โครงการพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมใน พื้นที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมใน พื้นที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
Data source cannot be displayed.
Извор : ชุดข้อมูลโครงการพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมใน พื้นที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Опис | |
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล | |
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล | |
Последно ажурирани податоци | |
Формат | |
Големина на датотека | |
File Validation | |
File Validation |
Речник на податоци
Колона | Тип | Ознака | Опис |
---|---|---|---|
{{field.id}} | {{field.type}} | {{field.info.label}} | {{field.info.notes}} |
Дополнителни информации
English Title | Development of the quality of production processes of cultural products in the area of Tha Kradan Subdistrict Sanam Chai Khet District Chachoengsao Province |
หมุดหมายที่เกี่ยวข้องหลัก | P1307 - ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ |
เป้าหมายระดับหมุดหมาย | P130701 - วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตและแข่งขันได้ |
Групи | เศรษฐกิจฐานราก |
Тагови | พัฒนาคุณภาพชีวิต |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา |
หน่วยงานดำเนินการและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง | 1. สำนักงานเกษตรอำเภอสนามชัยเขต 2. วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง บ้านทุ่งเหียง หมู่ 18 3. วิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกบ้านนางาม บ้านนางาม หมู่ 19 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา 4. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต |
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน | เพื่อพัฒนาคุณภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน |
รายละเอียดการดำเนินงาน | การพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ประกอบการตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัจจัยการผลิต และการตลาด ได้แก่ คน วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต และการตลาดในรูปแบบ Online รวมถึงการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นมีขั้นตอนดังนี้ - ลงพื้นที่ประชุมและวางแผนร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการ และภาคีเครือข่าย - สำรวจปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มผู้ประกอบการ - กำหนดแนวทางการพัฒนาตามกรอบตัวชี้วัด - สรุปผลการดำเนินการ การดำเนินการมีกลุ่มผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ตัวแทนของหน่วยงานท้องถิ่นได้แก่ พัฒนาชุมชนอำเภอสนามชัยเขต เกษตรอำเภอสนามชัยเขต องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระดาน 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลท่ากระดาน 3) อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต |
ผลการดำเนินงาน | ผลผลิต (Output) : จำนวนกลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วย - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง หมู่ 18 - กลุ่มทอผ้านายาว หมู่ 15 - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกบ้านนางาม หมู่ 19 จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ - บรรจุภัณฑ์มาตรฐานที่ได้รับการพัฒนา 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ผ้าขาวม้าลายช้าง - พัฒนามาตรฐานกระบวนการผลิต 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าขาวม้าทอมือ(ลายช้าง) ผ้าพันคอทอมือลายช้าง (ผ้าสไบ) และผลิตภัณฑ์จากกก (เสื่อกกพับ และกระเป๋าเสื่อกก) แผนที่ทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเชิงท่องเที่ยว จำนวน 2 แผนที่ ได้แก่ - แผนที่ชุมชนบ้านทุ่งเหียง - แผนที่ชุมชนบ้านนายาว และบ้านนางาม ผลลัพธ์ (Outcome) : คุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่มีการพัฒนากระบวนการผลิต จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ - ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ(ลายช้าง) - ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอทอมือลายช้าง (ผ้าสไบ) - ผลิตภัณฑ์ผ้าห่มทอมือ - ผลิตภัณฑ์จากกก (เสื่อกกพับ และกระเป๋าเสื่อกก) รายได้ภาคครัวเรือนในฐานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเดือนละ 3,500 บาท - กลุ่มทอผ้านายาว รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น เดือนละ 3,000 บาท - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกบ้านนางาม รายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเดือนละ 2,500 บาท ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ประกอบไปด้วย - ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ(ลายช้าง) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) 197:2557 - ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอทอมือลายช้าง (ผ้าสไบ) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) 247:2557 - ผลิตภัณฑ์จากกก (เสื่อกกพับและกระเป๋าเสื่อกก) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) 7:2559 - ผลิตภัณฑ์ผ้าห่มทอมือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) 201:2553 (ผ่านมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2566) - ผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้ารับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2567 (OTOP Product Champion : OPC) จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ประกอบไปด้วย - ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ(ลายช้าง) สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion: OPC) OTOP 4 ดาว - ผลิตภัณฑ์ผ้าพันคอทอมือลายช้าง (ผ้าสไบ) สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion: OPC) OTOP 4 ดาว - ผลิตภัณฑ์ผ้าห่มทอมือ สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion: OPC) OTOP 5 ดาว - ผลิตภัณฑ์จากกก (เสื่อกกพับ และกระเป๋าเสื่อกก) สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion: OPC) OTOP 2 ดาว การประเมินติดตาม : - Gross Village Happiness : GVH ร้อยละ 81.14 (n16) - Social Return on Investment : SROI เท่ากับ 1 : 1.15 |
