ผลการวิจัยได้นำเสนอสาระสำคัญ 5 ส่วนคือ 1) ผลการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มี ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19 2) ผลการศึกษาผลกระทบของ สถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ใน สถานการณ์โควิด-19 4) ผลการศึกษาความต้องการการจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์วิกฤตของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการ สถานศึกษา และ 5) เสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์วิกฤตที่ผ่านการวิพากษ์เชิงประเมินแล้ว จากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์วิกฤต การเร่งรัดพัฒนาครูและผลิตครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การเร่งรัดการพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม สื่อ และ การวัดประเมินผลให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์วิกฤติ การจัดให้มีศูนย์สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาในระดับพื้นที่ และจัดให้มีมาตรการดูแลความปลอดภัยแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เช่น อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค วัคซีน เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นแนวทางฟื้นฟูและพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ต่อการจัดการศึกษาให้ได้มากที่สุด รวมทั้งเพื่อการวางแผนพัฒนาการศึกษาที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
No issues