Text Size Languages
แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน
แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาภัยพิบัติที่ประสบมากที่สุดจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ปัญหาไฟป่าหมอกควัน และ ปัญหาน้ าป่าไหลหลาก โดยมีองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติทั้ง 2 ประเภทภัยพิบัติ ได้แก่ ปัจจัยส่งเสริมการบริหารของภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 35 ปัจจัย โดยสามารถจำแนกออกเป็นปัจจัยส่งเสริมก่อนเกิดภัยพิบัติ 21 ปัจจัย ปัจจัยส่งเสริมขณะเกิดภัยพิบัติ 11 ปัจจัย ปัจจัยส่งเสริมหลังเกิดภัยพิบัติ 3 ปัจจัยและปัจจัยอุปสรรคการบริหารของภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 3 ปัจจัย จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า การยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติจำเป็นต้องนำหลักการบริหาร 4M’s 7S’s กระบวนการ POSDCoRB การจัดการความเสี่ยง (Risk management) และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อาสาสมัคร มูลนิธิ ฯลฯ โดยการมีส่วนร่วมจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติ 3) การมีส่วนร่วมในการน าแผนไปปฏิบัติ และ4) การมีส่วนร่วมในการทบทวนประเมินผล

ข้อเสนอแนะหลักของการศึกษา คือ รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศได้ดำเนินพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นเนื่องสภาวะการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมในการรับมือต่อภัยพิบัติดังกล่าวหากเกิดขึ้นหรือมีการขยายความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละพื้นที่

Организации :
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Последно ажурирани мета податоци :
Септември 29, 2023
Податоци и ресурси

{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Одете до ресурс

All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Извор : ชุดข้อมูลแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ เขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Опис
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Последно ажурирани податоци
Формат
Големина на датотека
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Речник на податоци
Колона Тип Ознака Опис
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Дополнителни информации
English Title The guideline for developing a participatory management of the community elderly care network to escalating disaster response in upper north of Thailand.
Групи การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
Тагови การบริหารแบบมีส่วนร่วม ผูู้สูงอายุ ภัยพิบัติ ภาคีเครือข่าย
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230201
องค์ประกอบ 230201V03
ปัจจัย 230201F0302
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 230002
Sustainable Development Goals SDG050B SDG050B
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีความมุ่งหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้กำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต ได้สนองตอบนโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในเรื่องของการให้ความสำคัญในการช่วยดูแลคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ แกนนำอาสาสมัคร ชุมชน องค์กรเครือข่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย ชุมชนมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติในชุมชนภายใต้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้ง มีแนวทางในการยกระดับการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์ทางภัยพิบัติในชุมชนภายใต้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งส่งผลให้ ภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมีความพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นชุมชนต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ
Видливост Јавно
Лиценца Open Government
นักวิจัย ธนู ธิแก้ว
อีเมลนักวิจัย thanuthi185142@gmail.com
Состојба active
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.