Text Size Languages
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ

การวิจัยเรื่อง “แนวทางส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ในต่างประเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการทำงาน และพัฒนา แนวทางการส่งเสริมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ให้สามารถ ตอบสนองสถานการณ์และความต้องการของคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาสู่คู่มือ การทำงาน ตลอดจนส่งเสริมให้คนไทยในต่างประเทศเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ในการเป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ตามบทบาทภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์โดยระเบียบวิธีการวิจัย ครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ บุคคลที่เป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศมาเลเซีย และประเทศเยอรมนี ประเทศละ ๑๐ คน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐที่เกี่ยวขNองกับการทำงานของประเทศมาเลเซีย และประเทศเยอรมนี จำนวน ๒๐ คน และกลุ4มภาคีเครือข่ายในประเทศมาเลเซีย และประเทศเยอรมนี จำนวน ๑๐ คน ซึ่ง ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นใช้วิธีการสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมสนทนากลุ่ม ด้วยเครื่องมือการวิจัย ๓ รายการ ได้แก่ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาการดำเนินงาน ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อศึกษา การดำเนินงานการเป็นอาสาสมัคร และประเด็นสำหรับการประชุมสนทนากลุ่ม ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะนำไปสู่การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษา และภายหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นได้มีขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของขNอมูลก4อนที่จะนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน เชิงบรรยาย ด้วยค่าความถี่ และร้อยละ และการเขียนอธิบายข้อมูลเชิงพรรณนาที่มีหลักฐาน การสัมภาษณ์ประกอบจำแนกเป็นแต่ละประเด็นของการศึกษา ซึ่งผลการศึกษามีข้อมูล ดังนี้ ๑) รูปแบบกระบวนการทำงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ๑.๑) เส้นทางการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ จะมีบทบาทการเป็นอาสาสมัครเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ก็สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากการเชิญชวนของคนไทยที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร จากสถานทูต ตลอดจนการได้ข่าวสารประชาสัมพันธ์จากสื่อประเภทต่าง ๆ รวมทั้งบางส่วนได้รับ การอบรมจากหลักสูตรอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยตรงซึ่งจัดขึ้น ที่ต่างประเทศ ๑.๒) ลักษณะการทำงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศมีลักษณะ ของการดำเนินงานในการใหNความช่วยเหลือคนไทยจำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะ ประกอบด้วย การดำเนินงานในลักษณะกลุ่มหรือเครือข่ายที่ให้ความช่วยเหลือ แบ่งพื้นที่ในการทำงานเพื่อให้เกิด ความสะดวกสบายในการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที และตามความเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ และการดำเนินงาน ในลักษณะปัจเจกบุคคลที่เป็นการดำเนินงานด้วยอาสาสมัครคนเดียว ไม่ได้พึ่งพา สมาชิกคนอื่นในการให้ความช่วยเหลือ ทำงานอย่างเป็นอิสระ ๑.๓) บทบาทและคุณลักษณะของกลุ่มอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ บทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาคนไทยผู้มีปัญหา ทางสังคม การให้ความช่วยเหลือ ในการส่งตัวคนไทยกลับประเทศในกรณีต่าง ๆ การประสานข้อมูลกับเครือข่ายหรือหน่วยงาน ภายในประเทศ การให้ความช่วยเหลือคนไทยในการแปลภาษาทNองถิ่นเมื่อต้องติดต่อกับทางราชการ และการพาคนไทยไปติดต่อรับบริการจากหน่วยงานอื่น ๆ คุณลักษณะที่โดดเด่นของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ประกอบด้วย คุณลักษณะด้านความรู้ ที่มีความรู้พื้นฐานด้านกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ความรู้ด้านภาษา และวัฒนธรรม ของประเทศนั้น ๆ ความรู้ด้านขอบเขตของการให้ ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาในกรอบที่มีความเหมาะสม คุณลักษณะด้านทักษะที่มีทักษะ การสื่อสารซึ่งเน้นการรับฟัง และการโต้ตอบอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการใช้ภาษาที่สอดคล้องกับพื้นที่ ทักษะการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ทักษะการประสานงาน กับหน่วยงานต่าง ๆ ในสถานการณ์เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน ทักษะของการให้คำปรึกษาหรือเจรจาเพื่อให้ กำลังใจผู้ประสบปัญหา ทักษะการรวมกลุ่มกันในการดำเนินงาน และทักษะของการระดมทุนและคุณลักษณะที่ดี ได้แก่ มีความโอบอ้อมอารี มีความกระตือรือร้นในการให้ความช่วยเหลือ มีความเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง มีความอดทนในการทำงาน แม้ต้องเจอสภาวะที่มีความกดดันหรือยากลำบาก ก็ไม่ย่อท้อให้ความช่วยเหลือจนบรรลุผล มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้การทำงานประสานกับหน่วยงานราชการในต่างประเทศ ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ในการดำเนินงาน ๑.๔) เครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ เครือข่ายในประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย (๑) อาสาสมัครไทยในมาเลเซีย (๒) WCC Women for Change (๓) การช่วยเหลือคนตกทุกข์ในต่างประเทศ (๔) Cancer Survivor Malaysia (๕) สตรีไทยในจิตรา (๖) เครือข่ายคนไทยในมาเลเซีย (๗) กลุ่มคนไทยในรัฐปะลิส (๘) กลุ่มคนที่นับถือศาสนาพุทธที่วัดไทย ชุมชนวัดไทยในมาเลเซีย (๙) มูลนิธิสตรีและเด็ก (๑๐) สถานสงเคราะห์เด็ก (๑๑) กลุ่มจิตอาสา : คนไทยสยาม และ (๑๒) กลุ่มร้านอาหารไทย กลุ่มประมง กลุ่มคนที่ทำสวนป่ายาง เครือข่ายในประเทศเยอรมนี ประกอบด้วย (๑) ชมรมสื่อสัมพันธ์คนไทยในยุโรป TIE (๒) สมาคมธารา (๓) ชมรมผู้สูงวัย (๔) เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (๕) อพม.ต่างประเทศ ประเทศ เยอรมนี (๖) สมาพันธ์โลก นวดไทย และสปา (๗) สมาคมไทยสปาเยอรมนี (๘) ชมรมภูมิปัญญาไทย ด้านนวดไทย (๙) สมาคมการนวดไทย (๑๐) สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ (๑๑) สมาคม วิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศเยอรมนี (๑๒) สมาคมเครือข่ายคนไทยในต่างแดน NTO (๑๓) สมาคม ศาลาไทย Bielefeld (๑๔) สมาคมวัดป่าพุทธประธาน Kirschlengen (๑๕) สมาคมวัดธรรมวิหาร Hannover (๑๖) วัดโพธิธรรม เฮือส์ท (๑๗) วัดไทยมิวนิค (๑๘) วัดไทยโคโลญน์ (๑๙) วัดไทย นันแบรก (๒๐) วัดพุทธวิหาร (๒๑) ธรรมทูตคฤหัสถ์โลก (๒๒) พุทธสมาคมเบอร์ลิน (๒๓) ศูนย์การเรียนรู้ในวัดไทยเบอร์ลิน (๒๔) DSI Station Germany (๒๕) ชมรมหญิงไทย ในต่างแดน (๒๖) บ้านหญิงเบอร์ลิน (๒๗) สมาคมเก็ปเกมี (ช่วยเหลือผู้สูงอายุชาวเอเชียในเบอร์ลิน) (๒๘) โครงการต่อต้านความรุนแรงฯ และ (๒๙) พี่น้องชาวเยอรมันในโบสถ์คริสต์เตียน ๑.๕) ประโยชน์หรือสวัสดิการของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ในต่างประเทศ จากการศึกษาข้อมูลจากอาสาสมัครพบว่ายังไม่พบสวัสดิการที่ได้รับในรูปแบบ ที่ชัดเจน ซึ่งอาสาสมัครเห็นว่าไม่ได้เป็นสาระสำคัญเพราะทำงานด้วยความเต็มใจ และปรารถนาง ที่จะช่วยคนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสิ่งที่ได้รับเป็นการตอบแทนจะเป็น เรื่องของสิทธิประโยชน์มากกว่า ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น ๒ ด้าน คือ ความสะดวกในการติดต่อ ประสานงาน ขอความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในประเทศนั้นๆ ง่ายและรวดเร็วขึ้น และประโยชน์ในการรู้จักเครือข่ายการทำงานใหม่ๆ เพิ่มเติม ซึ่งช่วยต่อยอดการทำงานอาสาสมัคร และโอกาสอื่น ๆ ในการทำงานที่กว้างขวางมากขึ้น ๑.๖) ปัจจัยสำเร็จของการทำงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ปัจจัยสำเร็จของการทำงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ประกอบด้วย การมีเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทำให้ความช่วยเหลือ ได้อย่างรวดเร็ว การมีกฎหมายรองรับองค์กรอาสาสมัครทำให้การทำงานมีความสะดวก คุณลักษณะ เฉพาะของคนไทยที่มีจิตสาธารณะและเอื้อเฟื้อต่อคนไทยด้วยกันเองที่ประสบปัญหา ความเข้าใจ ทางวัฒนธรรม ของอาสาสมัคร และประสบการณ์เดิมจากการเป็นอาสาสมัครในหน่วยงานอื่น ๑.