รายงานการประเมินผลการดำเนินงานของกรมกิจการเด็กและเยาวชนตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 3 มาตรา 9 (3) ที่กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น และหมวด 8 มาตรา 45 ที่กำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ และความคุ้มค่าในภารกิจนั้น โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานของกรมกิจการเด็กและเยาวชนตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์เชิงยุทธศาสตร์ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของแผนงานและโครงการสำคัญตามแผนปฏิบัติราชการฯเปรียบเทียบกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และประโยชน์ต่อการพัฒนาภารกิจด้านเด็กและเยาวชนโครงการนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ (1) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์เชิงยุทธศาสตร์ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเน้นการใช้ Input–Process–Output ตามแผนงานและโครงการสำคัญของกรมกิจการเด็กและเยาวชนตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (2) เพื่อวิเคราะห์และเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินงาน แผนงาน/โครงการของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ (3) เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานและการออกแบบโครงการและตัวชี้วัด ที่ตรงตามเป้าหมายในการปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ทั้งทางด้านส่งเสริมพัฒนา การจัดสวัสดิการและการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน เพื่อสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงานและปรับปรุงกระบวนการทำงานต่อไป การประเมินผลการดำเนินงานของกรมกิจการเด็กและเยาวชนตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังกล่าว มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1. ศึกษาสถานการณ์เด็กและเยาวชน ความเชื่อมโยงโครงการสำคัญกับยุทธศาสตร์ชาติแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูป และแผนเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่น ๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2. ออกแบบวิธีการศึกษา กรอบแนวทางการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินการ การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งนี้การดำเนินงานภายใต้ตัวแบบประเมินผล CIPP Model (Context,Input, Process, Productivity) ที่แสดงความเชื่อมโยงเชิงกิจกรรมและมีตัวแปรหลัก ตัวแปรย่อย สอดคล้องตามกิจกรรม และมีกรอบดำเนินการ คือ การวิเคราะห์บริบท (Context) การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า (Input)การวิเคราะห์กระบวนการ (Process) การวิเคราะห์ผลผลิต (Output) และข้อเสนอ (Recommendation)3. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบแนวทางการติดตามประเมินผลจากผู้บริหารและบุคลากรของกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่รับผิดชอบแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมของกรมกิจการเด็ก และเยาวชน4. เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การจัดประชุมการตอบแบบสอบถามจากบุคลากรกรมกิจการเด็กและเยาวชน 561 ราย รวมถึงการลงพื้นที่ภาคสนามในพื้นที่ภูมิภาค 4 แห่งประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี กาญจนบุรีนครราชสีมา และลำปาง5. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล และจัดทำผลการศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองเด็กและเยาวชน6. จัดประชุมวิพากษ์ผลการศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25657. จัดทำรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกรมกิจการเด็กและเยาวชน และเสนอต่ออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนในส่วนของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2665 พบว่ามีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ..ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ได้ดำเนินการเชื่อมโยงและแปลงแผนสู่การปฏิบัติในลักษณะแผนงาน/ผลผลิต/กิจกรรม/โครงการโดยมีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สอดรับกัน