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ | [u'\u0e1e\u0e37\u0e49\u0e19\u0e17\u0e35\u0e48\u0e40\u0e1b\u0e49\u0e32\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e22\u0e21\u0e35\u0e04\u0e27\u0e32\u0e21\u0e1e\u0e23\u0e49\u0e2d\u0e21\u0e17\u0e32\u0e07\u0e01\u0e32\u0e22\u0e20\u0e32\u0e1e \u0e40\u0e2b\u0e21\u0e32\u0e30\u0e2a\u0e21\u0e01\u0e31\u0e1a\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e2b\u0e19\u0e48\u0e27\u0e22\u0e07\u0e32\u0e19\u0e20\u0e32\u0e04\u0e23\u0e31\u0e10\u0e43\u0e2b\u0e49\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2a\u0e19\u0e31\u0e1a\u0e2a\u0e19\u0e38\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23', u'\u0e21\u0e35\u0e07\u0e1a\u0e1b\u0e23\u0e30\u0e21\u0e32\u0e13\u0e43\u0e19\u0e01\u0e32\u0e23\u0e2a\u0e19\u0e31\u0e1a\u0e2a\u0e19\u0e38\u0e19\u0e01\u0e32\u0e23\u0e14\u0e33\u0e40\u0e19\u0e34\u0e19\u0e42\u0e04\u0e23\u0e07\u0e01\u0e32\u0e23'] |
บทเรียนจากการดำเนินงาน | 1) จุดแข็ง การดำเนินงานโครงการในครั้งนี้พบจุดแข็งที่สำคัญนั้นคือ ชุมชนแต่ละชุมชนในพื้นที่รวมถึงหน่วยงานราชการในท้องถิ่นที่ได้ให้ข้อมูลที่สามารถบูรณาการร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 - 2567 การดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 ชุมชน และกลุ่มผู้ประกอบการให้ความสนใจในการผลิตสินค้าของตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อการแข่งขันทางการตลาด รวมถึงการมองเห็นต้นทุนการผลิตที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่กระบวนการกำหนดราคาจำหน่ายสินค้าได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น 2) จุดที่ควรพัฒนา กระบวนการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า(Value Chain) ในปัจจุบันมีความไม่สมดุลกันระหว่างการผลิตที่ต้องใช้วัตุดิบที่กระจายตัวและมีต้นทุนเริ่มต้นในกระบวนการผลิตมาก และการวิเคราะห์ Demand และ Supply ของผลิตภัณฑ์หรือของกลุ่มผู้ประกอบการ รวมถึงความเข้าใจในด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการขยายตัวของการตลาดสินค้าได้อย่างไร ด้านกลไกการการท่องเที่ยงที่ต้องการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ประกอบการเข้ากับการท่องเที่ยว จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวในพื้นที่ก่อน รวมถึงการสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวให้ชัดเจน เนื่องจากชุมชนในพื้นที่จะห่างจากเมืองฉะเชิงเทรา 120 กิโลเมตร การเดินทางท่องเที่ยวแบบ one day trip ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ด้านการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาทดแทนกลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเพิ่มสัดส่วนของกลุ่มคนคืนถิ่น หรือกลุ่มวัยกลางคนที่เข้ามาพัฒนาในการการตลาดในรูปแบบ Online เพื่อเป็นกลไกการขันเคลื่อนด้านการตลาดให้สอดคล้องกับการผลิต (มีกำลังการผลิตเพียงพอและการจำหน่ายสินค้ายังคงน้อย) 3) โอกาส จากจุดแข็งของพื้นที่มีชุมชนแต่ละชุมชนที่มีศักยภาพและต้องการการพัฒนาในส่วนที่ขาดหายไป การเสริมแรงเพื่อผลักดันศักยภาพของชุมชน ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ และโอกาสที่พบในพื้นที่คือ กลุ่มชุมชน ในแต่ละกลุ่มหมู่บ้านเปิดรับแนวคิด วิธีการ และการปฏิบัติการ โดยประยุกต์ร่วมกับภูมิปัญญา อัตลักษณ์ภายในพื้นที่ จากคุณค่ามาสู่มูลค่าเพิ่มผ่านรูปแบบของสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โอกาสด้านกลไกการตลาดที่มีรูปแบบ Online ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ลดการเดินทางเพื่อเข้ามาจำหน่ายสินค้าภายในชุมชนเมือง 4) อุปสรรค อำเภอสนามชัยเขต โดยเฉพาะพื้นที่บ้านนายาว บ้านนางาม และบ้านทุ่งเหียง เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอประมาณ 60 กิโลเมตร และตัวเมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา 120 กิโลเมตร โดยแต่ละหมู่บ้านมีความห่างไกลกัน การพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบของโครงการ ที่จะวัดความสำเร็จของการดำเนินงานจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการระยะยาว |
Видливост | Јавно |
ผู้จัดทำข้อมูล | นวรัตน์ ทัศนา |
อีเมลผู้จัดทำข้อมูล | nawarat.tas@rru.ac.th |
Состојба | active |
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
The research project on “Guidelines for improving the quality of life for the elderly in the local area by using the elderly school as a base” in the responsible areas of...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Abstract
The research project on “Guidelines for strengthening social networks to support the work of Children and Youth Council to be strong in area of Nakhon Ratchasima...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ชุมชนมีความต้องการในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรท้องถิ่น และกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน...
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Research project on “Social innovation on the Active Aging of the elderly in the area of responsibility of the Office of Academic Promotion and Support 4”, was created to study...
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์