Text Size Languages
รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง
รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันและปัญหาในการดำรงชีวิต และความต้องการบริการทางสังคมของผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว 2) เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นต้องดูแลสมาชิกในครัวเรือน อาจจะด้วยความเต็มใจหรือไม่เต็มใจ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินโครงการบูรณาการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดูจำนวน 1 คน ส่วนใหญ่เป็นบุตร (บุตรสาว/ บุตรชาย/ บุตรเขย/ บุตรสะใภ้) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องเป็นผู้ที่มีภาระในการเลี้ยงดูครอบครัว เนื่องจากผู้ที่อยู่ในความดูแลไม่มีอาชีพ/ รายได้ ปัจจุบันมีแหล่งที่มาของรายได้หลักจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รายได้บุคคลและรายได้ครัวเรือนต่อเดือน น้อยกว่า 3,000 บาท มีรายจ่ายบุคคลต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท ส่วนรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน 3,000 – 6,000 บาท มีหนี้สินบุคคลและหนี้สินครัวเรือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป 2) ระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของผู้สูงอายุในภาพรวมมีความรุนแรงในระดับน้อย (x ̅ = 2.47, S.D. = 1.21) ส่วนระดับความรุนแรงของสภาพปัญหาของผู้ที่อยู่ในความดูแลของผู้สูงอายุ ในภาพรวมมีความรุนแรงในระดับน้อย (x ̅ = 2.35, S.D. = 1.27) เช่นเดียวกัน 3) การเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและบริการด้านอื่น ๆ ได้ในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 79.2) สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลที่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคม จำแนกได้เป็น 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เข้าถึงบริการจากโรงพยาบาล/ รพ.สต. มากที่สุด ในด้านการรักษาพยาบาล (ร้อยละ 59.0) ภาคประชาชน/ ภาคประชาสังคม เข้าถึงบริการจากเพื่อนบ้าน/ คนในชุมชน มากที่สุด ในด้านการให้คำปรึกษา และข้อมูลข่าวสาร (ร้อยละ 43.8) ส่วนภาคเอกชน ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท/ ห้างร้าน (ร้อยละ 59.5) 4) ความต้องการที่จะได้รับบริการทางสังคม ในภาพรวมมีความต้องการระดับน้อย (x ̅ = 2.27, S.D. = 1.68) โดยด้านที่ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในความดูแลมีความต้องการมากที่สุด คือ ด้านบริการทางสังคมทั่วไป (x ̅ = 2.91, S.D. = 1.71) โดยผู้สูงอายุมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในที่สาธารณะมากที่สุด (x ̅ = 3.01, S.D. = 1.74) สำหรับผู้ที่อยู่ในความดูแลมีความต้องการความสะดวกในการเข้าถึงบริการของภาครัฐมากที่สุด (x ̅ = 3.34, S.D. = 1.60) 5) รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านรายได้และการมีงานทำ ส่งเสริมการ Upskill/Reskill ทางด้านอาชีพ, จัดบริการ Day Care 2. ด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมการดูแลสุขภาพทุกช่วงวัยอย่างมีระบบและยั่งยืน 3. ด้านการศึกษา/การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สร้างแหล่งเรียนรู้และช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลาย 4. ด้านที่อยู่อาศัย มีแผนชุมชนเรื่องบ้านมั่นคงและพื้นที่ปลอดภัยรองรับสังคมสูงวัย 5. ด้านนันทนาการ จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ 6. ด้านกระบวนการยุติธรรม สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง สร้างศูนย์ให้ความช่วยเหลือในชุมชน 7. ด้านบริการทางสังคมทั่วไป เสริมสร้างการรับรู้สิทธิ และสร้างนักเฝ้าระวังภัยในชุมชน

Organizations :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Metadata last updated :
March 30, 2023
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลรูปแบบที่เหมาะสมของการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Appropriate Model of Social services for The elderly who taking care of family : A study of group in lower central Thailand
Groups ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม
Tags การจัดบริการทางสังคม บริการทางสังคม ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัว
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 150202
องค์ประกอบ 150202V02
ปัจจัย 150202F0201
Sustainable Development Goals SDG1002
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) -
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1. เกิดการขับเคลื่อนด้านการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัวในระดับพื้นที่ 2. แนวทางการขับเคลื่อนด้านการจัดบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูครอบครัวในระดับพื้นที่ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษาที่ได้ไปกำหนดเป็นแผนงานระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนท้องถิ่นต่อไป
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3
อีเมลนักวิจัย tpso-3@m-society.go.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นวัตกรรมสังคมด้านพฤฒพลังในการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุใน พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 4 7 recent views
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน 13 recent views
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของสภาเด็กและเยาวชนให้เกิดความเข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 7 recent views
Abstract The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระบวนการสร้างคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การยกระดับชุมชนอย่างบูรณาการในยุค 4.0 6 recent views
อภิปรายผล 1. คุณค่าผู้สูงอายุด้านความสามารถ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 40.5) โดยส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพ และเลี้ยงดู ตนเองได้ (ร้อยละ...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.