Text Size Languages
ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเขตการดูแลรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย และจังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นหน่วยระดับปัจเจกบุคคล (Individual Unit) ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ให้ข้อมูลวิจัย 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้สูงอายุ จำนวนทั้งสิน 400 คน ที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ 7 จังหวัด ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ คือ เจ้าหน้าที่รัฐสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ระดับบริหาร) จำนวน 3 คน, ผู้สูงอายุ (ตัวแทนประธานกลุ่มผู้สูงอายุ) จำนวน 1 คน, และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ จำนวน 9 คน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นผู้ที่เข้าใจและสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกซึ่งสะท้อนบริบทและสถานการณ์ผู้สูงอายุเผชิญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในเขตเมืองและชนบทได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 65 ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 68 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็น ร้อยละ 43.3 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 44.5 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน จำนวน 98 คน ไม่มีโรคประจำตัวจำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5ไม่มีความพิการ จำนวน 369 คน คิดเป็นร้อยละ 92.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 53.0 มีรายรับต่อเดือนของตนเองน้อยกว่า 1,500 บาท จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8มีแหล่งที่มาของรายรับส่วนใหญ่มาจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 34.3 จำนวนหนี้สินของตนเองมากกว่า 46,564 บาท จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 81.0 มีหนี้สินของครอบครัวมากกว่า 78,261 บาท จำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 70.8 ส่วนใหญ่ไม่มีหนี้สินจำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 49.5 ผู้ตอบแบบสอบถามอาศัยอาศัยอยู่จังหวัดขอนแก่นมากที่สุด ไม่ได้เป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ หรือกลุ่มกิจกรรมทางสังคมอื่น จำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 มีผู้ดูแล จำนวน 291 คน คิดเป็นร้อยละ 72.8 และใช้เวลาในการใช้อุปกรณ์สื่อสาร/อินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2.65 - 40 นาที จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 36.8 ในภาพรวมมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับน้อย โดยระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ มีลักษณะพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 และเมื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความต้องการการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ มี 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้สูงอายุโดดเด่นที่สุดเรียงไปตามลำดับ ได้แก่ ทักษะและประสบการณ์ในอดีต (มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตามในระดับ 0.349) รองมาคือ ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (เท่ากับ 0.182) และตามด้วยการเข้าถึง (เท่ากับ 0.117) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ทักษะและประสบการณ์ในอดีตมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถประยุกต์ใช้หรือสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว เมื่อใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือนวัตกรรมชิ้นใหม่ก็จะใช้เวลาปรับตัวไม่นาน ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ถือเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความต้องการสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ผู้สูงอายุจะยอมรับในสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันหนึ่งอันใด ก็ต่อเมื่อผู้สูงอายุสามารถ “สามารถทำได้ด้วยตนเอง” โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือตัวท่านเองหากผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ โครงข่ายอินเตอร์เน็ต และองค์ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยยกระดับความต้องการสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และที่สำคัญปัจจัยการเข้าถึงยังเชื่อมโยงกับปัจจัยทั้งสองตัวที่กล่าวมา และสำคัญไปยิ่งกว่า ผลการสัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่า ภูมิลำเนาหรือแหล่งที่อยู่ของผู้สูงอายุ (เขตเทศบาลหรือนอกเขตเทศบาล) เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญอีกด้วย ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลน่าสนใจเพิ่มเติมไปจากผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เกี่ยวกับปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุ คือ การสนับสนุนทั้งทางสังคมและทางเทคนิคของคนรอบข้าง “คนในครอบครัว” “ลูก-หลาน” “เพื่อน” “ผู้นำ(ชุมชน)” และ “อาสาสมัครชุมชน” เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงอุปกรณ์ ข้อมูล และทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ คนเหล่านี้ถือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือและส่งต่อข้อมูลด้านสวัสดิการทางเทคโนโลยีที่จะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้รับรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้
