การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนในการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน
ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาภัยพิบัติที่ประสบมากที่สุดจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ปัญหาไฟป่าหมอกควัน และ ปัญหาน้ าป่าไหลหลาก โดยมีองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติทั้ง 2 ประเภทภัยพิบัติ ได้แก่ ปัจจัยส่งเสริมการบริหารของภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 35 ปัจจัย โดยสามารถจำแนกออกเป็นปัจจัยส่งเสริมก่อนเกิดภัยพิบัติ 21 ปัจจัย ปัจจัยส่งเสริมขณะเกิดภัยพิบัติ 11 ปัจจัย ปัจจัยส่งเสริมหลังเกิดภัยพิบัติ 3 ปัจจัยและปัจจัยอุปสรรคการบริหารของภาคีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ จำนวน 3 ปัจจัย จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า การยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติจำเป็นต้องนำหลักการบริหาร 4M’s 7S’s กระบวนการ POSDCoRB การจัดการความเสี่ยง (Risk management) และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อาสาสมัคร มูลนิธิ ฯลฯ โดยการมีส่วนร่วมจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติ 3) การมีส่วนร่วมในการน าแผนไปปฏิบัติ และ4) การมีส่วนร่วมในการทบทวนประเมินผล
ข้อเสนอแนะหลักของการศึกษา คือ รัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศได้ดำเนินพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อการยกระดับการรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ ซึ่งมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นเนื่องสภาวะการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมในการรับมือต่อภัยพิบัติดังกล่าวหากเกิดขึ้นหรือมีการขยายความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละพื้นที่