๗) ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ปัญหา และอุปสรรคของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ประกอบด้วย ความแตกต่าง ทางความคิดของบุคคลที่เป็นอาสาสมัครในการให้ความช่วยเหลือ จนบางครั้งสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการให้ ความช่วยเหลือ หรือความขัดแย้งในการปฏิบัติงานที่มีมุมมองต่างกัน การทำงานที่ยังไม่สอดประสานระหว่าง หน่วยงานภายในกระทรวง ทำให้การดำเนินงานขาดความคล่องตัว เวลาที่จำกัดในการทำงาน และขาดเครื่องมือในการช่วยทำงาน และการขาดผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๑.๘) ความต้องการของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ความต้องการของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ประกอบด้วย การได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น งบประมาณที่ ช่วยเหลือการทำงานในบางส่วนที่จำเป็น ความช่วยเหลือจากองค์กรภาครัฐที่เร่งด่วนในสถานการณ์ฉุกเฉิน คู่มือสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงาน ผู้ประสานงานจากส่วนกลางในการสนับสนุนการทำงาน เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ช่วยการทำงาน และช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ๒) แนวทางการส่งเสริมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ ๒.๑) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องแนะนำองค์ความรู้ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานให้เพียงพอแก่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ อาทิ ด้านกฎหมาย ข้อมูลเครือข่าย ทำเนียบหน่วยงาน กระบวนการทำงาน ในรูปแบบที่เหมาะสม การส4งเสริมองค์ความรู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์ Facebook เป็นต้น ๒.๒) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องชี้นำช่องทาง ในการส่งเสริมการมีทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ หรือสร้างแพลตฟอร์มที่รวบรวมแหล่งข้อมูลที่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สามารถเข้าถึง ค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ๒.๓) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องสร้างกลไกขับเคลื่อน ให้เกิดองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่สามารถใหNความช่วยเหลือทางด้านทุนทรัพย์ในการดำเนินงานอาสาสมัคร ๒.๔) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องเตรียมความพร้อม ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการทำความเข้าใจบริบทของประเทศต่าง ๆ กระบวนการการให้ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงการปรับเวลา ในการทำงานให้พร้อมทำงาน ได้ตามเขตเวลาของต่างประเทศ ๒.๕) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องทบทวนการใช้กฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับบริบทของการทำงาน ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ๒.๖) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรจัดทำคู่มือการทำงาน ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ โดยใช้กลไกของการจัดการ ความรู้ในแต่ละพื้นที่ของการดำเนินงาน ซึ่งในคู่มือควรประกอบไปด้วยกรณีศึกษา ขั้นตอนการทำงาน เครื่องมือที่จำเป็นในการทำงาน ข้อมูลหน่วยงานให้การสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศต้นทาง และประเทศปลายทาง ๒.๗) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องสร้างแพลตฟอร์มกลางในการเป็นศูนย์กลาง ของการทำงานทั้งในเชิงข้อมูล เครือข่าย ทำเนียบอาสาสมัครพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์และแนวปฏิบัติต่างๆที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ทันที ๒.๘) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องขับเคลื่อนให้เกิดศูนย์สำหรับการประสานงาน รวมถึงกำหนดผู้ประสานงานหลักที่เป็นตัวเชื่อมประสานระหว่าง อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศกับหน่วยงานต่าง ๆ ๒.๙) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดองค์กรภาคเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ทำหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือคุ้มครองอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในต่างประเทศ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา ๒.๑๐) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรพัฒนาหรือให้สวัสดิการกับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ เพื่อสร้าง แรงจูงใจ ในการเป็นอาสาสมัคร อาทิ การกู้ยืมเงิน หรือสวัสดิการที่คนไทยในต่างประเทศพึงได้ ๒.