หลักการและเหตุผล 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมี ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน เป็นตัวขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีเป้าหมายการเพิ่มขึ้นของ (1) รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และการกระจายรายได้ (2) ผลิตภาพการผลิตของประเทศทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน (3) การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา และ (4) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติการสร้างรายได้ เป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ และยังเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศ การขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้า จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เป็น “ผู้ประกอบการยุคใหม่” ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (8) ประเด็นผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ เนื่องจากการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต และความเข้มแข็งของผู้ประกอบการจะช่วยให้ประเทศสามารถแข่งขันในระดับเวทีการค้าโลกได้ เชื่อมโยงแผนย่อย ที่ 3.3 การสร้างโอกาสเข้าถึงการตลาดโดยสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีอัตลักษณ์และตราสินค้าที่เด่นชัดให้ความสำคัญกับการผลิตโดยใช้ตลาดนำที่คำนึงถึงความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดที่มีมูลค่าสูง และสอดคล้องกับแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการสร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้การยกระดับมาตรฐานสินค้ากลุ่มผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และส่งเสริมพื้นที่ที่มีศักยภาพให้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในระดับภูมิภาค เป็นแนวทางในการพัฒนา 1.2 สรุปสาระสำคัญ (สภาพปัญหา/ความต้องการ) กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) มีการผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมาช้านาน และมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจ โดยรวมของกลุ่มจังหวัดเป็นอย่างมากมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจการค้าผ้าไหมเป็นไปอย่างรุนแรง จึงต้องเร่งพัฒนารูปแบบ คุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ มีพื้นที่ปลูกหม่อน 19,212 ไร่ เกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 34,070 ราย มีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมกว่า 17,800 ราย มูลค่าการจำหน่ายผ้าไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี จากการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพไหมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่ผ่านมา พบว่าความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน รวมทั้งการแข่งขันในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความรุนแรงมากขึ้น ได้ก่อให้เกิดช่องว่างทางการค้าอย่างมากมาย กลุ่มผู้ผู้ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ไหมจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จังหวัดนครราชสีมา โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกลุ่มนครชัยบุรินทร์ ได้จัดทำโครงการพัฒนายกระดับการผลิตผ้าไหมสู่สากล ให้กลุ่มผู้ทอผ้าไหม ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ แปรรูปจากผ้าไหม กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาปัญหาดังกล่าวข้างต้น ด้วยแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานด้วยภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาและยกระดับให้ได้รับการรับมองมาตรฐาน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ การสร้างองค์ความรู้และเทคนิคการขยายโอกาสทางการตลาดยุค 4.0 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพพร้อมจะเข้าสู่ตลาด รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ (Digital marketing) ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างรายได้ลงสู่ท้องถิ่น ซึ่งกลไกลทางเศรษฐกิจฐานรากก็จะถูกขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาให้กลายเป็นธุรกิจที่เลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ และแผนบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาค รวมทั้งสอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมในการส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 2.1 พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และโอกาสทางการตลาด 2.2 พัฒนาและยกระดับผ้าไหม และผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมให้ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 2.3 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงความรู้ เครื่องมือ นวัตกรรม เทคโนโลยี วัตถุดิบ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจ 2.4 สร้างองค์ความรู้และเทคนิคการขยายโอกาสทางการตลาดยุค 4.0 และความพร้อมเข้าสู่ตลาด รวมถึงการเพิ่มช่องทางการตลาดด้วยระบบตลาดออนไลน์ (Digital marketing)