@hotmail.com
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รายงานการประเมินการดำเนินงานของกรมกิจการเด็กและเยาวชน 2564 2 recent views
ผลการประเมินจะเป็นการนำเสนอตามคำถามหลักในการประเมินตามกรอบแนวคิดในการประเมินผล ซึ่งจาแนกได้เป็น 10 ประเด็นดังนี้ 1. การประเมินบริบทและสถานการณ์ที่แผนงานโครงการต้องตอบสนอง 2....
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
รายงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการของกรมกิจการเด็กและเยาวชน 2565 4 recent views
รายงานการประเมินผลการดำเนินงานของกรมกิจการเด็กและเยาวชนตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ....
กรมกิจการเด็กและเยาวชน
นายอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 4 recent views
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2 recent views
การประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.