การอนุบาลลูกปลากดหลวง สมพร กันธิยะวงค์1*, ฐาปนพันธ์ สุรจิต1, วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์2 และ ประสาน พรโสภิณ1 1ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงใหม่ 2กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ บทคัดย่อ ศึกษาการอนุบาลลูกปลากดหลวงที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 โดยแบ่งเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนชนิดอาหารในการอนุบาลลูกปลากดหลวงวัยอ่อนให้ได้ขนาด 1 นิ้ว โดยแบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % ตลอดการทดลอง, ชุดการทดลองที่ 2 ให้ไรแดง 3 วันแล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 %, ชุดการทดลองที่ 3 ให้ไรแดง 6 วันแล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % และชุดการทดลองที่ 4 ให้ไรแดง 10 วัน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % อนุบาลลูกปลาอายุ 5 วัน ในรางสแตนเลสขนาด 50X300X30 ซม. ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลาด้วยความหนาแน่น 6,000 ตัว/ตรม. เป็นเวลา 30 วัน พบว่า ลูกปลามีความยาวสุดท้ายเฉลี่ย=1.39+0.02, 1.39+0.06, 1.38+0.02 และ 1.40+0.05 นิ้ว ตามลำดับ โดยแต่ละชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) มีอัตราการรอดตายเฉลี่ย=77.59+2.06, 68.16+2.05, 75.26+1.60 และ 65.09+3.82 % ตามลำดับ ซึ่งชุดการทดลองที่ 1 และ 3 ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดการทดลองที่ 2 และ 4 (p0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ 900 ตัว/ตรม. (p0.05) แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ 900 ตัว/ตรม. (p0.05) อัตราการรอดตายเฉลี่ย=95.22+3.98, 94.67+6.61, 90.30+7.99 และ 90.08+2.68 % ตามลำดับ โดยในแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ต้นทุนการผลิตลูกปลา=5.15, 3.94, 3.69 และ 3.47 บาท/ตัว ตามลำดับ และกำไรสุทธิ=-223.91, 225.46, 498.96 และ 925.02 บาท/รุ่น ตามลำดับ สรุปการอนุบาลลูกปลากดหลวงได้ว่า การให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีน 40 % ตลอดการทดลองในการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนให้ได้ขนาด 1 นิ้ว ให้ผลดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย 2 ต้นทุนการผลิต และกำไรสุทธิ ส่วนการอนุบาลลูกปลาขนาด 1 นิ้ว ให้ได้ขนาด 2 นิ้ว พบว่า ความหนาแน่น 700 ตัว/ตรม. เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโตและอัตรารอดตาย แต่หากนำต้นทุนการผลิตและกำไรสุทธิมาร่วมพิจารณา เห็นได้ว่าที่ความหนาแน่น 900 ตัว/ตรม. มีความเหมาะสม สำหรับการอนุบาลลูกปลาขนาด 2 นิ้ว ให้ได้ขนาด 3 นิ้ว พบว่า ความหนาแน่น 800 ตัว/ตรม. เหมาะสม เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย ต้นทุนการผลิต และ กำไรสุทธิ
No issues