รายงานการประเมินสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนระดับจังหวัด (10 จังหวัดนำร่อง) เป็นการประเมินสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัดโดยการรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัด ภายใต้กรอบของดัชนีชี้วัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทสังคมไทย 3 มิติ 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ มิติที่ 1 สิทธิในชีวิตและความปลอดภัยในร่างกาย มิติที่ 2 สิทธิในการแสดงออก สิทธิความเป็นส่วนตัวครอบครัวและชื่อเสียง มิติที่3 สิทธิด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม และ ตัวชี้วัดที่ 1 สัดส่วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนเรื่องร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม โดยการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด 11 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด สำนักงานจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด เพื่อกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ควรจัดเก็บและแหล่งของข้อมูลตามตัวชี้วัด รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่กำหนดตามตัวชี้วัด ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564 และสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดในช่วงเวลาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2564 จากแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและหาข้อสรุปการประเมินสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับจังหวัด (10 จังหวัดนำร่อง)