๑๑) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรมีช่องทางหรือกลไก การช่วยเหลือและให้คำปรึกษาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ทั้งในมิติของแนวปฏิบัติในการทำงานและการดูแลบำบัดทางอารมณ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงาน ๒.๑๒) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรสร้างแบรนด์ของการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับ และน่าเชื่อถือ เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้อาสาสมัคร ในต่างประเทศได้เข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครอย่างสม่ำเสมอ ๒.๑๓) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรขออนุญาต ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ อาทิ ศาสนสถาน เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์งานอาสาสมัครช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ หรือเป็นแหล่งรวมกลุ่มทำกิจกรรมช่วยเหลือ คนไทยในต่างประเทศ

Организации :
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Последно ажурирани мета податоци :
Ноември 9, 2023
Податоци и ресурси

{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Одете до ресурс

All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Извор : ชุดข้อมูลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในต่างประเทศ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Опис
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Последно ажурирани податоци
Формат
Големина на датотека
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Речник на податоци
Колона Тип Ознака Опис
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Дополнителни информации
English Title The Study of Guideline to Promote the Social Development and Human Security Volunteer in foreign country
Групи การต่างประเทศ
Тагови ต่างประเทศ
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 150101
องค์ประกอบ 150101V01
ปัจจัย 150101F0104
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 150001
Sustainable Development Goals SDG1607 SDG1607
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) ข้อมูลจากอาสาสมัครพบว่ายังไม่พบสวัสดิการที่ได้รับในรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งอาสาสมัครเห็นว่าไม่ได้เป็นสาระสำคัญเพราะการทำงานด้วยความเต็มใจ และปรารถนาที่จะช่วยคนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าสิ่งที่ได้รับการตอบแทนจะเป็นเรื่องของสิทธิประโยชน์มากกว่า ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 2 ด้าน คือ ความสะดวกในการติดต่อประสานงานขอความช่วยเหลือด้านต่างๆ จากหน่วยงานภายในประเทศนั้นๆ งานและรวดเร็วขึ้นและประโยชน์ในการรู้จักเครือข่ายการทำงานใหม่ๆเพิ่มเติม ซึ่งช่วยต่อยอดการทำงานอาสาสมัครและโอกาสอื่นๆในการทำงานที่กว้างขวางมากขึ้น การมีเครือข่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทำให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว การมีกฏหมายรองรับองค์กรอาสาสมัครทำให้การทำงานมีความสะดวก คุณลักษณะเฉพาะของคนไทยที่มีจิตสาธารณะและเอื้อเฟื้อต่อคนไทยด้วยกันเองที่ประสบปัญหา ความเข้าใจทางวัฒนธรรมของอาสาสมัคร และประสบการณ์เดิมจากการเป็นอาสาสมัครในหน่วยงานอื่น
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการทำงาน และพัฒนาแนวทางการส่งเสริมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในต่างประเทศ ให้สามารถตอบสนองสถานการณ์และความต้องการของคนไทยในต่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาสู่คู่มือการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้คนไทยในต่างประเทศเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการเป็นกลไกการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มคนไทยในต่างประเทศตามบทบาทภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
Видливост Јавно
Лиценца Open Government
นักวิจัย นางเบญจวรรณ บุตรเพชรรัตน
อีเมลนักวิจัย csv.dsdw@dsdw.go.th
Состојба active
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.