PDF รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มป ...
การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งดำเนินการให้บรรลุตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนของพื้นที่กรณีศึกษา 4 จังหวัด พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านบริบทพื้นที่ กลไกการมีส่วนร่วม ความร่วมมือ ประเด็นและความพร้อมที่แตกต่างกัน โดยแต่ละจังหวัดมีรูปแบบ กลไกและจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายในลักษณะของสภา สมัชชา และภาคีเครือข่ายการศึกษา โดยความร่วมมือของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ฯลฯ ในพื้นที่ จากนั้นจึงแสวงหาความร่วมมือ ความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยมีรูปแบบของการมีส่วนร่วม (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาและปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างและกลไกหลัก โครงสร้างและกลไกรอง และโครงสร้างและกลไกสนับสนุน และ (3) ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย 3 ข้อเสนอ ได้แก่ ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของรัฐในการจัดการศึกษา เช่น ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ด้านงบประมาณและทรัพยากร การบริหารจัดการ ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา เช่น ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ด้านงบประมาณและทรัพยากร การบูรณาการและความร่วมมือ ข้อเสนอว่าด้วยบทบาทของเอกชนในการจัดการศึกษา เช่น ด้านงบประมาณ ทรัพยากร และกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม
Additional Information
Data last updated | December 30, 2021 |
---|---|
Format | |
File Size (ไบต์) | 25527211 |