Text Size Languages
ผลของปริมาณเริ่มต้นต่อการเจริญเติบโตของของสาหร่ายพวงองุ่น
ผลของปริมาณเริ่มต้นต่อการเจริญเติบโตของของสาหร่ายพวงองุ่น

สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera) เป็นสาหร่ายทะเลสีเขียว (Green Algae) อยู่ในครอบครัว Caulerpaceae ลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กรวมกันเป็นช่อคล้ายพวงองุ่น พบแพร่กระจายบริเวณน้ำตื้นทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันของประเทศไทย ปัจจุบันมีการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในรูปแบบแผงที่เลี้ยงทั้งใน บ่อดิน บ่อคอนกรีต และถังไฟเบอร์กลาส ปัญหาที่พบคือ สาหร่ายพวงองุ่นเจริญเติบโตไม่ดีและช่อไม่ยาว หากต้องการให้สาหร่ายพวงองุ่นเจริญเติบโตดี ช่อยาวสวย และเก็บผลผลิตในระยะเวลาที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ปริมาณเริ่มต้นของต้นพันธุ์สาหร่ายพวงองุ่นให้เหมาะสมตั้งแต่เริ่มปลูกสาหร่าย นอกจากปัจจัยเรื่องปริมาณเริ่มต้นของ ต้นพันธุ์สาหร่ายพวงองุ่นที่มีผลต่อการเจริญเติบโต น้ำที่ใช้สำหรับเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายเนื่องจากน้ำเป็นแหล่งสารอาหารที่สาหร่ายนำไปใช้ได้ น้ำที่ปล่อยทิ้งจากการอนุบาลลูกปลากะพงขาวในระบบน้ำหมุนเวียนมีปริมาณสูง มีสารอาหารจากอาหารเหลือและมูลปลา น้ำทิ้งจากการอนุบาลลูกปลากะพงขาวจึงอาจนำมาใช้ในการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นได้ ดังนั้นการนำน้ำทิ้งจากการอนุบาล ลูกปลากะพงขาวมาใช้ในการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นจะทำให้สาหร่ายพวงองุ่นเจริญเติบโตดี นอกจากนี้สาหร่าย พวงองุ่นจะช่วยลดปริมาณมลสารที่เหลืออยู่ในน้ำจึงสามารถนำกลับมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำได้และลดการปล่อยของเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ การศึกษาคุณภาพน้ำทิ้งที่ได้จากการอนุบาลลูกปลากะพงในระบบน้ำหมุนเวียนจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปใช้พัฒนาการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นต่อไป ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ปล่อยทิ้งจากระบบน้ำหมุนเวียนที่ใช้ในอนุบาลลูกปลากะพงขาวมีค่าดังนี้ ความเค็ม 32.24?1.14 ส่วนในพันส่วน อุณหภูมิ 29.10?0.64 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 7.73?0.35 ค่าความเป็นด่าง 128.07?10.03 มิลลิกรัม/ลิตร แอมโมเนีย 0.1331?0.2138 มิลลิกรัมต่อลิตร ฟอสเฟต 0.2305?0.2298 มิลลิกรัม/ลิตร คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นมีดังนี้ ระดับความเค็มที่เหมาะสมที่สุดอยู่ระหว่าง 27-33 ส่วนในพันส่วน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในช่วง 8-9 ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity) ในช่วง 120-140 มิลลิกรัม/ลิตร แอมโมเนีย ไม่ควรต่ำกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร ฟอสเฟต (Orthophosphate) ควรมีค่าไม่น้อยกว่า 0.01 มิลลิกรัม/ลิตร (กองวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, 2560) คุณภาพน้ำที่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่นที่แสดงข้างต้น สรุปได้ว่าน้ำทิ้งจากระบบน้ำหมุนเวียนที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลากะพงขาวสามารถนำไปใช้เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นได้

Organizations :
กรมประมง
Metadata last updated :
January 18, 2024
Data and Resources

Openness


{{cur_meta.name}} {{cur_meta.download_stat}} downloads

Go to resource

Data API Visualization Embed {{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1 Fullscreen
All data records
Data number To
Data source cannot be displayed.
Source : ชุดข้อมูลผลของปริมาณเริ่มต้นต่อการเจริญเติบโตของของสาหร่ายพวงองุ่น โดยกรมประมง
Description
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล
Data last updated
Format
File Size
File Validation Valid data
File Validation Valid data
Data Dictionary
Column Type Label Description
{{field.id}} {{field.type}} {{field.info.label}} {{field.info.notes}}
Additional Info
English Title Effect of Appropriate Starting Quantity to growth of Sea Grapes
Groups การเกษตร
Tags 1790) 1837) ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากการอนุบาลลูกปลากะพงขาวในระบบน้ำหมุนเวียน ผลของปริมาณเริ่มต้นต่อการเจริญเติบโตของของสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa lentillifera J. Agardh สาหร่ายพวงองุ่น การอนุบาล ลูกปลากะพงขาว(Lates calcarifer Bloch
เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 030201
องค์ประกอบ 030201V02
ปัจจัย 030201F0201
เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 030002
Sustainable Development Goals SDG0204 SDG0204 SDG0204 SDG0204 SDG0204
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ/แผนแม่บท) 1.ความหนาแน่นของสาหร่ายที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่น 2.การเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่นที่เลี้ยงด้วยน้ำจากการอนุบาลลูกปลากะพงขาวในระบบน้ำ หมุนเวียน
ผลสัมฤทธิ์ของงานต่อเป้าหมายของงานวิจัย 1.ความหนาแน่นของสาหร่ายที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่น 2.การเจริญเติบโตของสาหร่ายพวงองุ่นที่เลี้ยงด้วยน้ำจากการอนุบาลลูกปลากะพงขาวในระบบน้ำ หมุนเวียน
พื้นที่เป้าหมาย หมู่บ้าน - ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
Visibility Public
License Open Government
นักวิจัย นางวรรณา โกศล
อีเมลนักวิจัย secretary@fisheries.go.th
State active
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC)
เลขที่ 962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทร : 0-2280-4085 ต่อ 6221-6241
โทรสาร : 02-280-6384, 02-628-2858
E-mail : open-d@nesdc.go.th
All rights reserved 2016 - NESDC. Powered By NECTEC.