จากผลการวิจัย สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุกำลังเผชิญความท้าทายในสังคมที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในการดำเนินในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เมื่อวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งลงไปในข้อมูลวิจัยที่สะท้อนอุปสรรคปัญหาที่เป็นตัวขวางกั้นระหว่างผู้สูงอายุและเทคโนโลยีและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีที่สูงเกินไป หรือจุดให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ครอบคลุม หรือการขาดความรู้ ความสามารถหรือโอกาสที่จะได้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยเพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้แก่ผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งความกลัวที่จะทำธุรกรรมออนไลน์ ดังนั้นการศึกษาทำความเข้าใจในความต้องการของผู้สูงอายุ จึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าและปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อภาครัฐจะสามารถนำไปใช้ออกแบบเครื่องมือทางนโยบายเพื่อจัดสวัสดิการสังคมและความช่วยเหลือที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มากที่สุด จากผลการศึกษา จะเห็นว่า ผู้สูงอายุยังต้องการให้มีการจัดสรรทั้งอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต พร้อมกับการจัดอบรมให้องค์ความรู้และข้อมูลจำเป็นต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การจัดสรรสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมและบริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งที่เป็นตัวเงินงบ และที่ไม่เป็นตัวเงิน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาครัฐอาจต้องใช้แนวทางการจัดการปกครองแบบเครือข่าย (Governance Approach) โดยดึงเครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีความถนัดและทรัพยากรที่แตกต่างกันเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน จึงจะสามารถยกระดับศักยภาพของผู้สูงอายุให้สูงขึ้นได้ เครือข่ายสำคัญ ประกอบด้วย ครอบครัว เอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดสรรสวัสดิการสังคมและบริการให้เหมาะกับลักษณะความต้องการตามระดับศักยภาพและความพร้อมของผู้สูงอายุในเขตเมืองและชนบท เช่น การอุดหนุนเงินจากภาครัฐสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนที่ให้บริการโครงข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต แต่ยังต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลรอบข้างผู้สูงอายุที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้สูงอายุร่วมกับการจัดอบรมของภาครัฐ อุปกรณ์อัจฉริยะทางด้านการแพทย์และเครื่องไฟฟ้าเพื่อการดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกัน หากเครื่องมีราคาสูง ภาครัฐต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากภาคเอกชนมากขึ้น เพราะในปัจจุบัน รัฐยังคงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะจัดสรรด้วยตนเอง รัฐจัดสรรได้เพียงอุปกรณ์พื้นฐานเท่านั้น ซึ่งก็ยังคงมีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้สูงอายุอยู่ เช่น ไม้เท้า เครื่องช่วยฟัง และรถเข็น เป็นต้น การพัฒนาต่อยอดจากกลไกและเครือข่ายความร่วมมือดั้งเดิมในระดับชุมชน ก็อาจเป็นแนวทางการจัดสวัสดิการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลนี้ได้ เช่น กองทุนสวัสดิการชุมชนในตำบล อาจใช้เป็นฐานในการพัฒนาเป็นระบบเพื่อการส่งเสริมสวัสดิการสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนให้เหมาะสมกับความจำเป็นความต้องการที่แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุเอง เราจะเห็นได้ว่า กองทุนนี้เป็นการสร้างหลักประกันให้ผู้สูงอายุตามรูปแบบระบบจ่ายเงินสมทบ (Contributory) ที่ผู้สูงอายุจ่ายเงินสมทบส่วนหนึ่ง และภาครัฐ รวมทั้งภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคเอกชน สามารถร่วมสบทบเพิ่มเติมส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการสนับสนุนและสร้างความยั่งยืนให้แก่กองทุน ในการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบนี้ รัฐไม่จำเป็นต้องจัดฝ่ายเดียวและมุ่งเน้นหลักการ "สวัสดิการการให้อย่างมีคุณค่า และรับอย่างมีศักดิ์ศรี"

คำสำคัญ ผู้สูงอายุ, สวัสดิการทางสังคม, เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Organizations :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Metadata last updated :
October 4, 2023
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลความต้องการการจัดสวัสดิการทางสังคมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Elderly welfare Requirements in Technology and Innovation for Northeast in Thailand
Groups ความมั่นคง
Tags ผู้สูงอายุ สวัสดิการทางสังคม
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 170201
องค์ประกอบ 170201V01
ปัจจัย 170201F0102
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 170001
Sustainable Development Goals SDG0103 SDG0103
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ดำเนินการวางแผนเพื่อหาแนวทางในการรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาแนวทางการบูรณาการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม และส่งเสริมศักยภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อันจะทำให้การวางแผนการทำงานสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศเพื่อการรองรับสังคมผู้สูงอายุได้ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างกลยุทธ์ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยสามารถพัฒนาตนเองได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมอย่างสมบูรณ์ได้ในอนาคต เป้าหมายของแผนงานนี้
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้ มุ่งเน้นการสร้าง และพัฒนาการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในอนาคต ครอบคลุมทุกมิติ (เศรษฐกิจ/สังคม/สุขภาพ/สิ่งแวดล้อม/เทคโนโลยีนวัตกรรม) ที่สอดคล้องประสานกันอย่างเป็นองค์ครอบคลุมกลุ่มคนทุกช่วงวัยที่อยู่ร่วมกันในครอบครัว ชุมชน และสังคม ที่จะร่วมกันพัฒนาแนวทางการส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ปัญหาในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง พัฒนาศักยภาพตนเอง เพื่อให้สามารถปรับตัวรองรับกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างยั่งยืน
พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดขอนแก่น
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย นางสาวเกษสุดา เพชรก้อน
อีเมลนักวิจัย Narmvan.ketsuda@gmail.com
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 10 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ความท้าทายต่อระบบสวัสดิการสังคมไทย 5 recent views
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 11.6 ล้านคน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 4 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.